รัฐผนึกกำลังภาคเอกชน โหมจุด “จอดรถ”  โหมจุด เที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์

ผ่านการอนุมัติจาก “คจร.-คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แผนแม่บทจุด “จอดแล้วจร” จำนวน 46 แห่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รองรับรถไฟฟ้า 10 สายทางจะเปิดบริการครบในปี 2572

รัฐ ผนึกกำลังภาคเอกชน โหมจุด “จอดรถ”  โหมจุด เที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์

รัฐ

ขั้นตอนต่อจากนี้ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” จะส่งมอบพิมพ์เขียวให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำไปเป็นแนวทางในการจัดทำจุดจอดแล้วจร ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ในแผนแม่บทจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาจุดจอดแล้วจรไว้ 3 ช่วงตามระยะเวลาการเปิดใช้รถไฟฟ้า

“ระยะเร่งด่วน” ใน 2 ปี เป็นสายทางที่เปิดบริการแล้วกับกำลังสร้างจะแล้วเสร็จปี 2562 มี 17 สถานี ได้แก่ สถานีลาดกระบัง บ้านทับช้าง หัวหมาก-พัฒนาการ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน บางนา เคหะสมุทรปราการ ศรีนครินทร์ บางหว้า วุฒากาศ ตลาดพลู คลองบางไผ่ สามแยกบางใหญ่ บางรักน้อย ท่าอิฐ แยกนนทบุรี ตลิ่งชัน บางบำหรุ หลักสอง รวมมี 10,360 ช่องจอดในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 12,100 ช่องจอดในปี 2569 และ 13,580 ช่องจอดในปี 2574

“ระยะกลาง” ช่วง 3-5 ปี เป็นสายทางสร้างแล้วเสร็จในปี 2563-2565 มี 24 สถานี และ “ระยะยาว” ช่วง 6-12 ปี เป็นสายทางก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566-2572 มี 5 สถานี

ทั้งนี้จากการคาดการณ์ภาพรวมทั้งกรุงเทพฯมีความต้องการจุดจอดแล้วจรรวม 30,000 ช่องจอดในปี 2564 และเพิ่มขึ้น 46.3% เป็น 43,880 ช่องจอดในปี 2574 โดยเสนอโครงการนำร่องเบื้องต้น 3 แห่ง ประกอบด้วย 1.บริเวณสถานีกาญจนาภิเษก รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน 2.ปรับปรุงประสิทธิภาพจุดจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน และ 3.จุดจอดแล้วจรสถานีตลาดพลู รถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า นอกจากนี้ยังให้มีที่จอดแล้วจรสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่เขตพระนคร โดยที่จอดในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ในแนวรถไฟฟ้าพาดผ่าน มี 8 สถานีที่มีความเหมาะสม ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์จุดต่อเชื่อมสายสีน้ำเงิน สีแดงและสีส้ม, สถานีตลิ่งชันกับสถานีบางบำหรุสายสีแดงช่วงบางบำหรุ-มักกะสัน, สถานีหลักสองสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ร่วมกับห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค, สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน, สถานีภาษีเจริญสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายร่วมกับห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค และสถานีเจริญนครของสายสีทองร่วมกับไอคอนสยาม

ด้านการลงทุนทางที่ปรึกษาเสนอ 5 ทางเลือก รัฐลงทุนเองทั้งหมด, ร่วมกันระหว่างรัฐกับรัฐ, รัฐร่วมกับเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ เปิดให้เอกชนลงทุนโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐและหน่วยงานที่รับผิดชอบขอความร่วมมือเปิดพื้นที่จอดรถในศูนย์การค้าใกล้สถานีรถไฟฟ้าเป็นพื้นที่จอดรายเดือน

 

ที่มา prachachat.net

 

สนใจข้อมูลข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมจาก Dotproperty คลิ๊ก …