เริ่มแล้ว…ปรับเงินเดือนลูกจ้าง “รัฐวิสาหกิจ”


สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวถึงเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนรัฐวิสาหกิจไว้ว่า ในภาพรวมการปรับขึ้นเป็นอำนาจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจในแต่ละแห่ง และเป็นอำนาจการพิจารณาคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน

โดยปรับปรุงบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ(โครงสร้าง 58 ขั้น) 35 แห่ง เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจและสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดยมติมีสาระสำคัญคือ

อัตราจ้างขั้นต่ำจากเดิม 5,780-9,040 บาท ให้เริ่มมีอัตราขั้นต่ำที่ 9,040 บาท

อัตราขั้นสูงสุด จากเดิมได้รับ 113,520 บาท ให้เพิ่มขั้นอีก 6.5 ขั้น โดยมีค่าจ้างอัตรา 142,830 บาท เป็นขั้นเงินเดือนสูงสุด

สำหรับการแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

กลุ่มที่ 1

รัฐวิสาหกิจที่สามารถดำเนินการกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ เองได้ เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว

1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
3. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
4. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
6. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
7. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)8. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
9. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
10. บริษัท. กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
11. บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)
12. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
13. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

กลุ่มที่ 2

รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง

1. การไฟฟ้านครหลวง
2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
3. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
5. บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด
6. บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด
7. บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด
8. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร10. บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด
11. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
12. บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
13. ธนาคารออมสิน
14. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
15. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
16. บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
17. บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

กลุ่มที่ 3

รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือน 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

1. โรงงานยาสูบ
2. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
3. การประปานครหลวง
4. การประปาส่วนภูมิภาค
5. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
6. การท่าเรือแห่งประเทศไทย
7. การรถไฟแห่งประเทศไทย
8. องค์การขนส่งมวลชลกรุงเทพ
9. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
10. การเคหะแห่งชาติ
11. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
12. สำนักงานธนานุเคราะห์

13. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
14. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
15. องค์การสวนยาง
16. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
17. องค์การสะพานปลา
18. องค์การตลาด
19. องค์การคลังสินค้า
20. โรงพิมพ์ตำรวจ
21. โรงงานไพ่
22. องค์การสุรา
23. องค์การเภสัชกรรม
24. บริษัท ขนส่ง จำกัด
25. บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
26. การกีฬาแห่งประเทศไทย
27. องค์การสวนสัตว์
28. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
29. สถาบันการบินพลเรือน
30. องค์การสวนพฤกศาสตร์
31. องค์การจัดการน้ำเสีย
32. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
33. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
34. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
35. บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด

ที่มา : มติชนออนไลน์