กทม. ชี้ขยายเวลาเวลาตรวจสอบรายการบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถึง 31 ม.ค.64 เพื่อความปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19

หลังจากที่รัฐบาลได้มีการประกาศเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการติดเชื้อครั้งใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ภาครัฐต้องเริ่มที่จะออกมาตรการดูแลประชาชนในเรื่องของสุขอนามัยมากขึ้น ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงการประกาศขยายเวลาตรวจภาษีบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จากเดิมจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2563 เป็นสิ้นเดือนมกราคม 2564 เพื่อให้ประชาชนสามารถทยอยเดินทางมาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้อย่างไม่เร่งรีบ และไม่สร้างปัญหาความแออัดที่อาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มาตรา 26 และมาตรา 30 ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2562 ข้อ 23 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจ จัดทำ และประกาศบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบภายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ประกอบกับจำนวนอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีจำนวนมาก

จึงให้ขยายกำหนดเวลาการจัดทำบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกาศ พร้อมทั้งจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบ จากภายในเดือนธันวาคมเป็นภายในเดือนมกราคม 2564 จึงขอแจ้งให้ประชาชนทราบ และไม่ต้องเร่งรีบไปตรวจสอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ขอให้ทยอยกันไปตรวจสอบ และอย่ารีรอจนถึงใกล้สิ้นสุดกำหนดเวลาแล้วจึงเดินทางไปตรวจสอบ เพราะจะทำให้เกิดความแออัดเช่นกัน

06_บัญชีที่ดิน (1)ภาษีบัญชีที่ดินคืออะไร ?

หลังจากที่ได้ทราบถึงการประกาศขยายเวลาเพื่อใช้ในการตรวจสอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันไปแล้ว คราวนี้ลองมาทำความรู้จักกับความหมายของภาษีบัญชีที่ดินกันดูบ้าง ลองมาทำความรู้จักกับภาษีบัญชีที่ดินว่าคืออะไรกัน

ภาษีที่ดินหรือภาษีบัญชีที่ดิน คือ ภาษีใหม่ที่ใช้แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือน-ที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของความรวยและความจน การแก้ไขปัญหาที่ดินรกร้างให้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับผู้มีหน้าที่จัดเก็บ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ทั้งนี้ภาษีที่ดินใหม่นี้จะจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครองโดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี

ทรัพย์สินใดบ้างที่ต้องเสียภาษีบัญชีที่ดิน ?

สำหรับการแบ่งประเภทของทรัพย์สินต้องเสียภาษีบัญชีที่ดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทตามประโยชน์ใช้สอย ดังนี้

  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินทำเกษตรมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ซึ่งใช้ในการทำการเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น ทำนา ทำไร่ หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยจะมีมูลค่าทรัพย์สินเริ่มต้นที่ 0 – 75 ล้านบาท คิดอัตราภาษีเป็น 0.01% ไปจนถึงมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะคิดอัตราภาษี 0.1 % (ภาษี ล้านละ 100 บาท)
  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่อยู่อาศัยหลังแรกมูลค่าเกิน 50 ล้านบาทหรือเป็นเจ้าของบ้านแต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท และผู้มีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 โดยหากมีมูลค่าทรัพย์สินเริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.02% (ภาษี ล้านละ 200 บาท)

3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1. และ 2. ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ในครอบครองและใช้เพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร เช่น การปล่อยเช่า ฯลฯ จะต้องเริ่มเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษีที่ 0.3% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)

4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามความแก่สภาพ  ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งร้างไว้ ไม่ได้นำมาทำประโยชน์อะไร โดยหากมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท จะคิดอัตราภาษีร้อยละ 0.3% และหากมีมูลค่าหลักทรัพย์ ตั้งแต่ 51 ล้านบาท ไปจนถึงมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นได้ จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.7% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/property/news-583835
https://www.prachachat.net/property/news-592661
https://www.thansettakij.com/content/property/463994