เคาะ รถไฟฟ้า ขอนแก่น-พิษณุโลก ก.ย.นี้

สนข. จ่อเสนอโครงการ รถไฟฟ้า ขอนแก่น-พิษณุโลก วงเงิน  7 หมื่นล้านเข้า คจร. เคาะลงทุน ก.ย.นี้ เผย”ฝรั่งเศส-สเปน-เกาหลีใต้-จีน” สนใจชิงงานระบบรถไฟฟ้า ด้าน รฟม.เร่งศึกษาพีพีพีรถไฟฟ้าเชียงใหม่  คาดสรุปใน 6 เดือน เปิดประมูลเฟสแรก 2.4 หมื่นล้าน

รถไฟฟ้า

ายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนและ การจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า สนข.จะเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ในเดือน ก.ย.นี้ พิจารณาแผนแม่บทระบบขนส่ง สาธารณะ ประเภทรถไฟฟ้ารางเบาระดับ พื้นดิน (แทรม) 2 จังหวัด คือ 1.ขอนแก่น มูลค่า 45,479 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงสร้างพื้นฐานและงานโยธา 26,963 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายการเดินรถและบำรุงรักษา 18,516 ล้านบาท

2.พิษณุโลก เงินลงทุน 24,915 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบขนส่ง 3 รูปแบบ  คือ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram) 8 เส้นทาง ระยะทาง 115.1 กิโลเมตร

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า จะเสนอ โอนโครงการระบบขนส่งสาธารณะ จ.ขอนแก่น ให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น(อปท.) ลงทุนและบริหาร จัดการทั้งระบบ เพราะต้องการให้อปท.และเอกชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมการพัฒนาขนส่งสาธารณะ โดย สนข.จะเป็นผู้สร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของระบบขนส่งรถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งวานนี้ (8ก.ย.) ได้เดินทางมาสร้าง การรับรู้ที่ จ.เชียงใหม่เป็นแห่งแรกเพราะแผนพัฒนาชัดเจนแล้ว

สำหรับการบริหารจัดการระบบรถไฟฟ้ารางเบาในแต่ละจังหวัดควรมีองค์กรเพียง 1 แห่ง ที่จะบริหารโครงการและเดินรถไฟฟ้าในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก เพราะรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดมีขนาดเล็กต่างจากกรุงเทพฯ รวมทั้งควรเปิดกว้างให้ต่างชาติร่วมทุนเพื่อถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งมีความพร้อมเทคโนโลยีและอะไหล่เพื่อซ่อมแซม ซึ่งมีต่างชาติสนใจขอข้อมูลรถไฟฟ้ารางเบาในต่างชังหวัด เช่น ฝรั่งเศส สเปน เกาหลีใต้ จีน

เร่งศึกษา รถไฟฟ้า อุดรธานี

เคาะ รถไฟฟ้า ขอนแก่น-พิษณุโลก  ก.ย.นี้

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า แผนพัฒนา รถไฟฟ้าในภูมิภาค นอกจากแผนแม่บทที่กำหนดไว้ 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต นครราชสีมา และพิษณุโลก ขณะนี้ สนข.กำลังเร่งศึกษารถไฟฟ้าในจังหวัดอุดรธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในเขตเมือง รวมทั้งจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการบินพลเรือน (กพท.) เพื่อพัฒนาขนส่งสาธารณะเชื่อมกับสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 และภูเก็ตแห่งที่ 2 ที่กำลังจะพัฒนา

ขณะเดียวกัน สนข.กำลังศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลระยะที่ 2 เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดและมีเป้าหมายให้การใช้รถยนต์ส่วนจากปัจจุบัน 70% ลดลงเหลือ 40-50%

นอกจากนี้ สนข.และ กทม.จะเร่งพัฒนารถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 12 สายทาง โดยโครงการของ รฟม. 10 สายทาง จะเปิดให้บริการครบก่อนแผน 4 ปี คือ เปิดให้บริการได้ในปี 2568 จากเดิมตั้งเป้าเปิดปี 2572 ขณะที่ กทม.จะทำ 2 สายทาง คือ สายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 และสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาธร โดยหากเปิดบริการครบ 12 เส้นทาง จะมีผู้โดยสารรถไฟฟ้าปรับสูงขึ้นเป็น 5.13 ล้านคนต่อวัน ครอบคลุมระยะทาง 509 กิโลเมตร รวม 312 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 680 ตารางกิโลเมตร

ดึงสองแถวฟีดเดอร์รถไฟฟ้า

เคาะ รถไฟฟ้า ขอนแก่น-พิษณุโลก  ก.ย.นี้

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนในจ.เชียงใหม่ จะใช้เงินลงทุน1 แสนล้านบาท โดยเฟส1ลงทุนสายสีแดง มีระยะทาง 12 กิโลเมตรเงินลงทุน2.4 หมื่นล้านบาท โดยแนวเส้นทางคือ ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยก แม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง) ซึ่งถือเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญในจังหวัดเช่นโรงพยาบาล ศูนย์ประชานานาชาติ ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ จะดึงกลุ่มขนส่งท้องถิ่น หรือ รถสองแถวแดงเชียงใหม่ เข้ามามีส่วนร่วม โดยจะปรับปรุงเส้นทางให้รถแดงเป็นระบบขนส่งผู้โดยสารไปยังรถไฟฟ้า (ฟีดเดอร์) เบื้องต้นหารือแล้วและทุกฝ่ายเห็นด้วย และพร้อมเปลี่ยนเส้นทางเพื่อสนับสนุนระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง สนข. ยังมีแนวคิดเตรียมใช้บัตรแมงมุมบนรถแดง เชื่อมรถแทรมเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนโหมดการเดินทางแบบไร้รอยต่อด้วย

แหล่งข่าวจาก สนข. กล่าวว่า รฟม.กำลังเวนคืนที่ดิน และทำการศึกษารูปแบบเปิดประกวดราคา ซึ่งจะจัดทำในลักษณะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรัฐ (พีพีพี) รวมทั้งเร่งออกแบบรายละเอียดโครงการ ซึ่งจะเสร็จภายใน 6 เดือน จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประมูลต้นปี 2563 และเริ่มงานก่อสร้างในปี 2564

นายทรงยศ กิจธรรมเกษร ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการจัดระบบการจราจรและขนส่งภาคเหนือ (ตอนบน) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สัดส่วนการขนส่งในเชียงใหม่ 90% เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และ 10% เป็นการเดินทางผ่านขนส่งสาธารณะ อีกทั้งปริมาณของ นักท่องเที่ยวยังมีสูงกว่า 10 ล้านคน ต่อปี และมีอัตราขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ย 10% ต่อปี รวมไปถึงผังเมืองของเชียงใหม่ที่เป็นเมืองเก่า ไม่ได้มีการวางโครงข่ายระบบขนส่งให้สอดคล้อง ทำให้การจราจรในจังหวัดติดขัดมาก

เล็งถก5ประเด็นรถไฟความเร็วสูง

เคาะ รถไฟฟ้า ขอนแก่น-พิษณุโลก  ก.ย.นี้

นายวิเชียร ฝอยพิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.)นครราชสีมา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับมรภ.พระนครศรีอยุธยา มรภ.อุดรธานี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จัดเวทีเสวนาศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย

ทั้งนี้ ได้กำหนดกรอบการวิจัย 5 ประเด็น คือ1.สถานภาพปัจจุบัน (Existing Condition) ของพื้นที่ที่รถไฟวิ่งผ่านและบริเวณโดยรอบสถานี 2. ผลกระทบด้านการก่อสร้างและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 3. ผลกระทบด้านการค้าการลงทุน 4. ผลกระทบ ด้านการท่องเที่ยวและบริการ และ 5.ผลกระทบด้านการเคลื่อนย้ายประชากร

ทั้งนี้ จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดและอำเภอตลอดเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่านและบริเวณที่สถานีรถไฟตั้งอยู่ ทั้งการสอบถาม สัมภาษณ์ จัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม รวมทั้งจัดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็น เพื่อประมวลผลข้อมูลในภาพรวม พร้อมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับรัฐบาล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน และจัดเตรียมมาตรการรับรองผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก