เนรมิต 10 ที่จอดแนวรถไฟฟ้า แก้วิกฤติรถติดกรุงเทพ

ที่จอดรถติดรถไฟฟ้า

คมนาคมจับมือมหาดไทย กทม.เนรมิต 10 ที่จอดรถติดแนวรถไฟฟ้า แก้วิกฤติจราจรในกรุงเทพฯ นำร่องเปิดให้บริการแล้ว 3 สถานี ที่สถานีตลิ่งชันบางบำหรุ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเปิดเพิ่มอีก 2 ในปี 62 พร้อมสั่ง สนข. ถกภาคเอกชนทำที่จอดรถร่วมด้วยช่วยกันและเดินหน้าเปิด 5 แผน เร่งด่วน ทั้งปรับเส้นทางรถเมล์วิ่งชัตเตอร์บัส เปิดซอยทะลุเพิ่มเรือด่วนช่วยแก้ปัญหารถติดอีกแรง

ที่จอดรถติดรถไฟฟ้า  แก้วิกฤติรถติดกรุงเทพ

ที่จอดรถติดรถไฟฟ้านายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมแผนก่อสร้างที่จอดรถใต้ดิน และที่จอดรถเพื่อการท่องเที่ยวว่าตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงคมนาคมกระทรวงมหาดไทย(มท.) และ กรุงเทพมหานคร(กทม.) ดำเนินการจัดทำที่จอดรถสาธารณะให้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วว่า จะจัดทำที่จอดรถรวม 10 แห่ง ประกอบด้วย 1.บริเวณถนนราชดำเนินหน้ากองทัพ

ภาคที่ 1 และ 2.บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการซึ่งทั้ง 2 จุดนี้ เป็นที่จอดรถแบบใต้ดินรับผิดชอบ โดย กทม.ซึ่งจอดได้ทั้งรถทัวร์และรถยนต์ ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างขอรับจัดสรรงบประมาณการก่อสร้างวงเงิน 3,049 ล้านบาท

ส่วนอีก 8 แห่งนั้นกระทรวงคมนาคมเป็นผู้เสนอให้มีการจัดที่จอดรถเพิ่มบริเวณแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แก่ 1.สถานีบางขุนนนท์ 2.สถานี

ตลิ่งชัน 3.สถานีบางบำหรุ 4.สถานีหลักสอง 5.สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 6.สถานีกลางบางซื่อ 7.สถานีภาษีเจริญ และ 8.สถานีเจริญนคร

ที่จอดรถติดรถไฟฟ้าสำหรับจุดจอดรถที่เปิดให้บริการแล้วประกอบด้วยสถานีตลิ่งชันวงเงินก่อสร้าง 579 ล้านบาท จอดรถยนต์ได้ 110 คัน, สถานีบางบำหรุวงเงินก่อสร้าง 725 ล้านบาท จอดรถยนต์ได้ 310 คันและสถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ส่วนที่จะเปิดให้บริการภายในปี 62 คือ สถานีหลักสองวงเงินก่อสร้าง 531 ล้านบาท จอดรถยนต์ได้ 1,024 คัน ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน(สถานีกลางบางซื่อ)วงเงินก่อสร้าง 1,410 ล้านบาท จอดรถยนต์ได้ 1,700 คัน

ส่วนสถานีภาษีเจริญจะเปิดให้บริการในปี 63 และสถานีบางขุนนนท์, สถานีเจริญนครเปิดให้บริการปี 64 ทั้งนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เร่งเตรียมการบริหารที่จอดรถที่สถานีกลางบางซื่อ โดย รฟท.จะบริหารเองหรือให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการเพื่อให้สามารถเปิดบริการที่จอดรถได้ทันที เมื่อเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อปี 63 ขณะที่สถานีหลักสองการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จะเป็นผู้บริหารเอง ซึ่งได้เตรียมพื้นที่จอดไว้แล้ว หากเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-บางแค ปี 62 ก็สามารถให้บริการได้ทันที

นายพีระพล กล่าวต่อว่า ได้มอบให้ฝ่ายเลขาไปหารือกับ รฟม. และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อพิจารณารายละเอียดการก่อสร้างที่จอดรถที่สถานีบางขุนนนท์ให้ชัดเจนว่า สามารถก่อสร้างที่จอดรถเป็นอาคารสูง 5 ชั้นได้หรือไม่ เพราะพื้นที่เดิมเป็นเพียงที่จอดรถระดับพื้นดินเท่านั้น หากทำได้อาจต้องปรับวงเงินก่อสร้างด้วย ขณะเดียวกันได้มอบให้ สนข.เร่งรัดจัดประชุมเพื่อหาแนวทางที่จะร่วมมือกับภาคเอกชนในการทำที่จอดรถร่วมกับห้างสรรพสินค้า ได้แก่ สถานีเจริญนครกับห้างฯไอคอนสยาม, สถานีภาษีเจริญกับห้างฯซีคอนสแควร์บางแค และสถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์กับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

สำหรับการใช้บริการที่จอดรถสาธารณะนั้น8 จุดเบื้องต้นอาจให้บริการฟรี..!!!

“ทุกเรื่องต้องเร่งสรุปเพื่อนำไปหารือกับ กทม.ในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) พิจารณา อย่างไรก็ตาม สำหรับการใช้บริการที่จอดรถสาธารณะนั้น ในส่วนของคมนาคม 8 จุดเบื้องต้นอาจให้บริการฟรีแต่ในระยะถัดไปอาจเก็บค่าบริการในอัตราที่ถูกกว่าที่จอดรถของภาคเอกชนทั่วไป”

นายชัยวัฒน์ ทองคำ คูณผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวถึงมาตรการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลว่า ยอมรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าพร้อมกันหลายสาย ส่งผลกระทบต่อปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สนข.จึงออก 5 มาตรการเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.บริหารการใช้พื้นที่ก่อสร้างให้เกิดประโยชน์และให้กระทบพื้นที่จราจรให้น้อยที่สุด 2.ปรับเพิ่มเส้นทางรถเมล์ในเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า หากเส้นทางไหนมีทางด่วนหรือออกมอเตอร์เวย์ได้ให้เปลี่ยนเส้นทางใช้ทางดังกล่าว 3.จัดบริการรถชัตเตอร์บัสเพื่อรับส่งจากชุมชน 4.จัดเรือโดยสารด่วนพิเศษให้บริการในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน 5.เปิดทะลุซอยตันให้เชื่อมถนนหลัก เพื่อช่วยจัดระบบจราจรและเร่งระบายรถ และคนในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็น

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ