เจาะข้อพิพาททางด่วน เพราะอะไรอาจต้องจ่ายค่าโง่สูงถึง 3แสนล้าน หากรัฐบาลลุงตู่ยื้อต่อ

ทางด่วน

ไม่เคยหมดไปจริงๆสำหรับการโกงกินในประเทศไทย ตั้งแต่ คดีที่ดิน สปก4-01 คดี หรือตำนาน โฮปเวลล์ที่รัฐต้องจ่ายค่าเสาโง่ๆไปถึง 1.2 หมื่นล้าน ล่าสุดมาถึงกรณีข้อพิพาท ทางด่วน ของ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) ที่คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ต้องจ่ายเงินชดเชย BEM จำนวน 4,318 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) และเมื่อรวมข้อพิพาททั้งหมด17 คดี จะทำให้กทพ. ต้องชดเชยให้ BEM ทั้งสิ้น 137,517 ล้านบาท แม้ว่าล่าสุด ครม. จะทำการชะลเรื่องการต่อรองทางกับทาง BEM ที่จะขอยืด 3 สัญญาทางด่วนออกไปอีก 30 ปี เพื่อที่จะยอมลดภาระหนี้ข้อพิพาท จาก  137,517 ล้านบาท ลงเหลือ 58,900 ล้านบาท  ทำให้เวลานี้สัมปทานทางด่วนไม่เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกยิ่งรัฐบาลลุงตู่ยื้อต่อมีโอกาสสูงที่จะต้องจ่ายสูงถึง 326,127 ล้านบาท…

 

จุดเริ่มต้นข้อพิพาท ทางด่วน ที่รัฐอาจเสียค่าโง่แสนล้าน

ทางด่วน

จุดเริ่มต้นของข้อพิพาทมี 2 ลักษณะ คือ

1. เกิดในปี 2542 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่อยู่ดีๆรัฐบาลสมัยนั้นอนุมัติให้ก่อสร้างดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยายจากอนุสรณ์สถาน-รังสิต  ทำให้เกิดการละเมิณข้อสัญญาที่รัฐบาลจะไม่มีการแข่งขัน  นำไปสู่การลดลงของรายได้ นอกจากนี้ทาง กทพ. ก็ไม่ชดเชยรายได้ที่ลดลงสำหรับทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ให้แก่ NECL ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BEM(บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ที่รับสัมปทานทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด อุดรรัถยา และทางด่วนขั้นที่ 2 ศรีรัชิ ) ที่ในสัญญาระบุว่า หากมีการก่อสร้างทางในพื้นที่ใกล้เคียงทำให้ทางด่วนสายนี้มีรายได้ลดลงถือเป็นทางแข่งขัน กทพ. จะชดเชยรายได้ให้ NECL ตามวิธีที่กำหนดในสัญญา

เมื่อเกิดข้อพิพาท  คณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้ NECL ชนะ   จากเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นที่ทาง กทพ.ชี้แจงว่าดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยายไม่ใช่ทางแข่งขัน  แต่เมื่อศาลตัดสินแล้ว แต่ทาง กทพ. ยังไม่ยอมรับและไปสู่ต่อ โดยไปฟ้องเพิกถอนต่อศาลปกครอง และเมื่อ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ กทพ. ชดเชยรายได้ที่ลดลงจากผผลกระทบทางแข่งขันตั้งแต่ปี 2542-2543ให้แก่ BEM เป็นเงิน 4,318 ล้านบาท ซึ่งคดีนี้จะมีผลต้องชดเชยถึงปัจจุบัน คิดเป็นเงินกว่า 78,908 ล้านบาท

 

2.ข้อพิพาทเรื่องค่าผ่านทางเกิดขึ้นในปี 2546 ยุคนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เหตุเพราะ กทพ. ไม่ปรับขึ้นค่าทางด่วนให้ BEM ตามสัญญา ที่กำหนดว่าทุกๆ 5 ปี ให้ปรับขึ้นค่าทางด่วนตามเงินเฟ้อที่มากขึ้น ที่จะทำการปัดขึ้นเป็นจำนวน 5 บาท เพราะตลอด 5 ปีไม่ได้ปรับ แต่ กทพ. ใช้วิธีปัดลง หากคำนวนแล้วไม่ถึง 5 บาท ทำให้ BEM ได้รับความเสียหายจากรายได้ที่ลดลงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

โดยข้อพิพาทนี้ มีคำสั่งจากคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้ กทพ. ชดใช้ BEM แต่เมื่อเคยผลคือทาง กทพ. ไม่ยอมรับ และได้ยื่นฟ้องเพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลปกครอง ทำให้วงเงินในเวลานี้ทะลุไปแล้วว่า  56,034 ล้านบาท ทำให้เวลานี้เมื่อรวมข้อพิพาททั้งหมด รัฐบาลอาจจะต้องจ่ายให้ทาง  BEM ทั้งหมด 137,517 บาท

 

ทำไมรัฐไม่จ่ายแต่แรก

จากเหตุข้อพิพาทที่ยืดเยื้อมานาน 20 ปี ทำไมรัฐบาลถึงยืดเยื้อไม่จ่ายแต่แรก นั้นก็เพราะว่าผลประโยชน์จาก  กทพ. มีมาก นั้นก็เพราะเป็นองค์กรที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมากมาย  อาทิ งานก่อสร้าง  เวนคืนที่ดิน  สัมปทานในรูปแบบต่างๆ ค่าเช่าที่ดิน หรือมีผลประโยชน์ร่วมกับกลุ่มทุนที่มักดักซื้อที่ดินก่อนโดนเวนคืนหรือรอราคาพุ่งขึ้นก็ขายต่อเป็นต้น ร่วมทั้งหมดก็เพื่อโกงกินนั้นเอง ส่วนเรื่องไม่จ่ายค่าผ่านทางตามสัญญาให้กับ BEM  นั้นก็เพราะรัฐบาลกลัวเสียคะแนนเสียงจากประชาชนที่อาจจะต้องขึ้นค่าทางด่วน ทำให้ข้อพิพาทที่ยืดเยื้อมานาน  จนสุดท้ายกลายเป็นต้องเสียกว่า แสนล้าน ในที่สุด

 

เปิดโต๊ะเจรจา บรรเทาปัญหาข้อพิพาท

หลังจากที่มีข้อพิพาทกันมาอย่างยาวนานก็มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงมาในวันที่  2 ตุลาคม 2561 ที่มีคำสั่งให้ กทพ. หาแนวทางบรรเทาความเสียหายโดยการไปทำการเจรจาต่อรอง “BEM” หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ กทพ.จ่ายค่าชดเชย  กรณี ภาระหนี้ข้อพิพาททั้ง 17 คดี จาก จำนวน 137,517  ล้านบาท โดย

ผลสรุปคือ   BEM ยอมลดภาระหนี้ข้อพิพาทเหลือ 58,900 ล้านบาท แต่ต้องแลกมาด้วย 4 ข้อกำหนดดังนี้

1.ขยายระยะเวลาสัมปทาน 3 โครงการออกไปอีก 30 ปี โดยแบ่งเป็น

1.1 ทางด่วนขั้นที่ 2 จากเดิมสิ้นสุด 1 มี.ค. 2563 เป็น มี.ค. 2593

1.2 ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนดี จากเดิม เม.ย. 2570 เป็น เม.ย. 2600

1.3ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด จากเดิม ก.ย. 2569 เป็น ก.ย. 2599

โดยทั้ง 3  โครงการนี้ จะอยู่ภายในเงื่อนไขโครงการทางด่วน 2 ชั้น double deck นั้นคือ ไม่ควรนำการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 เหนือทางด่วนปัจจุบัน จากประชาชื่น-อโศก ระยะทาง 17 กิโลเมตร  ที่ BEM จะลงทุน 31,500 ล้านบาท ภายใน 2 ปี หลังโครงการนี้ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

2.ปรับค่าผ่านทางแบบคงที่ในอัตรา 10 บาท ทุก 10 ปี

3.กทพ.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง 60%

4.พื้นที่ใต้ทางด่วนเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทพ.

จากผลเจรจา 4 ข้อดังกล่าวได้เสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.พิจารณาอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2561 จากนั้นให้คณะกรรมการกำกับโครงการพิจารณา และได้มีการยกร่างสัญญาและผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว แค่รอเสนอให้ ครม.ประทับตรา แต่สุดท้ายก็มาติดหล่ม ไม่เดินหน้าที่ กระทรวงคมนาคม

 

ยืดเยื้อ ติดหล่ม ไม่เดินหน้า

การดำเนินงานมาติดหล่มที่ กระทรวงคมนาคม จากสาเหตุที่ นาย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงในเวลานั้น ไม่ยอมนำเสนอ ครม.ในทันที แต่กลับส่งคืนให้ทาง กทพ. จัดทำรายงานชี้แจงเพิ่มหลังอัยการสูงสุดมีข้อสังเกต 6 ข้อ สำหรับชี้แจงแก้ ครม. แต่สุดท้ายทางกระทรวงคมนาคมยุคก็ไม่ยอมเสนอ ครม.

เพราะอาจจะโดนหยิบยกขึ้นโจมตีในสภาได้หลังหมดยุครัฐบาล คสช.  ทำให้ยืดเยื้อมาจน รัฐบาลลุงตู่ 2 ที่ นาย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนปัจุจบันออกมาบอกเลยว่าจะไม่จ่ายค่าโง่ให้ BEM อย่างแน่นอน พร้อมนำทุกคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างกันมาทบทวนหารือใหม่ และพร้อมหาช่องทางต่อสู้คดีไปก่อน ไม่ใช่ว่าจะต้องยอมเอกชนในทุกคดี  ดังนั้นหากรัฐบาลยังยืดเยื้อปล่อยให้นานออกไป เท่าไรดอกเบี้ยที่แพ้คดีเดินทุกวันในอัตราร้อยละ 7 ต่อปีอยู่ดี  ดังนั้นหากรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอเจรายอมลดภาระหนี้ข้อพิพาทก็ควรรีบจบและจ่ายค่าโง่137,517 ล้านบาทไปเลยถือว่าเป็นค่าโง่ เพราะสุดท้ายยิ่งสู้ก็ยิ่งแพ้  เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ค้างคากันมาอย่างยาวนาน….

สรุปหากรัฐบาลชุดนี้ยังยืดเยื้อตีนิ่งไม่สนใจและต่อสู้คดีต่อและบวกกับคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี เป็นฐาน มูลค่าหนี้จะเพิ่มไปสูงถึง 326,127 ล้านบาท ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกค่าโง่หรือค่าโคตรโง่กันแน่ หากยังไม่มีรัฐบาลไหนกล้าออกมารับมรดกบาปชิ้นนี้กรรมก็ตกมายังประชาชนคนในประเทศชาติเช่นเดิม

เจ้าสัวเจริญ

เจ้าสัวเจริญ ทุ่มทุน 1.2 แสนล้าน  ตั้งเป้า วันแบงค็อก ต้องเป็นเบอร์ 1แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของโลก

 

เจาะผังเมือง อีอีซี  ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กว่า 8.29 ล้านไร่ แต่ละพื้นที่ไหนทำอะไรบ้าง

เจาะผังเมือง อีอีซี  ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กว่า 8.29 ล้านไร่ แต่ละพื้นที่ไหนทำอะไรบ้าง

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก