เจาะจังหวัดที่เป็น อุปสรรค ที่ทำให้ติดปัญหาการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน

รถไฟความเร็วสูง

ในเวลานี้การก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา พาดยาว 220 กม. โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง แต่ติดปัญหาอยู่ที่ว่า ฝั่ง ซี.พี.ต้องการได้พื้นที่ว่างโล่งพร้อมสร้าง 100%  เพื่อให้งานเสร็จทัน 5 ปี เพราะทางกลุ่มไม่ต้องการถูกปรับวันละ 9 ล้านบาท ขณะเดียวกันฝั่งรัฐแค่ชดเชยเวลาให้แต่ไม่ได้ชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นระหว่างทางให้

 

จังหวัดที่เป็น อุปสรรค  ที่ทำให้ติดปัญหาการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

 

1.กรุงเทพฯ

เขตดอนเมือง-บางซื่อ  

  • ติดปัญหาต้องรื้อสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 KV
  • ปัญหารื้อโครงสารโฮปเวลล์ 200 ต้น
  • ปัญหารื้อท่อน้ำมัน/ท่อก๊าซ
  • จัดการเคลียร์ผู้บุกรุกพื้นที่และจัดการปัญหาสัญญาเช่า

เขตพระราม6-บางซื่อ

  • ติดปัญหาอุโมงค์ระบายน้ำ
  • ปัญหารื้อท่อน้ำประปาขนาดใหญ่
  • ปัญหารื้อท่อน้ำมัน

เขตพญาไท-สถานีจิตรลดา

  • ติดปัญหาอุโมงค์ทับซ้อนสายสีแดง
  • จัดการเคลียร์ผู้บุกรุกพื้นที่ 270 หลัง

เขตมักกะสัน-ลาดกระบัง

  • ติดปัญหาพื้นที่พวงราง
  • ปัญหารื้อท่อน้ำมันและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

2.จังหวัดฉะเชิงเทราลและชลบุรี

  • ปัญหารื้อท่อน้ำมัน/ท่อก๊าซ
  • จัดการเคลียร์ผู้บุกรุกพื้นที่ 850 ไร่
  • ปัญหาเคลียร์ผู้บุกรุก/บ้านพักรถไฟ

ปัญหาหลักๆเลยคือเจ้า โครงการ โฮปเวลล์ อภิมหาโปรเจ็กต์ 8 หมื่นล้านบาทที่เวลานี้ยังเคลียร์ไม่ลงตัวทำให้ ร.ฟ.ท. ส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจากและดูถ้าเป็นปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร และช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ปัญหาหลักๆคือเรื่องการส่งมอบพื้นที่ในแนวเส้นทางที่มีทั้งรื้อท่อน้ำมัน ผู้บุกรุก และในเวลานี้ทางผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง “ยูนิคฯ-ซิโน-ไทยฯ-อิตาเลียนไทยฯ” พร้อมใจขยายเวลาเพื่อที่จะทำการเรียกร้องค่าชดเชยจาก ร.ฟ.ท.กว่า 9 พันล้านบาท  และเวลานี้ทางร.ฟ.ท.ยังเคลียร์ผู้บุกรุกไซต์สถานีกลางบางซื่อไม่จบคิดเป็นพื้นที่ 35 ไร่ แ

โดยล่าสุดทาง วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยมีพื้นที่พร้อมส่งมอบ 50% ที่เหลือจะทยอยส่งมอบภายใน 1-2 ปี  โดยทางรการรถไฟแห่งประเทศไทยต้องการให้ทางกลุ่มซี.พี. เปิดไซต์ก่อสร้างตรงพื้นที่ว่างได้ทันทีหลังเซ็นสัญญา ส่วนที่ติดปัญหาจะทยอยเคลียร์และออกหนังสือเริ่มต้นสัญญาโครงการเป็นลับดับต่อไปในอนาคต

สรุปปัญหาที่ทางกลุ่ม ซี.พี.กำลังจะเผชิญ นั้นคงจะเรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงมากๆเพราะไม่สามารถบริหารจัดการได้เพราะมันประเมินค่าไม่ได้ ถึงแม้ว่า กลุ่ม ซี.พี. จะเตรียมงบฯ 2,850 ล้านบาทเพิ่มขึ้นมาสำหรับ รื้อถอนสิ่งกีดขวางพ้นแนวเส้นทาง  ที่เป็นวงเงินก่อสร้างที่เสนอขอรัฐอุดหนุน 117,227 ล้านบาท เพื่อปิดจุดเสี่ยงโครงการภายในอนาคต

รถไฟความเร็วสูง

เจาะปม รถไฟความเร็วสูง เพราะอะไรรัฐถึงเคลียร์กับกลุ่มซีพี ไม่ลงตัวสักที

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก