การคาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อธุรกิจ ในปี61

สินเชื่อธุรกิจ

โดยการเติบโตของ สินเชื่อธุรกิจ ในปี61หลังจากเดือน เมษายน ที่ผ่านมาหลังจาก  ผลกระทบแบงก์ถูกบีบลดดอกเบี้ยลงและเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อ  ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หวั่นกดดันแบงก์ลดดอกเบี้ยเอสเอ็มอี’จะกู้ยาก ทำให้ผู้ประกอบรายย่อยได้รับผลกระทบแบบเต็มๆเพราะเหตุจากที่  เหตุแบงก์เน้นปล่อยเฉพาะรายที่เสี่ยงต่ำ เท่านั้น  โดยคุณ วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  หนุนธนาคารควรทำระบบเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานการพิจารณาปล่อยกู้ เชื่อช่วยแบงก์ลดต้นทุน  ส่งผลต่อดอกเบี้ยที่ลดลง เผยแนวโน้ม ดอกเบี้ยเอสเอ็มอีปล่อยใหม่ทยอยลดลง ขณะ 5 แบงก์ใหญ่หั่นดอกเบี้ยเหลือ 5% คงที่ 2 ปี ให้กับเอสเอ็มอีที่ทำบัญชีเดียว

ดอกเบี้ยลด สินเชื่อธุรกิจ ก็ขอยากขึ้น

นอกจากนี้  คุณ วิรไท กล่าวเพิ่มเติมว่า การขอร้องธนาคารพาณิชย์ทำการช่วยลดดอกเบี้ยให้เอสเอ็มอี  จะยิ่งทำให้ข้อสินเชื่อยาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ๆ โดยสาเหตุเกิดจาก ดอกเบี้ยที่ธนาคารได้อาจจะไม่คุ้มกับความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ

“ในเรื่องดอกเบี้ยเราได้ตามดูมาโดยตลอด เห็นความลักลั่นกัน ธุรกิจขนาดใหญ่กู้เงินได้ถูกจากการออกบอนด์ บีอี ขณะที่เอสเอ็มอีต้องกู้สถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราเห็นคือ สินเชื่อปล่อยใหม่ทุกเดือน อัตราดอกเบี้ยจะค่อยๆลดลงมาเรื่อยๆ แม้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะลดลงเร็วกว่า

แต่ก็สะท้อนว่ามีการแข่งขันในระดับหนึ่ง การลดดอกเบี้ยลงโดยมาจากการสั่งการของส่วนกลาง จะยิ่งทำให้ขอสินเชื่อ ไม่ได้ เพราะความเสี่ยงไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่จะได้ ซึ่งเรื่องของสินเชื่อต่างจากเรื่องของเพย์เมนท์ เพราะเพย์เมนท์ คือบริการที่ไม่มีความเสี่ยง แต่มีเรื่องค่าธรรมเนียมแต่เอสเอ็มอี มีความเสี่ยงต่างกัน ข้อสำคัญคือทำอย่างไรให้เกิดแข่งขัน มีบริการหลากหลาย และเก็บดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเสี่ยง”

 

การจดแจ้งบัญชีเดียวที่มีมาตรฐานจะช่วยให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

โดยในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5แห่ง จะใช้นโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการ sme โดยมีสมาคมธนาคารไทย สนับสนุนนโยบาย ให้ผู้ ผู้ประกอบการsmeมีการจดแจ้งบัญชีเดียวที่มีมาตรฐาน หรือเป็นบัญชีที่ยื่นให้กรมสรรพากรกับทาง 5 ธนาคารใหญ่ก็จะสามารถลดดอกเบี้ยให้เหลือ 5 % เป็นเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อโปรโมทให้เอสเอ็มอีเริ่มทำก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับ

ในส่วนนโยบายสนับสนุนของธนาคารแห่งประเทศไทยยังให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อโดยใช้ฐานข้อมูล  Information lending  ที่จะมาช่วยในการลดต้นทุนการให้สินเชื่อและมีส่วนช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจากเอสเอ็มอีลดลงได้  โดยปัจจุบันการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี ทำบนหลักประกัน และประสบการณ์การทำธุรกิจ ซึ่งมีต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะมีค่าประเมินหลักประกัน ภาระการจดจำนอง รวมถึงภาระการตรวจสอบบัญชีของเอสเอ็มอีที่มีหลายบัญชี

 

การให้สินเชื่อบนฐานข้อมูลจะทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อลดลงมาก

สินเชื่อธุรกิจ

ในอนาคตอันใกล้นี้ โลกของการปล่อยสินเชื่อจะต้องอ้างอิงเรื่องข้อมูล เป็นหลัก โดยครอบคลุมทุกๆพฤติกรรมของผู้กู้ ทำให้ธนาคารสามารถตรวจเช็ค ข้อมูลต่างๆของผู้ยื่นกู้ได้ว่ามีความน่าเชื่อถือขนาดไหน

เพราะว่า การให้สินเชื่อบนฐานข้อมูล จะทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อลดลงมาก เพราะสามรถที่จะ วิเคราะห์ สินเชื่อได้ตรงกับความต้องการ ลูกค้า โดยแบงค์สามารถที่จะยื่นวงเงินข้อเสนอให้ก่อนได้โดยที่ผู้กู้ไม่จำเป็นต้องมาแจ้งเรื่องที่ธนาคารโดยตรง  เพราะการให้ สินเชื่อจากฐานข้อมูลของผู้กู้ จะช่วยให้ดอกเบี้ยของเอสเอ็มอีก็จะลดลง

นอกจากนี้ การให้สินเชื่อบนฐานข้อมูล ยังช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง  เพราะปัญหาดอกเบี้ยที่สูง มาจากต้นทุน ของธนาคาร ซึ่งต้นทุนปล่อยสินเชื่อ ให้เอสเอ็มอี มี2ส่วน คือ ต้นทุนความเสี่ยง และต้นทุนค่าดำเนินการของสถาบัน การเงิน

ธปท.พยายามลดต้นทุน ดำเนินการ หรือ operation ของสถาบันการเงิน เปลี่ยนมาใช้การปล่อยสินเชื่อ บนฐานข้อมูล ใช้บัญชีที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ ต้นทุนก็จะลดลงเยอะ หลังมีการปล่อยสินเชื่อบนฐานข้อมูล เกณฑ์สินเชื่อแบบเดิมๆก็ต้องปรับ ก่อนหน้านี้ได้แก้พ.ร.บ.ข้อมูลเครดิต ให้ทำเครดิตสกอริ่ง ให้ลูกค้ามาขอแล้วไปยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยสถาบันการเงินเล็กๆ และนอนแบงก์ที่เพิ่งเข้ามาและไม่ได้มีฐานข้อมูลลูกค้าของตัวเอง มีข้อมูลในการประเมินสินเชื่อได้

นอกจากนี้ยังจะเสนอแก้ไขเพื่อให้กลุ่มการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือ P2P lending เข้ามาใช้เป็นสมาชิกเครดิตบูโร ซึ่งทางกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่าการพิจารณาเกณฑ์กำกับกลุ่มนี้อยู่  “มาตรการทางการเงินคนอาจจะมองเหมือนยาพาราเซตามอล แต่ปัญหาอาจจะร้ายแรงกว่าจะใช้พาราฯ นำมาใช้อาจจะยิ่งเป็นปัญหา เช่นเป็นหนี้เพิ่มขึ้น จะยิ่งแก้ลำบาก”

การแข่งขันการแข่งขันของธนาคารเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีหลายขนาด ตั้งแต่รายเล็กๆ ไปจนถึงรายใหญ่ ที่มียอดขาย 500 ล้านบาท ขณะที่ประเภทธุรกิจก็ต่างกัน สิ่งสำคัญคือต้องให้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ แต่ละเซ็กเมนท์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะคงไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดจึงต้องส่งเสริมให้การแข่งขัน เพื่อให้มีเมนูทางการเงินที่หลากหลาย ให้เอสเอ็มอี ได้เลือกใช้ ซึ่งการเข้ามาของฟินเทคก็มีส่วนสำคัญทำให้เกิดการแข่งขัน โดยในการจัดงานฟินเทคแฟร์ที่ผ่านมา ก็มี เป้าหมายชัดเจนเพื่อนำเสนอนวัตกรรมเพื่อช่วยเอสเอ็มอี มีหลายนวัตกรรมที่จะมา ช่วย เช่น เรื่องแฟคตอริ่ง เป็นต้น

 

อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …