รัฐสั่งลุย 10 นโยบายด่วน จัดหนักทั้ง การก่อสร้างถนน กำหนดอัตราความเร็ว แนวทางการกำหนดรถส่วนบุคคล

นโยบาย

หลังจากที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ประจำเดือนกันยายน 2562 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม โดยสั่งให้ รีบเร่ง 10 นโยบาย ด่วนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น

 

10 นโยบายเร่งด่วน จัดหนักทั้ง การก่อสร้างถนน กำหนดอัตราความเร็ว  แนวทางการกำหนดรถส่วนบุคคล

โดยภายในงานประชุมติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้ง 10 นโยบายด่วนมีดังนี้

1.ติดตามการดำเนินการก่อสร้างถนนพระราม 2

โดยสั่งให้ทางกรมทางหลวง (ทล.)  แก้ไขปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณช่วงปากซอยพันท้ายนรสิงห์ นอกจากนี้การก่อสร้างจะต้องยังคงสภาพจราจรให้จำนวนช่องจราจรเท่าเดิม และปฏิบัติตามนโยบาย 6 มิติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  (แนวทางการแก้ไขปัญหา 6 มิติ คือ 1.การออกแบบ 2.การประชาสัมพันธ์ 3.ด้านสัญญากำหนดแนวทางและดำเนินการจัดการจราจรไว้ในแบบสัญญา 4.การคัดเลือกผู้รับจ้าง 5.การจัดการรื้อย้ายสาธารณูปโภค จะต้องมีค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภคในสัญญา 6.การบริหารงานจราจรไปใช้ในโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม )

 

2.กำหนดอัตราความเร็วถนน 4 ช่องทางจราจรขึ้นไป

โดยมีการกำหนดให้ช่องขวาสุดเฉพาะรถยนต์ 4 ล้อจะต้องมีอัตราความเร็วไม่รถเกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อระบายการจราจรให้คล่องตัวยิ่งขึ้น โดยทาง ทล.  พิจารณากำหนดอัตราความเร็วบนถนนทางหลวง โดยเวลานี้ได้ทำการที่จะเลือกใช้ทางหลวงหมายเลข 32 บางปะอิน – นครสวรรค์ ระยะทาง 150 กิโลเมตร เป็นโครงการนำร่อง

 

3.การแก้ไขปัญหาจราจรหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ

โดยทางรัฐจะจัดการจราจรหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษและค่าทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) โดยจะเพิ่มความสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางได้อย่างรวดเร็วและจัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่านด่านตามนโยบายระยะเร่งด่วน บวกกับการหาแนวทางการปรับลดค่าผ่านทางในอนาคต

 

4.แนวทางการกำหนดรถส่วนบุคคล ให้เป็นรถสาธารณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย กรมการขนส่งทางบก

ทางภาครัฐเตรียมยกร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้รับจ้างผ่านแอพพลิเคชั่นและกำหนดเครื่องสื่อสารโดยใช้เครื่องสื่อสารระหว่างรถและศูนย์บริการ พร้อมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรถแท็กซี่รูปแบบเดิม

 

5.แก้ไขปัญหาค่าฝุ่นละออง PM 2.5 บนท้องถนน

เวลานี้ทาง กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ยกระดับการตรวจวัดค่าควันดำรถโดยสารและรถบรรทุก ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ 15 จังหวัดโดยรอบและประสานกรมควบคุมมลพิษ ตั้งจุดตรวจ ณ พื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูง นอกจากนี้ยังมีช่องทางให้คนทั่วไปสามารถร้องเรียนผ่านศูนย์ 1584 เฟสบุ๊คกรมการขนส่งทางบก และทาง Line โดยเวลานี้ทาง กรมการขนส่งทางบก ได้ให้คำขาดว่าจะตรวจสอบและลงโทษอย่างเด็ดขาด โดยในเวลานี้ทาง ขบ.ได้ประสานงานกับผู้ประกอบการสายงานรถขนส่งสาธารณะ เพื่อที่จะทำการตรวจวัดควันดำรถโดยสารและรถบรรทุก ณ สถานที่ประกอบการ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร

 

6.การกำหนดจุดจอดพักรถโดยสารสาธารณะ(Checking Point)

โดยจะมีการกำหนดจุดจอดพักรถโดยสารสาธารณะทุกระยะทาง 90 กิโลเมตร เพื่อดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานผู้ขับขี่พร้อมตรวจสภาพรถให้ประชาชนอีกด้วย

 

7.การพัฒนาการขนส่งทางน้ำ

เพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งอื่นและการขนส่งทางเลือกในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เวลานี้ทางกรมเจ้าท่ามีโครงการพัฒนาท่าเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาและพร้อมที่จะยกระดับการให้บริการเป็นสถานีเรือที่มีการเชื่อมโยงระบบขนส่งอื่นในอนาคต

 

8.การพัฒนาการคมนาคมทางอากาศ

แผนพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคของกรมท่าอากาศยาน และการสนับสนุนสายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อที่อนาคตจะช่วยบริการประชาชนในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นรวมถึงเพิ่มคุณภาพในการให้บริการตามาตรฐานสากล และส่งเสริมให้ท่าอากาศยานภูมิภาคสามารถเป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิตและกระจายสินค้าเกษตรเพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้มากขึ้น

 

9.รับฟังความเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์

โดยจะรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านเว็บบอร์ดทางเว็บไซต์ของกระทรวงคมนาคม สำหรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

 

10.นำยางพารามาใช้ในการก่อสร้างทางและวัสดุความปลอดภัยอื่น ๆ

โดยกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ทำการลงนามเพื่อร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราสำหรับเพื่อการจราจรและความปลอดภัยทางถนน โดยผ่านกระบวนการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่ออนาคตจะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับทางภาครัฐ

 

โดยในการประชุมครั้งนี้ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานดำเนินการประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการต่าง ๆแบบเชิงรุก และจะต้องชี้แจงข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจแก่ประชาชนทราบในวงกว้างและยังย้ำว่าจะต้องยึดหลักปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด โปร่งใส ตรวจสอบได้

ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า

ข่าวดี…. ที่ดิน ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า พุ่ง   ริมถนน 30 ล้านบาทต่อไร่ ในซอย10 ล้านบาทต่อไร่

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก