มองอนาคตที่อยู่อาศัยปี 64 กับปัญหาขายบ้านไม่ได้ สร้างใหม่ ยังขายไม่ออก

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ที่เริ่มมาตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2563 ก็คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ แบรนด์แข็งแกร่งเพียงใดก็ต่างบ่นอุบในใจว่า ขายบ้านยาก ขายบ้านไม่ได้ง่ายๆ กันทั้งนั้น ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ภาพรวม โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีการคาดการณ์ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในปี 2564 ภาพรวมยังคงมีภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2563 และมีการคาดการณ์ว่า ที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 64 จะทำสถิติใหม่โดยมียอดทรัพย์ที่ยังขายไม่ออก ขายบ้านไม่ได้ ถึงกว่า 8 แสนล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นกว่าสองเท่าตัวจากในปี 63 ที่มียอดขายไม่ออกอยู่ราว 2 แสนล้านบาท

โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขายบ้านยาก ขายบ้านไม่ได้ ก็อย่างที่หลายคนคงเดาได้ไม่ยาก นั่นคือเพราะความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ตลาดโดยรวมให้มีภาวะที่หดตัว อย่างต่อเนื่องประมาณ 1- 4% ทำให้หลายต่อหลายแบรนด์ต่างต้องหันมาหั่นราคา เทขายกันจนหมดหน้าตักเพื่อต้องการรักษาสภาพคล่องและประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญนี้ได้ไปโดยที่ไม่บอมช้ำมากนัก

เริ่มต้นที่ค่ายใหญ่อย่างแสนสิริ ที่ประกาศจุดยืน “ความหวังในการคืนรอยยิ้มสู่ครอบครัวแสนสิริและสังคม” และพร้อมเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ ด้วยกลยุทธ์ “Made for Life…Made for Everyone” เพื่อสร้างภาพแบรนด์ที่จับต้องง่ายขึ้น และเป็น “แบรนด์ที่ทุกคนเข้าถึงได้”  รวมทั้งมุ่งมั่นมอบไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยที่มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง ภายใต้แนวคิด “บ้านที่ได้มากกว่าบ้าน” อย่างตัวอย่างการจับมือพาร์ทเนอร์รายใหญ่ในกลุ่มธุรกิจอาหาร อย่างโครงการ แสนสิริ x บาร์บีคิวพลาซ่า ที่สร้างปรากฎการณ์เปิดตัวแคมเปญที่สนุก มีสีสัน และเข้าถึงง่ายให้กับลูกค้า นอกจากนี้ด้วยนโยบาย Speed to Market กลยุทธ์ รับ-รุก-เร็ว สไตล์ แสนสิริยังเพิ่มรอยยิ้มในความอุ่นใจและมั่นใจในการเลือกซื้อโครงการ ภายใต้ความกังวลเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัย โดยประกาศมาตรการป้องกันและดูแลสูงสุดผ่าน “Sansiri Care” รวมถึงการบริการหลังการขายที่ดี Sansiri Living Solution เพราะบ้านต้องให้มากกว่าบ้าน นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นหมัดเด็ด Sansiri ผ่อนให้ 24 เดือน รุกการขายผ่าน Multi-channel ซื้อขายครบในทุกช่องทาง เพื่อตอบโจทย์คนอยากมีบ้านในยุคโควิด จึงไม่น่าแปลกใจที่สามารถคว้าแชมป์แบรนด์อันดับ 1 ที่รายได้สูงสุดในปี 63 ไปอย่างภาคภูมิ 

Image credit : posttoday.com
Image credit : posttoday.com

ทางค่ายแลนด์แอนด์เฮ้าส์ บิ๊กอสังหาฯ ที่ถือว่าเป็นพี่ใหญ่ในตลาดก็ได้ประกาศแผนการลงทุนในปี 2564 เพื่อแก้ปัญหาขายบ้านไม่ได้ โดยวางแผนเปิดโครงการใหม่รวมทั้งสิ้น 12 โครงการ ที่มาพร้อมโปรโมชั่น และออฟชั่นดีๆ อีกเพียบ เรียกว่าออกโปรมาแบบเดือนชนเดือนกันเลยก็ว่าได้ แถมยังวางคอนเซ็ปต์การออกแบบที่เน้นการตอบสนองกับปัญหาของคนในยุคปัจจุบัน อย่างการปรับรูปแบบการออกแบบพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับกับวิถีชีวิตใหม่ New Normal ที่ทางค่ายคาดการณ์ว่าจะกลายเป็น Next Normal ของผู้คนในสังคมในที่สุด เช่นการเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของระบบระบายอากาศ การมีเทคโนโลยี Air Plus เพื่อแก้ปัญหา PM 2.5 ซึ่งได้ทำต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว หรืออย่างในช่วงโควิดที่ผ่านมาตลาดปีกว่า ผู้คนอยู่อาศัยกับบ้านกันมากขึ้น ทำให้แบรนด์เริ่มคิดหา Function ที่จะตอบสนองความต้องการในอนาคตได้ อย่างการให้ความสำคัญกับเรื่องของครัว เรื่องของพื้นที่อเนกประสงค์ ที่ดัดแปลงเป็นสถานที่ทำงานภายในบ้านได้มากขึ้นเพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตกำลังเปลี่ยนไป เป็นต้น

หรืออย่างแบรนด์ที่มียอดขาดอันดับที่ 3 ในปีที่ผ่านมาอย่าง เอพี (ไทยแลนด์) ก็ได้มีการจัดพอร์ตสินค้าใหม่ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้วยแนวคิดกลยุทธ์ EMPOWER LIVING ที่คือการเติมเต็มให้ทุกคนได้ทำตามเป้าหมายในชีวิต ทั้งพนักงานของบริษัทเองก็จะไม่ถูกทอดทิ้งแม้ขายบ้านไม่ได้ รวมทั้งลูกค้าที่สามารถเลือกทางเลือกของตนเองได้ตามที่ปรารถนา และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยยืนยันความพร้อมที่จะดูแลทุกคนที่มีส่วนร่วมกับแบรนด์ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตบท้ายด้วยการออก โปรโมชั่นที่เขย่าวงการ กับการมอบดีลดีที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ โดยกำหนดดอกเบี้ยต่ำที่สุด 1% เท่านั้น

โดยทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า ปัญหาขายบ้านยาก ขายบ้านไม่ได้ จะเริ่มค่อยๆ คลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 แต่ก็ยังจะไม่ดีขึ้นมากนักจนกว่าเข้าสู่ในช่วง ปี 2565 – 2567 ซึ่งคาดว่าโลกน่าจะมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยรับมือกับวิกฤตการณ์โควิดในครั้งนี้ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ  

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/653923