DotProperty.co.th

อัพเดทความคืบหน้าโครงการ รถไฟความเร็วสูง ของไทยตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา

สวัสดีค่ะจากเมื่อวานที่เราได้ทำการอัพเดทความคืบหน้าโครงการ รถไฟความเร็วสูง ของไทยตลอดปี 2017 ที่ผ่านมาไปแล้ว ดังนั้นวันนี้ เราจะพาไปดู ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยตลอดปี 2017ที่ผ่านมากันบ้างไปดูกันว่า สร้างไปถึงไหนแล้วและจะพร้อมเปิดให้เราได้ใช้กันเมื่อไร เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ

โครงการ รถไฟความเร็วสูง ของไทย

เส้นทาง กรุงเทพฯ-โคราช  เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมาได้เกิดการอนุมัติดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ–นครราชสีมา ช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (ระหว่างสถานีกลางดง–ปางอโศก) ภายในเดือนมิถุนายน 2560   และคาดว่าจะเปิดประมูลก่อสร้างตอนที่ 1 วงเงินประมาณ 200 ล้านบาทภายในเดือนสิงหาคม 2560  ส่วนผู้รับเหมาจะสามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ประมาณเดือนกันยายน 2560 โดย  ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนเร่งดำเนินการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างใน เฟสที่ 2-4 เพื่อให้สามารถที่จะดำเนินการเปิดประมูลการก่อสร้างให้ต่อให้จบ โดย เส้นทางกรุงเทพฯ–นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

ในส่วนของพื้นที่ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูงจะตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงรากน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา โดยสัญญาจ้างได้แบ่งออกเป็น 3 สัญญา

  1. สัญญาจ้างการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง
  2. สัญญาจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง
  3.  สัญญาจ้างเกี่ยวกับตัวรถ โดยขณะนี้ ในเฟสแรก งานผล EIA หรือ ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ช่วงกรุงเทพฯ – บ้านภาชี  ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว เหลือช่วงบ้านภาชี – นครราชสีมา อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่ะ ด้านอัตราค่าโดยสารและการให้บริการ   กำหนดค่าโดยสารเบื้องต้นที่ 80 บาท บวก 1.8 บาทต่อกิโลเมตร จากอัตราดังกล่าว จะทำให้เส้นทาง กรุงเทพฯ-ปากช่อง อยู่ที่ 393 บาท และ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 535 บาท  ขบวนรถมีทั้งหมด 6 ขบวน ในระยะแรก ความจุผู้โดยสาร 600 คนต่อขบวน  ความเร็วในการเดินทาง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้บริการเริ่มต้น 11 เที่ยวต่อวัน เดินทางทุก 90 นาที ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 17 นาที ระยะเวลาก่อสร้างทั้งโครงการ 4 ปี โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2564

เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่   ระยะทาง 672 กม. ความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างไทยกับญี่ปุ่นล่าสุดทางญี่ปุ่นได้รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเบื้องต้น โดยจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ตอน ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 เฟส

โดยมีผลตอบแทนของโครงการดีกว่าการก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการไปถึงเชียงใหม่ ก็เพราะว่าถ้าสร้างเป็นเฟสจะ สามารถส่งต่อผู้โดยสารเข้ามาเสริมต่อรถไฟความเร็วสูงได้ จึงมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงินได้นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาพื้นที่รอบสถานีและสองข้างทางได้ อีกทางด้วย

นอกจากนี้ ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้นจะ ใช้ระบบเทคโนโลยีซินคันเซน  โดยการให้บริการจะเน้นขนส่งผู้โดยสารเป็นหลักและขนส่งสินค้าเป็นรอง โดยญี่ปุ่นจะสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการจากนั้นตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบ  โดยไทยตั้งเป้าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 ด้านรายละเอียดแนวเส้นทาง จากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนใหญ่จะออกไปใช้เขตทางรถไฟสายเหนือเดิม อาจมีการปรับแนวเส้นทางบ้างในกรณีที่ต้องเจอทางโค้งมากๆ ส่วนสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนเพราะว่ารถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูง จึงไม่สามารถไปทางโค้งมากๆได้นั้นเองค่ะ

โดยมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณสถานีบางซื่อ วิ่งไปตามแนวรถไฟเดิม สิ้นสุดเส้นทางเฟสแรกที่จังหวัดพิษณุโลกจะมี 7 สถานีดังนี้ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี (ป่าหวาย) นครสวรรค์ พิจิตร  โดยระยะห่างจากตัวเมือง ในส่วนทางด้านสถานีของพื้นที่จังหวัดกรุงเทพ มี 5 สถานีโดยจะสร้างอยู่ที่เดิมเป็นสถานีรถไฟในเมือง ในส่วนทางด้านสถานีของพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก มี 2 สถานีที่สร้างอยู่บนพื้นที่ใหม่ ได้แก่ สถานีลพบุรีจะสร้างอยู่ป่าหวาย โดยทั้งสองสถานีจะอยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร  เท่านั้นสำหรับสถานีลพบุรี และห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร สำหรับสถานีป่าหวาย ในส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงราก

ส่วนระยะที่ 2 ช่วง “พิษณุโลก-เชียงใหม่” เงินลงทุน 214,005 ล้านบาท ระยะทาง 285 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง จะเริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก)  แนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วง “พิษณุโลก-ลำปาง” เมื่อออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาศ ก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย

จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง และช่วง “ลำปาง-เชียงใหม่” จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่

เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไปอำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา ไปบรรจบกับทางรถไฟเดิมก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร วิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูนและปลายทางที่สถานีเชียงใหม่ มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง คือสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร และศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมอยู่ในตัวเมืองและมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่

อัตราค่าโดยสารจะคิดตามระยะทาง แยกเป็น 3 ชั้น มี “ชั้นวีไอพี” มี 3 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 200 บาท ค่าโดยสาร 4 บาทต่อกิโลเมตร “ชั้นธุรกิจ” มี 4 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 100 บาท ค่าโดยสาร 2.50 บาทต่อกิโลเมตรและ “ชั้นมาตรฐาน” มี 5 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 70 บาท ค่าโดยสาร 1.50 บาทต่อกิโลเมตร เบ็ดเสร็จ นั่งจากกรุงเทพยาวถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 16 นาที เสียค่าโดยสารประมาณ 1,100-2,900 บาทต่อเที่ยว

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่