พินัยกรรม นิติกรรมสำหรับการกำหนดผู้มีสิทธิรับมรดก

พินัยกรรม

สำหรับในวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักเป็นสิ่งมีค่าที่สุดในการใช้เป็นมรดกสำหรับ พินัยกรรม เรียกได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มักจะเกิดข้อพิพาทเสมอเมื่อมีการแบ่งมรดกกันเกิดขึ้น วันนี้ Dot Property จึงขอให้ข้อมูลสำหรับการทำพินัยกรรม ว่าผู้ที่มีสิทธิ์ในการทำพินัยกรรมได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติในลักษณะใด และมีการทำพินัยกรรมในรูปแบบไหนบ้าง

 

คุณสมบัติของบุคคลที่สามารถทำ พินัยกรรม ได้

การทำพินัยกรรมเป็นการแสดงซึ่งเจตนากำหนดว่าถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้เสียชีวิตลงไปแล้ว สิทธิในทรัพย์สินทั้งหมดของตนจะตกแก่ญาติผู้ตายโดยชอบ แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องตกแก่ผู้สืบสันดาน หรือ ญาติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ในพินัยกรรมยังสามารถระบุว่าทรัพย์สินส่วนนั้นตกเป็นของผู้ใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้เขียนพินัยกรรมนั้นเอง

พินัยกรรม

และตัวผู้ที่จะสามารถทำพินัยกรรมได้นั้นจะต้องมีคุณบัติเป็นผู้ที่ต้องมีอายุครบ 15 ปีขึ้นไปตามที่กฎหมายกำหนด ถึงจะสามารถทำพินัยกรรมได้ และในขณะที่ทำการร่างพินัยกรรมขึ้นมา ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องมีสติสัมปชัญญะดีและครบถ้วน ส่วนเรื่องกำหนดไหมว่าอายุที่มากแค่ไหนนั้นไม่สำคัญ จะสำคัญจริงๆก็คือมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนดีอยู่หรือไม่

 

แบบของพินัยกรรม

แบบของพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ คือ

1.พินัยกรรมแบบธรรมดา มาตรา 1656 ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี และต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานทั้งสองจะต้องลงรับลองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้นด้วย

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ มาตรา 1657 ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเอกสานเป็นเขียนเองในพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ พร้อมกับต้องลง วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในพินัยกรรม

3.พินัยกรรมแบบเป็นเอกสารฝ่ายเมือง มาตรา 1658 ผู้ทำพินัยกรรมต้องแจ้งประสงค์ขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ร้องขอให้กรมการอำเภอจดไว้และลงลายมือชื่อ ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม โดยทำต่อหน้าพยานเพื่อรับรู้อย่างน้อย 2 คน

4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ มาตรา 1660 ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในพินัยกรรม โดยต้องมีพยานรับรองอย่างน้อย 2 คน และต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยพนึกนั้น แล้วนำส่งต่อกรมการอำเภอพร้อมกับพยานอีกอย่างน้อย 2 คน และสุดท้ายเมื่อกรมการการอำเภอรับทราบให้จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมแสดงไว้บนซองและประทับตาตำแหน่ง พร้อมกับที่กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

5.พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา มาตรา 1663 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมประเภทอื่นได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย มีโรคระบาด หรืออยู่ในพื้นที่สงคราม ผู้ทำพินัยกรรมสามารถที่จะแสดงความประสงค์เพื่อขอทำพินัยกรรม โดยต้องมีพยานรับรู้ต่อหน้าสองคนพร้อมกัน พยานทั้งสองต้องแสดงตัวต่อกรมการอำเภอและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งวาจาไว้ พร้อมกับ วัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและพฤติการพิเศษด้วย

 

คุณสมบัติของผู้จะที่เป็นพยานในพินัยกรรม

1.บรรลุนิติภาวะแล้ว

2.ไม่วิกลจริตหรือศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

3.หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้ ตาไม่บอดทั้งสองข้าง

 

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม

1.ผู้เขียนหรือพยานรวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้

2.การขูด ลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม ต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงลายมือชื่อกำกับไว้

3.ในพินัยกรรมจะต้องแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย

4.ตัวบุคคลที่ระบุให้เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นจะต้องไม่เป็นบุคคลที่กฎหมายห้ามไว้

มรดก

การแบ่ง มรดก กับทายาทโดยชอบธรรม ที่มีสิทธิรับมรดก

 

 

ผู้จัดการมรดก

ทำความรู้จัก “ ผู้จัดการมรดก ” ผู้มีอำนาจจัดการดูแลกองมรดกให้ลงตัว

 

 

ที่มา : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก