ภาษีลาภลอย คืออะไร พร้อมสูตรคำนวณภาษีลาภลอย ยังไงเพื่อไม่โดนยึด-อายัด

ภาษีลาภลอย

หลังจากที่มีมติเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.ฉช) ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐเรียกสั้นๆว่า ภาษีลาภลอย (Windfall Gain Tax) 

โดยร่างพระราชบัญญัติ ฯ นี้  จะทำการ กำหนดให้ ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของที่ดินหรือห้องชุดจากการที่มีโครงการของรัฐ ตัดผ่าน ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ จาก ที่ฟังๆมาก หลายท่านๆอาจจะงง  ภาษีลาภลอย คืออะไรกันแน่ละ และทำไมต้องเสียและถ้าไม่เสียจะเกิดอะไรขึ้น

ภาษีลาภลอย

รู้จัก ภาษีลาภลอย

ภาษีลาภลอย คือ ที่ดินที่มีโครงการ ของรัฐ ตัดผ่านหรือภาครัฐกำลังพัฒนา  ไม่ว่าจะเป็น การสร้าง  รถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือรถไฟฟ้ารางคู่  โครงการสร้างสนามบิน หรือ  โครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆของภาครัฐ   นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ที่ดินบริเวณนั้นเกิดมูลค่าที่พุ่งสูงขึ้น มีแต่คนต้องการ ตัวอย่างเช่น ปกติ ตารางวาละ 60,000 บาท

หลังจากมีโครงการของภาครัฐมาสร้างหรือสร้างเสร็จ ราคา กระโดดขึ้นไปเป็น ตารางวาละ 500,000-1 ล้าน บาท ต่อตารางวา  หรือเรียกง่ายๆว่า อย่างกับได้ ลาภลอย มายังไงยังนั้น หรือ เหล่า  ดีเวลลอปเปอร์ ที่ไล่กว้านซื้อที่รอ ก็ไม่มีเว้นเช่นกัน ดังนั้นภาครัฐจึงเห็นว่า ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์ จะต้องเสียภาษีชนิดนี้ นั้นคือ ภาษีลาภลอย นั้นเอง

 

ภาครัฐได้ ประโยชน์ อะไรจากภาษีลาภลอย

ภาษีลาภลอย

จากสาเหตุที่รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้านคมนาคมขนส่ง ทำให่เงินในคลังลดลง ดังนั้นทำให้ภาครัฐมองว่า ในเมื่อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์บริเวณรอบมีมูลค่าสูงขึ้น จากภาครัฐ ดังนั้น ภาครัฐก็จึงของเรียกเก็บภาษีเป็นการตอบแทน โดยหลังจากนั้นภาครัฐก็จะนำเงินไปใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของทางภาครัฐต่อไปนั้นเอง เพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป

กำหนดหน้าผู้ต้องเสียภาษีลาภลอยมีอะไรบ้าง

  1. จะเสียก็ต่อเมื่อ มีการซื้อขายที่ดินและห้องชุดในวันที่ ภาครัฐเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐจนถึงวันที่เสร็จสิ้น นั้นเท่ากับว่า ผู้ขายที่ดินหรือห้องชุดเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยกรมที่ดินมีอำนาจจัดเก็บภาษีดังกล่าว ทันที
  2. หรือ โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งของรัฐดำเนินการแล้วเสร็จ ทำให้เจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษี ภายใน 30 วัน นับจากวันที่โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐดำเนินการแล้วเสร็จ ถ้าที่ดินมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท

และทำเป็นในด้าน เชิงพาณิชย์ เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของห้องชุดดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี  ส่วนกรณีห้องชุดที่เจ้าของโครงการอาคารชุดยังไม่ได้จำหน่ายให้เจ้าของโครงการอาคารชุดที่เป็นเจ้าของห้องชุดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ทั้งนี้ ให้อปท.

ที่มีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐตั้งอยู่มีอำนาจจัดเก็บภาษีดังกล่าว

 

 

หลักการคำนวณภาษี

ภาษีลาภลอย

หลักการฐานภาษี แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มแรก  กรณีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐเริ่มดำเนินการก่อนร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ โดยมีการซื้อขาย ที่ดินกันก่อน ที่โครงการของภาครัฐก่อสร้างยังไม่เสร็จมีหลักการคำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุด ดังนี้

1.การซื้อขายที่ดินหรือห้องชุดที่ผู้ขายได้มาก่อนร่างพระราชบัญญัติ ฯ มีผลบังคับใช้ ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในร่างพระราชบัญญัติฯ มีผลบังคับใช้กับมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่ทำการซื้อขาย

2.การซื้อขายที่ดินหรือห้องชุดที่ผู้ขายได้มาหลังจากพระราชบัญญัติ ฯ มีผลบังคับใช้ ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุด ณ วันที่ได้มากับวันที่ทำการซื้อขาย

 

กลุ่มที่ 2 กรณีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐเริ่มดำเนินการก่อนพระราชบัญญัติ ฯ มีผลบังคับใช้ แต่มีหรือไม่มีการซื้อขายหลังโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐแล้วเสร็จ

ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดโดยให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่พระราชบัญญัติ ฯ มีผลบังคับใช้ หรือ วันที่เจ้าของได้มา กับมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐดำเนินการแล้วเสร็จ

 

กลุ่มที่ 3 กรณีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ เริ่มดำเนินการหลังพระราชบัญญัติ ฯ มีผลบังคับใช้ แต่มีการซื้อขายที่ดินหรือห้องชุดก่อนโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐแล้วเสร็จ ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินและห้องชุด ดังนี้

1.การซื้อขายที่ดินหรือห้องชุดที่ผู้ขายได้มาก่อนวันที่รัฐเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่รัฐเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ กับมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่ทำการซื้อขาย

2.การซื้อขายที่ดินหรือห้องชุดที่ผู้ขายได้มาระหว่างวันที่รัฐเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุด ณ วันที่ได้มากับวันที่ทำการซื้อขาย

 

กลุ่มที่ 4 กรณีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐเริ่มดำเนินการหลังพระราชบัญญัติ ฯ มีผลบังคับใช้ แต่มีหรือไม่มีการซื้อขายหลังโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐแล้วเสร็จ ให้คำนวณส่วนต่างของมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่รัฐเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ หรือ วันที่เจ้าของได้มา กับมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดในวันที่โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐดำเนินการแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่าที่ดินและห้องชุด ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ

 

4.การคำนวณภาษีให้ใช้ฐานภาษีของที่ดินหรือห้องชุดที่คำนวณได้คูณด้วยอัตราภาษี

 

5.กำหนดให้ในการจัดเก็บภาษีต้องไม่เกินร้อยละ 5 และพื้นที่ที่ให้มีการจัดเก็บภาษี ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการพิจารณากำหนดพื้นที่จัดเก็บภาษีประกาศกำหนด

 

6.กำหนดให้การจัดเก็บภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ทั้งนี้ อัตราภาษีที่อปท. หรือ กรมที่ดินใช้จัดเก็บให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

 

7.กำหนดให้เงินภาษีที่จัดเก็บตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

 

8.กำหนดให้กรณีผู้เสียภาษีมิได้ชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งเตือน เมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าวแล้ว

 

ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเพื่อนำเงินมาชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นได้

 

แต่ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเกินกว่าความจำเป็นที่พอจะชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าใช้จ่ายดังกล่าว

 

9.กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามกฎหมายนี้

 

อ้างอิง  prachachat.net

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …