แบงก์ยอมรับความเสี่ยงปล้อยกู้ คนภาระหนี้สูง ธปท.ห่วง เอ็นพีแอล บ้านพุ่ง

สินเชื่อบ้าน

แบงก์ชาติห่วง สินเชื่อบ้าน หลังพบหนี้เสียพุ่งต่อเนื่อง สวนทางเอ็นพีแอล ทั้งระบบที่เริ่มดีขึ้น ชี้ส่วนหนึ่งจากสถาบันการเงินเปิดรับความเสี่ยง ปล่อยสินเชื่อ ให้คนมีภาระหนี้สูง ขณะประชาชนบางกลุ่ม กู้ซื้อหวังเก็งกำไร-ปล่อยเช่า แต่ผลตอบแทนไม่ได้ตามเป้า กดดันเอ็นพีแอลพุ่ง

สินเชื่อบ้าน พบหนี้เสียพุ่งต่อเนื่อง

สินเชื่อบ้านรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ฉบับย่อที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ สะท้อนถึงความกังวลของ กนง. ที่มีต่อคุณภาพสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพบว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางกับคุณภาพ สินเชื่อของทั้งระบบที่มีทิศทางทรงตัว และปรับดีขึ้น

สินเชื่อบ้านนาย วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่าเอ็นพีแอลกลุ่มที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากพฤติกรรมการแข่งขันของ สถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์บางแห่งยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน(Loan to Value: LTV ratio ) ที่อยู่ในระดับสูง หากเทียบกับ มูลค่าที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันก็พบว่า มีการเข้าไปปล่อยสินเชื่อในกลุ่มผู้กู้ที่มีภาระหนี้สูงมากขึ้นด้วย ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นประเด็นที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงของสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยในระยะถัดไปได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในการรายงาน การประชุมของกนง.ในช่วง 2 ครั้งล่าสุด มีการพูดถึงความเสี่ยงในสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาธปท.ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ดูแลความเสี่ยงและปล่อยกู้อย่างระมัดระวังด้วย

“อีกด้านที่กนง.ให้ติดตามใกล้ชิดคือจำนวนอุปทานส่วนเกินของที่อยู่อาศัย ที่พบว่าอยู่ในระดับสูง จากการคาดหวังของ ประชาชนว่าราคาที่อยู่อาศัยอาจจะเพิ่มขึ้น จึงเกิดการเข้าไปเก็งกำไร หรือซื้อเพื่อ การลงทุน รวมถึงเอามาให้เช่าต่อ และเมื่อไม่มีผลตอบแทนหรือได้ค่าเช่าอย่างที่ตั้งใจ จึงเป็นผลทำให้เกิดเอ็นพีแอลในกลุ่มที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น “นายวิรไทยกล่าว

เกาะติดปัจจัยเสี่ยงตปท.-ในปท.

สินเชื่อบ้านนายวิรไท กล่าวด้วยว่า แม้ทิศทางเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นในภาพใหญ่ แต่ยังมีความเสี่ยง ค่อนข้างสูงในหลายมิติ ทั้งปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ ในเรื่องมาตรการกีดกันทาง การค้า และการตอบโต้ทางการค้าที่ยังเป็นความเสี่ยงสำคัญ เพราะเริ่มเห็นผลกระทบ ด้านส่งออกให้ลดลงแล้ว จากนโยบาย การเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐในช่วง ต้นปีที่ผ่านมา ที่มีการเก็บภาษีโซลาเซลล์และเครื่องซักผ้า

ขณะที่การประกาศเก็บภาษีใหม่ๆ ที่ออกมาหลังจากนั้น เชื่อว่าแม้วันนี้จะยังไม่เกิดผลกระทบโดยทันที แต่จะกระทบต่อภาคการส่งออกและการลงทุนของ ภาคเอกชนได้ในปีหน้า

อีกทั้งยังต้องติดตามเรื่องความผันผวนของค่าเงินสกุลเงินหลักๆ ซึ่งอาจมาจาก ความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบาย การเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักด้วย ซึ่งเป็นผลให้ค่าเงินในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น

เศรษฐกิจไตรมาส2เริ่มกระจายตัว

สินเชื่อบ้านนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายในประเทศ เช่นการท่องเที่ยว ที่เกิดเหตุเรือล่มที่ภูเก็ต ที่อาจส่งผลกระทบที่มากกว่า ที่กนง. ประเมินไว้ ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงิน ที่ยังต้องมีการประเมินสถานการณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา และพบว่าปัจจุบันยังคงมีความเสี่ยงอยู่อีกมาก

ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ถือว่าเริ่มเห็นการกระจายตัว มากขึ้น ทั้งการบริโภคที่มีการกระจายตัวได้ดี ขณะที่การจ้างงานก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอานิสงค์ส่งไปถึงประชาชน วงกว้าง ขณะที่สินเชื่อของระบบ เริ่มเห็นการขยายต่อเนื่องในสินเชื่อขนาดกลาง ขนาดย่อมมากขึ้น

“อินทนนท์”เพิ่มประสิทธิภาพโอนเงิน

สินเชื่อบ้านนายวิรไท ยังกล่าวอีกว่า สำหรับ การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในโครงการ “อินทนนท์”เพื่อพัฒนาเรื่องระบบชำระดุล (settlement) ผ่านเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT ถือเป็นการวางระบบการโอนเงินการชำระดุลระหว่าง ธนาคารพาณิชย์ โดยอาศัยเหรียญดิจิทัล (Token)  ที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโอนเงินระหว่างกัน

อีกทั้งยังช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ ไม่ต้องดำรงสภาพคล่องส่วนเกินเอาไว้จำนวนมากเหมือนกับการใช้ระบบชำระดุล Real Time Gross Settlement (RTGS) ในปัจจุบัน ที่เป็นระบบชำระดุลที่ใช้ธปท.เป็นตัวกลางซึ่งถือเป็นระบบรวมศูนย์ที่มีเวลาเปิดปิด แต่หากเป็นเทคโนโลยี DLT จะทำให้การชำระดุลทำได้ตลอด24ชั่วโมง และทำได้ตลอด7วัน ทั้งนี้ยังสามารถไป เชื่อมกับต่างประเทศได้ด้วย Token ที่ธนาคารกลางในแต่ละประเทศออกเพื่อทำให้การชำระดุลข้ามประเทศทำได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นและต้นทุนถูกลงมาก

อย่างไรก็ตาม การออกสกุลเงินดิจิทัล ที่เป็นเงินบาท หรือ (central bank digital currency) แตกต่างกับการออก digital currency โดยเอกชน เพราะการออกสกุลเงินดิจิทัลในรูปเงินบาทครั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นกลไกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระดุล ไม่ได้เป็นเงินตราที่มีความผันผวน ดังนั้นในเรื่องของเทคโนโลยี จึงเป็นต้องมีการแยกออกจากกัน ระหว่างการนำเทคโนโลยีมาประยุทต์ใช้เพื่อเก็งกำไร หรือนำมาใช้ประโยชน์ในด้านชำระเงิน

ขณะเดียวกัน ธปท.มีแผนที่จะนำเทคโนโลยีเรื่อง DLT มาใช้ในการออกพันธบัตรด้วยระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless)ด้วย เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการออกพันธบัตร จากเดิมที่ต้องใช้ เวลาออก 15 วัน เหลือเพียง 2 วันเท่านั้น

” อนาคต เราก็อาจมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การชำระอื่นๆมากขึ้นด้วย เช่นล่าสุดธปท.อยู่ระหว่างการศึกษาเรื่อง Next Generation Bath Net ที่อยู่ระหว่างการออกแบบ ในอนาคตว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไร เพื่อเป็นการพัฒนาการชำระเงินในอนาคตด้วย” นายวิรไทกล่าว

แบงก์กรุงเทพผนึกอาร์3

สินเชื่อบ้านนาย จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงเทพร่วมกับ R3 ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ด้านการเงินแห่งอนาคตขนาดใหญ่ จัดงานสำหรับนักพัฒนา Blockchain เพื่อขยายและขับเคลื่อนระบบนิเวศทางเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยมุ่งสนับสนุนให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชันด้วยแพลตฟอร์ม Corda ซึ่งเป็นเป็นแพลตฟอร์มที่ R3 พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Blockchain

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ