คนพิษณุโลกรอไปก่อน รถไฟไฮสปีดไม่คืบ รอญี่ปุ่นร่วมลงทุน 2 แสนล้าน

รถไฟความเร็วสูง

การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาระบบ รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก) ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจาและศึกษารูปแบบการดําเนินโครงการฯ ยังไม่ได้ข้อสรุป พร้อมยืนยันว่าในการดำเนินการได้มีการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อยึดประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ

รถไฟไฮสปีดไม่คืบ รอญี่ปุ่นร่วมลงทุน 2 แสนล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า โครงการถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ จะเริ่มดำเนินการระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก ซึ่งปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้มีการแต่งตั้งคณะทํางานด้านเทคนิคขับเคลื่อนโครงการเพื่อเจรจาและศึกษารูปแบบการดําเนินโครงการฯ และทางญี่ปุ่นได้นําส่งรายงานศึกษาความเหมาะสมมาให้รัฐบาลไทยพิจารณาแล้ว

รถไฟความเร็วสูง

แต่ทว่าการศึกษารายละเอียดยังไม่ข้อสรุปแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการฯ ยืนยันว่า ตามลำดับขั้นตอนการเจรจาและศึกษารูปแบบการดําเนินโครงการฯ ได้ดำเนินการอย่างรอบคอบเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ยึดประโยชน์ขององค์กรและของประเทศ รวมถึงยังดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการพิจารณาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย

“ผลการศึกษาช่วงแรกกรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. จะใช้เงินลงทุน 212,892 ล้านบาท พบว่ามีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจมากกว่า 12% ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่สภาพัฒน์ฯกำหนดไว้ ดังนั้น โครงการจึงมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์”

คนพิษณุโลกรอไปก่อน รถไฟความเร็วสูง ไม่คืบ รอญี่ปุ่นร่วมลงทุน 2 แสนล้าน

นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้พิจารณาอย่างรอบคอบต่อประโยชน์ทั้งทางตรง ได้แก่ มูลค่าการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ยานพาหนะ มูลค่าการ ประหยัดเวลาในการเดินทาง มูลค่าจากการลดค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุ และมูลค่าการกําจัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงประโยชน์ทางอ้อมที่เกิดขึ้น เช่น การกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ และการจ้างงานด้วย

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า คณะทํางานด้านเทคนิคฯ ยังไม่ได้มีการพิจารณาประเด็นการใช้งบประมาณการลงทุนในโครงการนี้แต่อย่างใด เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟมีลักษณะเป็นบริการสาธารณะ โดยทั่วไปรัฐบาลจะรับภาระเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับ รถไฟทางคู่ รถไฟไทย-จีน และรถไฟชานเมือง สายสีแดง ดังนั้น ภาระหนี้จึงไม่ได้ปรากฏในงบการเงินของการรถไฟฯ

 

ที่มา prachachat.net

LTVดับฝันคนกู้บ้าน ธปท.ยันไม่ระงับ มาตรการ LTV ในเร็วๆนี้

 

รถไฟทางคู่

คน “บ้านไผ่-นครพนม” เฮ! รัฐ  อนุมัติ 6.6 หมื่นล้าน สร้าง รถไฟทางคู่ สายใหม่ ปี 64 ตอกเข็ม

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก