ปารีณา ตัวแทน ความแตกต่าง คดีรุกที่ดินของคนจนกับนักการเมือง

กว่าหนึ่งเดือนหลังจากมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบที่ดินเขาสนฟาร์มของ น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ใน ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี วันที่ 2 ธ.ค. 2562 กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ น.ส.ปารีณา ต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการป้องกันปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส ) ข้อหาบุกรุก แผ้วถางและยึดครองพื้นที่ป่า

ปารีณา

ปารีณา ตัวแทน ความแตกต่าง คดีรุกที่ดินของคนจนกับนักการเมือง

วามเคลื่อนไหวของกรมป่าไม้ มีขึ้นในขณะที่การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการปฏิบัติ “สองมาตรฐาน” ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กำลังคุกรุ่น เนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่เคยถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าตั้งคำถามว่าเหตุใดการดำเนินคดีนักการเมืองจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่ชาวบ้านกลับถูกตั้งข้อหาอย่างง่ายดาย และหลายรายถูกตัดสินจำคุกไปแล้วด้วยซ้ำ แม้ที่ดินที่ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกจะมีขนาดเล็กกว่ามากและแม้ชาวบ้านจะยืนยันว่าครอบครองที่ดินมาก่อนการประกาศเป็นเขตป่าอนุรักษ์ก็ตาม

ปารีณา ไกรคุปต์ : ส.ป.ก.-กรมป่าไม้ บอก ใกล้ได้ข้อสรุป ฟาร์มไก่ 1,700 ไร่ รุก-ไม่รุกที่ป่าสงวน

“เหมือนจะฆ่าคนจนให้ตาย” “มันสองมาตรฐานชัดเจน” บางประโยคที่ชาวบ้านซึ่งถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าระบายความรู้สึกกับบีบีซีไทย

ดังนั้น แม้กรมป่าไม้จะเดินหน้าเอาผิด ส.ส.ปารีณา ในวันนี้ แต่ดูเหมือนว่าความขับข้องใจที่ “คนจน” มีต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่จะไม่ได้คลี่คลายลง บีบีซีไทยพูดคุยกับชาวบ้าน 2 คนที่ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐ คนหนึ่งเพิ่งได้รับการประกันตัวออกมาจากคุกได้ไม่นาน อีกคนหนึ่งจะต้องขึ้นศาลฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ ว่าพวกเธอรู้สึกอย่างไรต่อคดีที่ดินของนักการเมือง

 

ชาวบ้านไทรทอง : ทำไมเพิ่งมาตรวจสอบ ?

หนึ่งในกรณีที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับคดีที่ดินของ น.ส. ปารีณา คือ กรณีชาวบ้านไทรทอง อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ จำนวน 14 คน ถูกศาลตัดสิน ตัดสินจำคุกตั้งแต่คนละ 5 เดือน ถึง 4 ปี พร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหลายแสนบาท จนถึงสูงสุด 1.5 ล้านบาท หลังอุทยานแห่งชาติไทรทองฟ้องร้องดำเนินคดีจากนโยบายทวงคืนผืนป่าจากคำสั่ง คสช. เมื่อปี 2557 นิตยา ม่วงกลาง หญิงชาวบ้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินและชาวบ้านรวม 13 คน เดินเข้าเรือนจำชัยภูมิจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยนิตยาอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 2 เดือน กว่าที่เธอจะได้รับการประกันตัว

ปารีณา

รูปจากสำนักข่าวปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ก่อนศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ในคดีของนิตยา ม่วงกลาง ชาวบ้านได้จัดให้มีการผูกข้อมือเพื่อส่งกำลังใจแก่ผู้ต้องคดี

 

นิตยา ซึ่งถูกดำเนินคดีจากการทำกินบนที่ดินจำนวน 10 ไร่ ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างในการปฏิบัติที่ชาวบ้านได้รับจากการตรวจสอบที่ดินเพื่อทวงคืนผืนป่า “บอกว่าทวงคืนผืนป่ากับนายทุน ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ยากจนยากไร้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดกับคนยากจนที่ถือครองที่ดิน บางคนไม่ถึง 10 ไร่ พอ 1,700 ไร่ ขึ้นมาเป็นข่าว ทำไมไม่ตรวจสอบตั้งแต่ปี 57 ทำไมต้องมาตรวจสอบเพราะคำพูดของคุณปารีณาเอง”

ชาวบ้านชุมชนซับหวายร้องเรียนสิทธิในที่ทำกินตาม มติ ครม. มาตั้งแต่ปี 2555-2556 จนมีการตั้งคณะทำงาน แต่กระบวนการนี้ก็ถูกล้มกระดานในปี 2557 เมื่อมีคำสั่ง คสช. เรื่องนโยบายทวงคืนผืนป่าออกมา ทำให้ไม่เกิดการพิสูจน์สิทธิจนนำมาสู่การดำเนินคดีกับชาวบ้าน 14 ราย

ปารีณา

รูปจากสำนักข่าวปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ชาวบ้านบ้านซับหวายหรือ “ชาวบ้านไทรทอง” 14 คน ถูกพิพากษาจำคุกทั้งหมด แต่รอลงอาญา 1 คน

“เขา (ปารีณา) ร้องให้มีการรังวัดที่ดินใหม่ เขาก็ได้รับสิทธิ แต่ของชาวบ้านแค่ตรวจสอบสิทธิข้อพิพาท ร้องมาตั้งแต่ปี 2556 เรายังไม่เคยได้รับสิทธินั้น” นิตยากล่าว แม้ว่าข้อยกเว้นในคำสั่ง คสช. จะระบุชัดว่าไม่ให้ดำเนินการกับผู้ยากไร้ แต่คดีความยังเกิดกับชาวบ้าน เนื่องจากรัฐบอกว่า ชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านซับหวายต่อสู้มาโดยตลอด จนกระทั่งศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ตัดสินไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา และชาวบ้านต้องเดินเข้าเรือนจำ แต่ผลสรุปของคณะทำงานเพิ่งตรวจสอบเสร็จออกมาเมื่อวันที่ 10 ต.ค. ว่าชาวบ้านทั้ง 14 คน เป็นผู้ยากจนยากไร้ “กระบวนการพวกนี้มันไม่ได้ช่วยให้เราพ้นผิดจากการเข้าไปอยู่เรือนจำ เราถูกประกันตัวในชั้นฎีกา จะได้รับอิสรภาพไหม เราก็ยังไม่รู้ว่าศาลฎีกาจะตัดสินออกมาอย่างไร”

 

ชาวบ้านแม่กวัก : ใครก็ดูออกว่านี่คือสองมาตรฐาน

วันหนึ่ง ยาวิชัยป้อม วัย 52 ปี เป็นชาวบ้านแม่กวัก ต.บ้านอ้อน อ.งาว จ.ลำปาง เธอถูกเจ้าหน้าที่หน่วยงานพิทักษ์ป่าที่ 13 (แม่โป่ง) ยึดสวนยางพารา 10 ไร่ พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหา “ร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต” เหตุเกิดเมื่อเดือน ก.ย. 2561 และศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ นางวันหนึ่งบอกกับบีบีซีไทยว่า ที่ดินผืนนี้เธอได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ครอบครัวของเธอใช้ทำกินมาตั้งแต่ก่อนทางการจะประกาศให้ที่ตรงนี้เป็นป่าสงวนแห่งชาติแม่โป่งเมื่อปี 2514 เสียอีก ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2558 เธอถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้สั่งให้โค่นต้นยางทิ้งทั้งหมด ทำให้เธอถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว และยังไม่มีเงินมาใช้หนี้ที่กู้มาลงทุนปลูกยาง

“เราไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นแล้ว สวนยางนี่เป็นสิ่งสุดท้ายที่จะใช้หาเงินส่งลูกเรียน ลูกขอเงินไป รร.วันละ 50 บาท ก็ยังแทบไม่มีให้” เธอเล่าด้วยเสียงสั่นเครือ

รูปจากมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เมื่อปี 2558 วันหนึ่ง ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้สั่งให้โค่นต้นยางทิ้งทั้งหมด ต่อมาในปี 2561 เจ้าหน้าที่หน่วยงานพิทักษ์ป่าที่ 13 (แม่โป่ง) ได้ยึดสวนยางพารา 10 ไร่ พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินป่าสงวน

เมื่อถูกสั่งห้ามทำกินในที่ดิน เธอจึงเปลี่ยนไปทำงานรับจ้าง แต่สุดท้ายรายได้ก็ไม่เพียงพอจะส่งลูกทั้งสองเรียน เด็ก ๆ ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้น ม.3 เมื่อถามถึงคดีที่ดินของ ส.ส.ปารีณา วันหนึ่งตอบอย่างรวดเร็วว่า “มันเหลื่อมล้ำกันเกินไป พอคดีของเรา เจ้าหน้าที่ทำอย่างรวดเร็วมากเลย เราเคยไปคุยกับเจ้าหน้าที่ เขาบอกว่าถ้าผมยกเว้นคุณ ก็เท่ากับว่าผมทุบหม้อข้าวของตัวเอง รัฐบาลบอกว่านโยบายทวงคืนผืนป่าต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็นคนจนหรือเป็นนายทุน แต่นี่เขาไม่ตรวจสอบเลย เขาเร่งดำเนินคดีมากเลย สั่งให้เราตัดต้นยาง เป็นคนจนมันอยู่ยาก”

“มันสองมาตรฐานจริง ๆ ใคร ๆ ก็มองออก เหมือนเขาจะฆ่าคนจนให้ตาย ถ้ากับคนจนนี่เขาเอาเป็นตายเลย ไม่กี่วันก็ดำเนินคดีจับเข้าคุกแล้ว ใช้เวลาไม่ถึงอาทิตย์ แต่คนมีอันจะกินอย่างปารีณา ทำไมปล่อยทิ้งไว้มานานโดยไม่ทำอะไร” วันหนึ่งตั้งคำถาม

 

อธิบดีกรมป่าไม้ยัน “ไม่ได้มีหลายมาตรฐาน”

ในการแถลงข่าววันนี้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ระบุว่า จากตรวจสอบที่ดินเขาสนฟาร์มของ น.ส.ปารีณา พบว่ามีการรุกล้ำที่ป่าสวนแห่งชาติ ป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี 30 ไร่ และอยู่ในแนวเขตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 อีก 16 ไร่ รวมบุกรุกป่า 46 ไร่ กรมป่าไม้จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ บก.ปทส. ในความผิด 3 ข้อ คือ

  1. ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า เข้ายึดถือและครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตตามความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54
  2. ยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถางทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยมิได้รับอนุญาต ตามความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14
  3. 3.เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่อสร้าง เผาป่า ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินในที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 และถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 97

นอกจากนี้นายอรรถพลยังได้ชี้แจงข้อกล่าวหาจากภาคประชาชนที่มองว่ากรมป่าไม้ดำเนินคดีกับคนจนแต่ละเว้นคนรวยว่า กรมป่าไม้ไม่ได้ประวิงเวลา ไม่ได้มีหลายมาตรฐาน และไม่ได้ปฏิบัติต่อ น.ส.ปารีณาแตกต่างจากประชาชนทั่วไปที่จะต้องถูกตรวจสอบเรื่องการบุกรุกถือครอบครองที่ดินป่าไม้

“ประชาชนทุกคนที่ถูกตรวจสอบเรื่องของการครอบครองที่ดิน ทุกคนมีสิทธิที่จะแย้งสิทธิ มีสิทธิที่จะยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม หรือมีสิทธิที่จะคัดค้านนะครับ…เราไม่ได้มีการประวิงเวลาหรือจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้หนึ่งผู้ใด เรายังคงมาตรฐานเดิมในการบังคับใช้กฎหมายตามแผนหยุดยั้งการทำลายป่าและฟื้นฟูป่า”

อธิบดีกรมป่าไม้ยืนยันด้วยว่า เจ้าหน้าที่ใช้เวลา “ไม่ถึงอาทิตย์” ในการตรวจสอบและร้องทุกข์กล่าวโทษ

 

“ทวี” ออกโรงแทนลูกสาว

ช่วงหนึ่งของการแถลงข่าว นายทวี ไกรคุปต์ พ่อของ น.ส.ปารีณา และอดีต ส.ส.ราชบุรีหลายสมัย ซึ่งร่วมฟังการแถลงข่าวอยู่ด้วย ได้ลุกขึ้นขอให้นายอรรถพลชี้แจงเพิ่มเติมถึงการได้มาซึ่งข้อสรุปว่าที่ดินของครอบครัวไกรคุปต์บุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งนายอรรถพลจึงสรุปให้ฟังว่า

“เราดูเรื่องนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน พื้นที่ฟาร์มไก่ทั้งหมดมีอยู่ 3 ส่วน พื้นที่ส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 600 ไร่ อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. ส่วนที่สองอยู่ในเขตป่าพื้นที่ประมาณ 46 ไร่ โดยแบ่งเป็นส่วนที่อยู่ในเขตป่าสงวนตามพระราชกฤษฎีกา 41 ไร่เศษ ที่เหลืออยู่นอกเขตป่าสงวน ซึ่งพื้นที่ตรงนั้นไม่มีเอกสารสิทธิ์ จึงถือว่าอยู่ในพื้นที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ประมาณ 4 ไร่เศษ ๆ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างนี้แล้วก็คงไม่มีวิถีทางอื่นที่จะต้องดำเนินการ เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการไปตามนั้น แต่ในชั้นกระบวนการยุติธรรมก็ไปต่อสู้ในชั้นนั้นได้ ต้องขออนุญาตกราบเรียนด้วยความเคารพ” อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวตอบนายทวี

ปารีณา

นายทวียังได้พูดถึงลูกสาว คือ น.ส.ปารีณาว่า เขาไม่สามารถติดต่อปารีณาได้เลย หลังจากที่มีข่าวว่าเธอจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับนักเคลื่อนไหว 2 คนที่กล่าวหาว่าเธอบุกรุกป่าและ ส.ป.ก. รวมทั้งอาจจะฟ้องร้องอธิบดีกรมป่าไม้ด้วย โดยนายทวีบอกผ่านสื่อมวลชนไปถึงลูกสาวของตัวเองว่าอย่าฟ้องอธิบดีกรมป่าไม้เลย

“ผมยังไม่เจอลูกสาวผมเลยครับ…ผมอยากจะบอกลูกสาวของผมว่า อย่าไปฟ้องอธิบดีกรมป่าไม้เลยลูก เขาทำหน้าที่ตามกฎหมาย บอกทนายความด้วย อย่าไปฟ้องเขาเลย เราหาหลักฐานมาสู้คดีนี้จะดีกว่า…ถ้าทนายเขาจะยุให้ลูกฟ้อง ถ้าลูกฟ้องแล้ว เขาก็ได้เงินค่าทนาย แล้วท่านอธิบดีอาจจะฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จอีก ทนายก็จะได้เงินจากลูกอีก อย่าไปฟังทนายของลูกมาก ขอให้ฟังพ่อ”

 

นายทวีบอกว่าลูกสาวของเขา “เป็นคนที่เชื่อมั่นในตัวเองสูง”

“ผมรู้สึกว่าคิดผิดที่ส่งให้ลูกทั้งสามคนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่เขาอายุ 11 ขวบ ตั้งแต่ไฮสกูล อยู่อเมริกา 14 ปี จนจบปริญญาโทให้เรียนหนังสืออย่างเดียวไม่ให้ทำงาน กลับมาเมืองไทยปี 2547 เพื่อให้ลง ส.ส. เขายังพูดไทยไม่ค่อยจะชัดเลย แต่พูดภาษาอังกฤษแอคเซนต์ดีมาก เขาเป็นเด็กแบบเด็กอเมริกัน เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ฟังใคร แม้พ่อแม่ก็ไม่เชื่อ เป็นบทเรียนของผม ก็ฝากสังคมไปคิดไว้ด้วย”

 

ร.อ.ธรรมนัส พร้อมยึดที่ ส.ป.ก. จากนายทุน

ในที่ประชุมวุฒิสภาวันนี้ (2 ธ.ค.) นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภาได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแก้ปัญหาเรื่องที่ดิน ส.ป.ก.ตกอยู่ในมือของนายทุนและผู้มีอิทธิพล

ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งเป็น ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เช่นเดียวกับ น.ส.ปารีณา กล่าวว่าคนที่จะได้สิทธิ์ใช้ประโยชน์พื้นที่ ส.ป.ก. จะต้องเป็นเกษตรกร เป็นผู้มีรายได้น้อย จบการศึกษาด้านเกษตรกรรม หรือจะต้องเป็นบุตรของเกษตรกร โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่เกิน 50 ไร่ หากไม่มีคุณสมบัติ รัฐมีความจำเป็นต้องยึดคืนสถานเดียวโดยไม่มีข้อยกเว้น

ร.อ.ธรรมนัสยอมรับว่ามีพื้นที่ ส.ป.ก. หลายจังหวัดถูกกลุ่มนายทุน ผู้นำท้องถิ่นนักการเมืองครอบครองเป็นที่ดินแปลงใหญ่จริง โดยเฉพาะใน จ.กระบี่ ที่เขาเพิ่งเดินทางลงพื้นที่มา ซึ่งเขาคิดว่าเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มนายทุนถือครองที่ดิน ส.ป.ก. มากที่สุดในประเทศไทย และเขาได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการภายใน 180 วัน หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการก็ให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ เขาบอกด้วยว่ารัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยึดที่ 33,343 ไร่ โดยจัดสรรได้เกษตรกรแล้วถึง 20,541 ไร่แล้ว

 

ที่มา ข่าวสด,บีบีซีไทย,มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ,มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

ตกงานกระทรวงแรงงานเตือน 10 อาชีพที่เสี่ยง ตกงาน ในปี 2563

 

 

โคราช

โคราช โตไม่หยุดฉุดไม่อยู่  รับเมกะโปรเจครัฐดึกนักลงทุนเอกชนมากมาย

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก