เพราะอะไร น.ส.ปารีณาไม่ผิดแม้จะครองที่ดินแบบผิดกฎหมาย

ที่ดิน

แค่คืน ที่ดิน ก็จบแค่นั้นหรือ จากรณี น.ส. ปารีณา ถือครองที่ดิน ที่ดิน 682 ไร่ที่ไม่รับอนุญาตและไม่เข้าข่ายมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกร แต่ไม่แจ้งความเอาผิดและดำเนินคดีหากคืนให้ก่อน 15 ธ.ค.นี้

 

ที่ดิน 682 ไร่ แค่คืนก็จบ…?

จากเมื่อเร็วๆนี้ทาง  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) ได้ทำการแถลงข่าว โดยมีนาย วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก ได้ให้ความเห็นว่า ในกรณีตรวจสอบการถือครองที่ดินของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ นั้นตอนนี้ยังไม่ตัดสินใจใช้มาตรา 44 คำสั่ง 36/2559 ในกรณีในการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบกฎหมาย โดยทางส.ป.ก.ตรวจสอบแล้วพบว่า น.ส.ปารีณา ครอบครองที่ดิน 682 ไร่ไม่รับอนุญาตและไม่เข้าข่ายมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกร จึงทำให้เวลานี้ทำให้ทาง ส.ป.ก ต้องยึดคืนที่ดิน โดยให้เวลา 7 วันนับตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา และหาก น.ส.ปารีณา คืนที่ดินฟาร์มไก่ 682 ไร่ ทาง ส.ป.ก ก็จะ ไม่แจ้งความเอาผิดและดำเนินคดี  แต่หากยังไม่คืนที่ดิน จึงจะใช้คำสั่งมาตรา 44 คำสั่ง 36/2559  ทันที   โดยนายนภดล ตันติเมฆิน ผอ.สำนักกฎหมาย ส.ป.ก.  ได้กล่าวว่า ในเวลานี้ ส.ป.ก ได้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการว่ายอม หรือไม่ยอมคืนพื้นที่  ถ้าไม่คืนต้องขอดูในข้อเท็จจริงก่อน เพื่อใช้ประกอบ ด้านการฟ้องแพ่งคงอาจจะต้องดูกฎหมายอื่นๆ ประกอบก่อน เพราะต้องใช้กฎหมายอื่นร่วมด้วย ทำให้เวลานี้ฝั่ง ส.ป.ก ทำหน้าที่จบแล้ว ?

ด้านนาย  วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการครอบครองที่ดินผิดกฎหมายของ น.ส.ปารีณา กรณีนี้อาจจะคล้ายกันที่เคยเกิดขึ้นกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ดำรงตำแหน่งหลังการรัฐประหารปี 2549 ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ก็เคยพัวพันกับเรื่องที่ดิน ส.ป.ก. แต่เรื่องจบลงเมื่อคืนที่ดินให้กับภาครัฐ เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม ภ.บ.ท. 5 ที่กำลังเป็นปัญหาของ “นางสาวปารีณา” อยู่ในขณะนี้ คืออะไร ซื้อขายได้ไหม

เจาะคำสั่ง คสช. ทวงคืนที่ดิน ส.ป.ก.

ที่ดิน

จากคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 36/2559  เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดิน ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบกฎหมาย  นั้นในเนื้อหามีระบุไว้ว่า  ตามที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติตั้งแต่ พ.ศ.2536 ให้มีการส่งมอบพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม เพื่อนําพื้นที่ไปดําเนินการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร ตามกฎหมาย ส.ป.ก. แต่จนถึงปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่ายังมีแปลง ที่ดิน ที่ยังไม่ได้ทําการสํารวจรังวัดอยู่จํานวนมาก ดังนั้นหากมีผู้ถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและบุคคลดังกล่าวไม่ให้ความร่วมมือหรือความยินยอมเพื่อเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  ส่วนบุคคลผู้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเข้าใช้ประโยชน์โดยอ้างสิทธิในที่ดินจากการซื้อขายต่อจากเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินทั้งจากการซื้อแบบเปลี่ยนมือที่ดินที่จัดให้แก่เกษตรกรเพื่อถือครองที่ดินเป็นแปลงขนาดใหญ่โดยนำพื้นที่ดังกล่าวไปประกอบเกษตรกรรมในรูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่อาจจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างรุนแรงในระยะยาว หรือในบางกรณีปรากฏพื้นที่ข้างเคียงเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ยังคงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ หากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม อาจมีปัญหาการบุกรุกพื้นที่เพิ่มเติมซึ่งกระทบต่อความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 หัวหน้า คสช.โดยความเห็นชอบของ คสช. ดังนี้

ข้อ1. ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ที่ดิน ดังต่อไปนี้

1.1 ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป

1.2 ที่ดินที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินสิ้นสิทธิเข้าทําประโยชน์แล้วและครอบครองโดยบุคคลที่มิใช่ผู้ได้รับการจัดที่ดินมีเนื้อที่ตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไป

1.3 ที่ดินที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด ให้ส่งมอบแก่ ส.ป.ก.แล้ว และมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป

ข้อ 2 เมื่อ ส.ป.ก.ประกาศกําหนดพื้นที่เป้าหมายตามข้อ 1

ให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ปิดประกาศพื้นที่เป้าหมายไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการ กํานัน ที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน และที่ทําการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แห่งท้องที่ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน และให้นายอําเภอ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ปิดประกาศนั้น มีหน้าที่รักษาความมีอยู่หรือความสมบูรณ์ของประกาศด้วย

ข้อ 3 ให้ผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมายตามข้อ 1

ยื่นคําร้องเพื่อแสดงสิทธิ ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่น ต่อสํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดภายใน 15 วัน นับแต่วันปิดประกาศตามข้อ 2 และให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรวจสอบหลักฐานแสดงสิทธิ ในที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กําหนด

 

พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518

ที่ดิน

โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้มีเป้าหมายในการมีการปฏฎิรูปที่ดินเพื่อต้องการให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน และใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุดพร้อมทั้งการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ดังนั้นการกำหนดโทษ จึงไม่รุนแรงหากเทียบกับการบุกรุกที่ดินประเภทอื่นๆ โดยอ่านเพิ่มเติมต่อที่ ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 คืออะไรทำไมอนาคตอาจกลายเป็นที่ดินทองคำ

สรุปจะเอาผิด ปารีณา ได้หรือไม่

การจะเอาผิด  ปารีณา คงอาจจะต้องรอ จนถึงวันที่  15 ธ.ค.นี้ ว่า น.ส.ปารีณา จะคืนที่ดินจำนวน 682 ไร่ หรือเปล่า แต่ในด้านฝั่ง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีอำนาจแค่นี้ ต่อให้ประชาชนจะคิดว่า กฎหมายของไทยฉบับเดียวกัน แต่ใช้กับคนหลายระดับชั้นอย่างไม่เท่าเทียมกัน  แต่ ฝั่ง ส.ป.ก ตามอำนาจมีแค่นี้เท่านั้นและในแง่กฎหมายก็ยังไม่สามารถเอาผิดทางอาญาใดๆได้ด้วย แม้จะค้านสายตาประชาชนทั่วประเทศไทยก็ตาม

รัฐ เดินหน้า ลงทุนระบบรางปี 63 ทะลุ 2 แสนล้านบาท

รัฐ เดินหน้า ลงทุนระบบรางปี 63 ทะลุ 2 แสนล้านบาท

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก