ครึ่งปีหลังยังไม่ดี ผู้ประกอบการอสังหากำไรหายกว่า 50%

เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 ปี 2563 สถานการณ์ของผู้ประกอบการอสังหาก็ยังคงไม่ฟื้นตัวกลับมา โดยรายงานของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้มีการระบุถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี 2563 พบว่าลดลงถึง 6.9% โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยตรง ทำให้เศรษฐกิจลดลงต่ำสุดถึง 12.2%

แม้แต่ล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ก็ยังออกมายืนยันสถานการณ์ที่น่ากังวลใจสำหรับผู้ประกอบการอสังหาด้วยตัวเองผ่านทวิตเตอร์ โดยบอกว่า ‘ถ้าใครบอกว่าตลาดอสังหาฯ ยังไปได้ คนนั้นพูดไม่จริงแน่นอน ทุกวันนี้แสนสิริยอดโอนสูงเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่เพราะตลาดดี แต่เราจัดโปรโมชั่นเพื่อเร่งขาย เร่งโอน เพราะอยากได้เงินสดในการรับมือ worst case scenario’ ซึ่งการออกมาทวีตด้วยตัวเองของผู้ประกอบการอสังหาระดับบิ๊กแบรนด์แบบนี้ ก็ทำให้ความน่ากังวลใจที่เคยคลุมเครือของสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผลประกอบการอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการอสังหาใน บมจ. กำไรหายกว่า 50%

ในขณะเดียวกัน นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือของ แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยผลวิจัยของผลประกอบการอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ในตอนไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการอสังหาหลายรายต้องแบกรับการะต้นทุนทางการเงินสูง จนหลายค่ายอยู่ในสภาวะที่เรียกว่าหลังผิงฝา ทำให้ต้องเร่งระบายสต็อกเพื่อดึงกระแสเงินสดเพื่อความบริหารกิจการให้คล่องตัว

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการอสังหาส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญอยู่ คือการมีสต็อกคงค้าง โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่และยังไม่มีการโอนเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อเร่งให้เกิดการโอนจึงเกิดแคมเปญการตลาดโดยการแข่งขันกันด้านราคา ซึ่งทำให้พบเห็นโครงการที่อยู่อาศัยพร้อมอยู่ถึง 20-50% พร้อมโปรโมชั่นอื่นๆ เช่น อยู่ฟรี 2-3 ปี, การยกเว้นค่าส่วนกลาง เป็นต้น

Selective focus. Design and architecture. Cropped shot of African architect holding digital tablet, developing new real estate project, sitting at desk with architectural tools and scale model house

 

การทำสงครามราคาเพื่อแลกมากับกระแสเงินสดเข้าบริษัท ทำให้ผลประกอบการรวมของผู้ประกอบการอสังหาในตลาดหลักทรัพย์กว่า 36 บริษัท ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่มีการแข่งขันกันทำสงครามราคาอย่างหนัก มีรายได้รวมกันทั้ง 36 บริษัท 72,822.65 ล้านบาท รายได้เพิ่มขึ้น 19.27% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่หากมาลองดูในด้านกำไรสุทธิของผลประกอบการแล้ว พบว่ากำไรจากของผู้ประกอบการอสังหานั้นลดลงอย่างชัดเจน โดยกำไรสุทธิรวมทั้ง 36 บริษัท มีกำไรสุทธิรวม 4,191.53 ล้านบาท ซึ่งลดลงถึง 53.34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562

นอกจากนั้นบริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด ยังเปิดเผยว่ายังคงมีอุปทานคงค้างเมื่อครึ่งปี 2563 จำนวนถึง 216,576 ยูนิต โดยคาดว่าหากพ้นสิ้นปี 2563 จะมีหน่วยคงค้างอยู่ที่ 225,000 ยูนิต ซึ่งจำต้องใช้เวลาในการระบายอุปทานคงค้างประมาณ 39 – 42 เดือน หรือประมาณ 3-4 ปี ในอัตราการขายเฉลี่ย (Absorption Rate) ประมาณ 5,3000 – 5,550 ยูนิตต่อเดือน

ซึ่งหากลองมาดูอุปทานคงค้างสำหรับที่อยู่อาศัยแนวราบ พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 มีหน่วยเหลือขาย 126,015 ยูนิต โดยคาดว่าจะมีอุปทานคงค้างอยู่ในระบบรวม 134,400 ยูนิต โดยอัตราการขายเฉลี่ย (Absorption Rate) ประมาณ 3,000 – 3,100 ยูนิต ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาระบายอุปทานคงค้างถึง 4 – 4.5 ปี และสำหรับตลาดคอนโดมิเนียม มีอุปทานคงค้างประมาณ 90,561 ยูนิต ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการระบายอุปทานคงค้างถึง 50 เดือน และคาดว่าในสิ้นปี 2563 นี้จะมีอุปทานใหม่เพิ่มเข้ามาในตลาดอีก 20,000 ยูนิต

จากสถานการณ์ที่ต้องเร่งระบายอุปทานคงค้างพร้อมทั้งยังต้องรองรับอุปทานใหม่ที่จะเข้ามาในตลาด ทำให้คาดว่าการทำสงครามราคานั้นยังจะคงดำเนินต่อไป และในส่วนของรายได้รวมของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะมีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยคาดว่าจะมีรายได้รวม 310,000 – 330,000 ล้านบาท โดยลดลงจากปีก่อนประมาณ 20-30% ซึ่งคาดว่าในช่วงปีหน้า สถานภารณ์ก็อาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวเมื่อไร ต้องพิจารณาจาปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา:

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/895052