ธุรกิจที่พัก ตลาดโรงแรมทรุดหนัก แนวโน้มครึ่งปีหลังและการตลาดโรงแรมที่ปรับตัวดีขึ้น

อุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้หลักของประเทศและโชคร้ายได้รับผลกระทบหนัก คงหนีไม่พ้นธุรกิจที่พักและ ซึ่งการตลาดโรงแรม เป็นผลมาจากการผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้นักท่องเที่ยวหดตัวลงอย่างรุนแรงจนน่าใจหาย ในขณะเดียวกันอัตราค่าที่พักเฉลี่ยแบบรายวันของธุรกิจที่พัก ลดลงไปถึง 5.6% ซึ่งเป็นผลของการเร่งแข่งขันกันของผู้ประกอบการธุรกิจที่พักและการตลาดโรงแรม

Young elegant woman wearing fashionable trendy summer outfit making touristic selfie at terrace of luxury hotel ,amazing view on whole Bangkok city, life at metropolis. Dream trip at Asia.

ธุรกิจที่พัก และการตลาดโรงแรมทรุดหนักครึ่งปีแรก

คาร์ลอส มาร์ติเนซ ผู้อำนวยการฝ่ายประเมินมูลค่าทรัพย์สินและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้เปิดเผยผลวิจัยและการสำรวจการการตลาดโรงแรมและธุรกิจที่พักว่า ความต้องการห้องพักในกรุงเทพมหานคร ปรับลดลงอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีแรก 2563 จากมาตรการควบคุมการเดินทา โดยปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติ ลดลงถึง 61% เมื่อเปรียบเทียบกันแบบปีต่อปี พบว่าจากเดิม 14,757,448 คน หดตัวเหลือเพียง 5,781,091 คนในช่วง 5 เดือนแรกของดี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งถือเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลัก ก็มีปริมาณลดลงเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลจีนมีข้อจำกัดด้านในท่องเที่ยวนอกประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม 2563

โดยเมื่อเจาะเป็นรายทำเลก็พบว่าธุรกิจที่พัก พบว่าทำเลสุขุมวิทตอนต้น มีโรงแรมในระดับลักซ์ชัวรีเป็นสัดส่วนถึง 40% ของอุปทานรวมในตลาดทั้งหมด รองลงมาคืนทำเลเขตลุมพินี 22% สีสลม-สาทร 15% และทำเลริมแม่น้ำเจ้าพระยา 16% โดยธุรกิจที่พักระดับลักซ์ชัวรีเหล่าหนี้ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดนมีอัตราการเข้าพักโรงแรมระดับลักซ์ชัวรีเหลือเพียง 35% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยเมื่อระบุเป็นรายไตรมาส พบว่าในไตรมาส 1/2563 มีอัตราการเข้าพักมากกว่า 50% แต่เมื่อถึงไตรมาสที่ 2/2563 อัตราการเข้าพักนั้นลดลงไปอยู่ในระดับต่ำที่สุดคือ 25% ส่งผลให้ครึ่งปีแรก 2563 ราคาเฉลี่ยธุรกิจที่พักรายวันของโรงแรมระดับลักซ์ชัวรี ลดลงไป 5.6% โดยมีราคาเฉลี่ย 4,800 บาทต่อคืน ทั้งนี้ก็มาจากการมอบส่วนลดเพื่อดึงดูดใจให้แก่ลูกค้าภายในประเทศ เพราะลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติลดน้อยลง โดยปริมาณห้องพักของธุรกิจที่พักระดับลักซ์ชัวรีในกรุงเทพ มีอุปทานในตลาดทั้งสิ้น 19,346 ห้อง ณ ครึ่งปีแรก 2563

แนวโน้มครึ่งปีหลังธุรกิจที่พักอาจปรับตัวดีขึ้น

คาร์ลอส มาร์ติเนซ ยังกล่าวอีกว่า เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ที่ลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรก 2563 ทำให้ความต้องการห้องพักในลดลง ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการ โดยคาดว่าสถานการณ์ความท้าทายนี้อาจพบเจอในระยะสั้น แต่โดยรวมแล้วคาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยจะลดลงไปจนถึงต่ำกว่า 50% และราคาเฉลี่ยที่พักรายวันก็จะยังคงลดลง เนื่องจากการแข่งขันของผู้ประกอบการเอง ที่ต้องการเร่งดึงดูดนักท่องเที่ยวในปีนี้

สำหรับสถานการณ์ในครึ่งปีหลัง 2563 คาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร น่าจะมีการปรับตัวที่ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไฮซีซั่น รวมไปถึงจากนโยบายการกระตุ้นเศรษบกิจจากภาครัฐ เข้าที่มาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ คาดว่าในไตรมาส 4/2563 เมื่อมาตรการการเดินทางต่างๆ ได้รับการผ่อนปรนจนถึงที่สุด การท่องเที่ยวระหว่างประเทศอาจจะเริ่มมีการฟื้นตัวในช่วงปีนี้

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงแรมและที่พัก ต้องชะลอการเปืดโครงการใหม่เช่นเดียวกับตลาดคอนโดมิเนียม โดยมีโรงแรมจำนวน 5 แห่ง จำนวนห้องพักรวม 1,575 ห้อง ที่ได้มีการเลื่อนการเปิดตัวออกไปในปี 2563 ได้แก่ โรงแรมสินธร มิดทาวนย์ กรุงเทพ จำนวน 475 ห้อง, โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพ จำนวน 285 ห้อง, โรงแรมโอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส กรุงเทพ จำนวน 154 ห้อง, โรงแรม โฟร์ซีซั่น จำนวน 301 ห้อง, โรงแรมคาเพลลา กรุงเทพ จำนวน 101 ห้อง และโรงแรม ชไตเกนบิร์กเกอร์ โฮเทล ริเวอร์ไซด์ จำนวน 259 ห้อง ซึ่งอุปทานของห้องพักระดับลักซ์ชัวรีเหล่านี้ จะเป็นอีกปัจจัยที่เข้ามาสร้างแรงกดดันต่อธุรกิจโรงแรมและที่พักในกรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตาม ในด้านการฟื้นตัว กรุงเทพมหานครนั้นเป็นเมืองที่มีผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนมากที่สุดในโลกในปี 2562 และเป็นปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าดึงดูดในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ศูนย์การค้า และการท่องเที่ยวอื่นๆ ภายในประเทศ จึงคาดว่าหากสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดได้รับการเยียวยาจากวัคซีน เชื่อว่าธุรกิจการโรงแรมและที่พักย่อมเป็นธุรกิจที่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วอย่างแน่นอน


ที่มา:

https://mgronline.com/stockmarket/detail/9630000077042