กระแสคอนโดมิเนียมแผ่วลุ้นดันของเก่าขายเพื่อปิดโครงการ

ในปีนี้กระแสความต้องการของคอนโดมิเนียมดูจะแผ่วๆลงไป ด้วยเพราะสภาวะหลายอย่างที่เป็นปัจจัยให้เกิดการชะลอตัว และ รวมทั้งโครงการคอนโดมิเนียมนั้นเริ่มล้นตลาด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคอนโดระดับไฮเอนท์ หรือ คอนโดสำหรับตลาดกลางและตลาดล่าง

ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้จาก ตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีคอนโดมิเนียมผุดขึ้นแทบจะตลอดสาย มองไปทางไหนก็จะเจอตึกสูงๆ ไม่เว้นแม้แต่ชานเมืองหรือตามตรอกซอกซอยต่างๆ และ หลายๆโครงการมีสภาพแวดล้อมที่ดูแล้วจากคอนโดราคาแพงกลายเป็นคอนโดรูหนู หรือ มีการเร่งการก่อสร้างทำให้ภายหลังเริ่มมีปัญหาซึ่งมีหลายๆโครงการที่โดนลูกค้าฟ้องร้องในเรื่องต่างๆ และด้วยปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ ทำให้คอนโดมิเนียมเหมือนจะหยุดชะงักไปโดยฉับพลัน และ แนวโน้มที่คอนโดเริ่มล้นตลาด ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มหันมาทำที่อยู่อาศัยแนวราบ อย่างโครงการบ้านทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว ที่ดูเหมือนจะเริ่มกลับมาคึกคัก ส่วนคอนโดมิเนียมนั้นก็เริ่มเกิดปัญหาค้างสต๊อกบางโครงการมีห้องเหลือขายเป็นจำนวนมากทำให้หลายๆแห่งต้องออกมาอัดแคมเปญต่างๆลดแลกแจกแถมกันมากขึ้น ทำให้เริ่มมีการหยุดการเปิดโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ๆ หันมาปรับกลยุทธ์การขายดันของเก่าเพื่อให้ปิดโครงการได้ ไม่ว่าจะเป็นคอนโดเมือง หรือ ต่างจังหวัด ต่างประสบปัญหาเดียวกัน มีหลายๆแห่งเน้นกลยุทธ์การดึงลูกค้าทั้งส่วนลด ทั้งแถม พร้อมการดูแลปล่อยเช่าให้เจ้าของห้อง หวังให้ลูกค้าซื้อทำกำไร หากเปรียบเทียบจากปีก่อนๆที่ผ่านมานั้น คอนโดมีการเติบโตและเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากกว่าที่อยู่อาศัยในแบบอื่นๆ ซึ่ง

นายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ได้ศึกษาและเก็บข้อมูลตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ และ นำเสนอในรายงานเรื่องการเติบโตอย่างร้อนแรงของตลาดคอนโดมิเนียมฟองสบู่จริงหรือต่อเนื่องจากปีก่อน ล่าสุดเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา เก็บข้อมูลตลาดคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จแล้วในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 52 โครงการ รวม 12,657 ยูนิต จำนวนนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดแล้วและรับบริหารอยู่  ซึ่งในความเป็นจริงนั้น พบว่าห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วนี้มีการเข้าพักอาศัยจริงถึง 82% (โดย 2 ใน 3 คือเจ้าของอาศัยอยู่เอง ที่เหลือคือผู้พักอาศัยที่เป็นผู้เช่า) นอกจากนี้ จำนวนห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วที่เหลืออีก 18% นั้น ยังไม่มีผู้เข้าอาศัย คาดว่าเป็นห้องที่อยู่ระหว่างการตกแต่งรอการขายต่อหรือการเช่า

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันรูปแบบของความต้องการคอนโดมิเนียมนั้นเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า และ จากการที่คอนโดเริ่มล้นตลาดจึงทำให้ต้องมีการขายในแบบที่ผู้ประกอบการต้องลดกำไรจากการขายลงไป ทำให้คนที่มีฐานะหรือพอจะซื้อได้เริ่มหันกลับมาซื้อเพื่อเก็งกำไรเพิ่มขึ้นหรือทำรายได้จากการเช่านั่นเอง

 

ข่าวและบทความข้างต้นนี้จัดทำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการส่งข่าวเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]