พลิกเทรนด์ตลาดอสังหาฯ 2564 ด้วยการปรับดีไซน์ที่อยู่อาศัยใหม่เอาใจผู้บริโภค

การปรับตัวให้พร้อมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค New normal นั้นไม่ได้หยุดอยู่แค่สินค้าอุปโภคและบริโภคเท่านั้นนะครับ แม้แต่ที่อยู่อาศัยเองก็ต้องปรับตัวให้เข้ากันกับความต้องการใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้ผู้ซื้อมองหาอสังหาฯ ในมุมมองที่แตกต่างจากเดิม มาดูกันดีกว่าว่า แนวทางไหนบ้างที่อสังหาฯ ควรปรับตัวใหม่ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้บ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ

สรุปสถานการณ์อสังหาฯ ปี 64

ก่อนอื่นขอสรุปสถานการณ์คร่าวๆ ของอสังหาฯ ในปีนี้ก่อนนะครับ โดยเฉพาะรอบการระบาดของโควิด-19 ครั้งที่ 3 มานี้ที่พบว่า น่าจะมีจุดเปลี่ยนอสังหาฯอย่างน้อย 2 ด้านด้วยกัน

ด้านที่ 1 สินค้าบ้านตลาดแมสหรือราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท หายไปจากตลาดอย่างเห็นได้ชัด

โดยพบว่าการเปิดตัวที่อยู่อาศัยใหม่ไตรมาส 1/64 ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล สินค้าราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีเพียง 1,630 หน่วย เกือบทั้งหมดเป็นคอนโดมิเนียม โดยมีจำนวน 1,630 หน่วย สัดส่วน 17% มีมูลค่ารวม 4,808 ล้านบาท สัดส่วน 7% ของตลาดรวม 

ในทางตรงกันข้ามตลาดบนราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป มี 1,310 หน่วย แต่มีมูลค่าสูงถึง 32,454 ล้านบาท สัดส่วน 47% ของตลาดรวม โดยมูลค่าตลาดรวมประจำไตรมาสลดลง 6% จาก 72,953 ล้านบาท เหลือ 68,931 ล้านบาท ประเด็นน่าสนใจอยู่ที่ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยในไตรมาส 1/63 อยู่ที่ 3.924 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 7.311 ล้านบาท ในไตรมาส 1/64

นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่บ้านราคาถูก ๆ ลดน้อยลง แต่บ้านราคาแพง ๆ ยังเติบโตได้ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลางมีโอกาสซื้อบ้านได้น้อยลงมาก เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด ในขณะที่กลุ่มรายได้ค่อนข้างสูงขึ้นไปยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จึงมีอุปทานออกมารองรับมากในไตรมาสแรก

PIC

ด้านที่ 2 เทรนด์ตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน (2562-2564)

เปรียบเทียบไตรมาส 1/64 กับไตรมาส 1/63 จำนวนหน่วยหายไป -49% จาก 18,591 หน่วย เหลือ 9,428 หน่วย โดยมีสถิติเปิดตัวใหม่ไตรมาส 1/64 เมื่อนำมาคำนวณโดยมีส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาด 10% พบว่า ยอดเปิดตัว 9,428 หน่วย จะนำไปสู่เทรนด์ทั้งปีมีหน่วยขาย 60,151 หน่วย ลดลง -18% เทียบกับยอดเปิดตัวใหม่ในปี 2563 ที่มี 73,043 หน่วย 

ซึ่งถ้าเป็นไปตามแนวทางที่ประเมินไว้อาจกล่าวได้ว่า ซัพพลายใหม่ปี 2564 มีเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับปี 2562 ดังนั้น บริษัทพัฒนาที่ดินรายกลาง-รายเล็กคงต้องหาทางถอยไว้รองรับ

3 พฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่อาจเปลี่ยนไปในยุค New Normal 

เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้บริโภคบางกลุ่มเปลี่ยนไปอย่างถาวรในยุค New Normal ดังนี้

การซื้อที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางออนไลน์อาจกลายเป็นช่องทางหลักช่องทางหนึ่ง

สะท้อนจากยอดเข้าชมเว็บไซต์ (Reach) ของผู้พัฒนาอสังหาฯชั้นนำที่เพิ่มขึ้นถึง 40% จาก 8,400 ครั้ง/เว็บไซต์/วัน ในเดือน ม.ค. 2020 ขึ้นมาอยู่ที่ 11,700 ครั้ง/เว็บไซต์/วัน เดือน พ.ค. 2020 ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 

นอกเหนือจากการพัฒนาระบบ online booking แล้ว ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรที่จะนำเทคโนโลยี virtual visits มาใช้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วยการชมโครงการเสมือนจริงผ่านเว็บไซต์ และพัฒนาระบบ back-office ให้ผู้บริโภคสามารถชำระเงินและจัดการเรื่องเอกสารได้ครบถ้วนบนช่องทางออนไลน์

ที่มา: https://www.reviewyourliving.com/news/krungthai-compass-outlook-real-estate-2020-2021-17072020/
ที่มา: https://www.reviewyourliving.com/news/krungthai-compass-outlook-real-estate-2020-2021-17072020/

ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับขนาดของที่อยู่อาศัยมากขึ้น

เนื่องจากผู้บริโภคจะมีกิจวัตรประจำวันที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในที่อยู่อาศัยนานขึ้น โดยเฉพาะการทำงานที่บ้าน (work from home) ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องปกติของผู้บริโภคบางกลุ่ม ภายใต้งบประมาณเท่าเดิม ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจึงมีโอกาสเปลี่ยนจากคอนโดมิเนียมขนาดเล็ก ทำเลในตัวเมือง เป็นคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ บ้านแฝด หรือทาวน์เฮาส์ ในทำเลที่อยู่นอกตัวเมืองมากขึ้น แต่ได้พื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่เป็นการทดแทน 

ดังนั้น การพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการ จึงควรที่จะให้ความสำคัญประเด็นนี้ด้วย เช่น การลดสัดส่วนของห้องประเภท studio และหันมาเพิ่มห้อง one bed plus แทน ในคอนโดมิเนียมบางทำเล หรือหันไปเปิดโครงการบ้านจัดสรรแทนคอนโดมิเนียมบางส่วน เป็นต้น

ผู้บริโภคจะต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง แบบมีพื้นที่ส่วนตัว

ต่อเนื่องมาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ที่ทำให้ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของตนเองมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาที่จะออกแบบพื้นที่ส่วนกลางใหม่ ให้คงไว้ซึ่งจุดขายของโครงการ แต่ก็พร้อมตอบสนองเรื่องความปลอดภัย และสุขภาพของผู้บริโภคไปพร้อมกัน ยกตัวอย่าง เช่น การออกแบบ coworking space ผู้ใช้นั่งกระจายกัน

https://www.marketplus.in.th/content/detail.php?id=6084
https://www.marketplus.in.th/content/detail.php?id=6084

เริ่มเห็นแผนการปรับรูปแบบที่ชัดเจน

จากเทรนด์เหล่านี้ทำให้หลายดีเวลลอปเปอร์เริ่มปรับรูปแบบที่อยู่อาศัยที่กำลังจะเปิดตัวใหม่ให้เข้ากับกระแสมากขึ้น เช่น RK Group เปิดเผยว่า มีการปรับแผนลงทุนสาธารณูปโภคในโครงการ โดยรีดีไซน์พื้นที่ส่วนกลางให้เหลือเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อพยุงค่าใช้จ่ายในระยะยาวของผู้ซื้อบ้านไปด้วย เช่น ตัดการสร้างสระว่ายน้ำออกไป เหลือแต่ฟิตเนสกับห้องเพลย์รูมในสโมสรหมู่บ้าน เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาเพราะในอนาคตอาจเป็นภาระสำหรับลูกค้า

หรืออย่างบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) เองก็มีความกังวลของการ walk มาสำนักงานขายของลูกค้า เพราะฉะนั้น จะมีทีมเซลออนไลน์ที่คอยให้ข้อมูลผ่านทางออนไลน์แทน ถ้าลูกค้าอยากเจอก็ค่อยมาเจอก็เป็นการลดความเสี่ยง เพิ่มการให้ข้อมูลทางออนไลน์แทน เป็นต้น

ที่มา : https://krungthai.com

https://www.prachachat.net/property/news-664048