รัฐบาลตีปี๊บประมูลเมกะโปรเจกท์ จ่อขายซอง รถไฟเชื่อม3สนามบิน

รัฐบาล

รมช.คมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบัน รัฐบาล ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางไปแล้วประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อต้องการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ตลอดจนการลดตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนและตัวเลขสถิติผู้เสียชีวิตทางถนนของประเทศ รวมถึงลดต้นทุนการขนส่งและอัตราการเสียชีวิตตามเป้าหมายของ กระทรวงคมนาคม

รัฐบาล จ่อขายซอง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

รัฐบาล

สำหรับโครงการลงทุนในปีนี้ คาดว่าในเดือนเมษายนนี้ จะมีการขายซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 215,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว ล่าสุดกระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)อยู่ระหว่างถอดแบบ และร่างเอกสารประกวดราคา(TOR) ก่อนเปิดขายซอง

มั่นใจว่าจะเร่งหาเอกชน และลงนามสัญญาในช่วงปลายปี เพื่อเริ่มต้นดำเนินการก่อสร้างต่อไป ส่วนของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-อยุธยา วงเงิน 276,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการและคาดว่าจะเห็นความชัดเจนของโครงการได้ภายในปีนี้

“ในปีนี้ทาง กระทรวงคมนาคมได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันโครงการรถไฟฟ้าในประเทศเพื่อยกระดับไทยให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศพัฒนา ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะที่ 1 จำนวน 10 เส้นทาง และโครงการรถไฟฟ้าในหัวเมืองใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟรางเบา(Tram) จังหวัดเชียงใหม่วงเงิน 100,000 ล้านบาท,โครงการรถไฟรางเบา จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 39,400 ล้านบาท, โครงการรถไฟรางเบา จังหวัดขอนแก่น วงเงิน 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟรางเบา จังหวัดนครราชสีมาด้วย”

ด้าน ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร แนะนำผู้ประกอบการในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างและงานออกแบบ ว่า จะต้องปรับตัวรองรับยุค 4.0 เพื่อสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ โดยเฉพาะการนำระบบออกแบบระบบ 3 มิติ หรือ “BIM” (Building Information Modeling) มาแทนที่ระบบ AutoCAD (Computer Aided Design)ที่เป็นระบบ 2 มิติ ที่ใช้กันมานานแล้ว โดย ขณะนี้ สภาวิศวกร ได้ร่วมมือกับสภาสถาปนิก องค์กรวิศวกรรมการ และภาคเอกชน สนับสนุนใช้ระบบ BIM แล้ว

 

ที่มา naewna.com

 

สนใจข้อมูลข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมจาก Dotproperty คลิ๊ก …