ศบศ. VS อสังหาฯ ดีเวลลอปเปอร์ กับเรื่องของการขยายสิทธิ์ให้ต่างชาติซื้อคอนโดฯ

เรียกว่าเป็นการดิ้นรนของตลาดอสังหาฯ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐก็ไม่ผิดนักกับการออกนโยบายต่างๆ เข้ามากระตุ้นตลาดอสังหาฯ อย่างการประกาศขยายสิทธิ์เปิดให้ชาวต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในไทยได้เพิ่มขึ้นโดยมีการเสนอเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ อย่างไรก็ตามนโยบายนี้กลับถูกปัดตกไปอย่างรวดเร็วในต้นเดือนกุมภาพันธ์

โดยแต่เดิมมีการเสนอให้ปรับมาตรการเพื่อดึงเอาต่างชาติผู้มีศักยภาพสูง 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง , กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ,กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และ กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ และมีเป้าหมายในการสร้างเม็ดเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มต่างชาติอีก 1 ล้านคนภายใน 5 ปี โดยมีการแก้กฎหมายการถือครองที่ดินและอสังหาฯ ดังนี้

  • ขยายเพดานการถือครองกรรมสิทธิ์คอนโดของต่างชาติจากเดิม 49% เป็น 70-80% 
  • เปิดให้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินราคา 10-15 ล้านบาทได้
  • ขยายสิทธิการเช่าอสังหาฯ จากเดิม 30 ปีเป็นสูงสุด 50ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 40 ปีเป็น 90 ปี

การถกเถียงถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-อสังหาฯ

หลังจากมีนโนบายออกมาก็มีการถกเถียงกันถึงมตรการที่ออกมานั้นสมควรหรือไม่ โดยมีการถกเถียงกันว่าการเข้ามาของต่างชาติอาจทำให้ราคาที่ดินและราคาอสังหาแพงขึ้น ซึ่งก็มีการโต้แย้งกลับว่าตลาดอสังหาฯ สำหรับต่างชาติและตลาดอสังหาฯสำหรับคนไทยนั้นเป็นระดับเซกเมนต์ที่ต่างกัน 

นอกจากนี้ยังมีการออกความเห็นในเรื่องการปรับมาตรการและข้อกำหนดให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของไทยเช่นการจัดโควต้าให้สอดคล้องกับกำลังซื้อที่หายไป การจัดตั้งศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว การแก้ข้อจำกัดการโอนเงินข้ามประเทศเป็นต้น

เหตุผลที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-อสังหาฯ ควรได้รับการสนับสนุน

ผู้พัฒนาโครงการส่วนใหญ่ต่างมองว่ามาตรการกระตุ้นครั้งนี้จะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ด้วยเหตุผลมากมายเลยทีเดียว เช่น 

  • ตลาดอสังหาฯ นั้นเป็นหัวจักรสำคัญทางเศรษฐกิจ คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีไทยประมาณ 8% ได้เลยทีเดียว 
  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า กลุ่มคนมีศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัยมีอัตราลดลงเร็วกว่าการลดลงของประชากร ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ตกต่ำราว 1%ต่อปี  หรือ กำลังซื้อจะหายไปประมาณ 105,900 หลังต่อปี ซึ่งหากสามารถฟื้นฟูส่วนนี้ได้จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาคึกคักขึ้นได้บ้าง
  • ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วทำให้เรากำลังจะขาดแรงงานและมันสมองที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศและทำให้กำลังซื้อระดับล่างของคนไทยหายไป
  • เรายังคงมีชาวต่างที่ต้องการเข้ามาพำนักในประเทศอีก 2 กลุ่มที่นับว่าแข็งแกร่งนั่นคือ กลุ่มคนที่เข้ามาทำงานและกลุ่มคนที่ส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อ

แต่ทั้งที่มีผู้สนับสนุนมาตรการกันมาก และยังมีเหตุผล การคาดการณ์และการศึกษามากขนาดนี้แต่เพราะอะไร ศบศ. หรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ถึงออกมาเบรกมาตรการนี้ เรามาดูเหตุผลของเขากัน

เหตุผลในการยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-อสังหาฯ

04_วิธีขายคอนโดที่ยังผ่อนไม่หมด (1)หากกล่าวถึงเหตุผลหลักที่ทำให้พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.1) ไม่เห็นด้วยนั้นต้องย้อนกลับไปในปี 2540 ขณะที่ประเทศไทยประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งนั้น ได้มีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-อสังหาฯ ในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน แต่ไม่มีต่างชาติเข้ามาซื้อตามที่เป้าหมายได้กำหนดไว้ และในขณะเดียวกันก็ให้เหตุผลว่า การเปิดโอกาศให้ชาวต่างชาติมากเกินไปจะทำให้คนไทยไร้ที่อยู่อาศัยได้

ดังนั้นกฎหมายปัจจุบันที่กำหนดสิทธิ์ให้ชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดในหนึ่งโครงการคอนโดมิเนียมได้เพียง 49% และมีสิทธิ์ในการเช่าอยู่เพียง 30 ปีนั้นนับว่าเหมาะสมดีแล้ว เพราะตั้งแต่มีการกำหนดจำนวนถือครองกรรมสิทธิ์ขึ้นมายังไม่เคยมีโครงการใดที่ต่างชาติซื้อเต็มสัดส่วนที่กำหนดไว้เลย

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอสังหาฯ สำหรับชาวต่างชาตินั้นจึงถูกพับเก็บกลับไปด้วยเหตุผลนี้เอง แม้ผลสรุปจะออกมาว่ายกเลิก แต่ถึงอย่างนั้นในช่วงนี้ภาคอสังหาฯ ก็กำลังมีแนวโน้มจะคึกคักมากขึ้นอีกครั้งในปี 2565 ด้วยปัจจัยอื่นๆ โดยที่ยังไม่สามารถปรับขยายหรือเพิ่มสิทธิพิเศษใดใดให้กับชาวต่างชาติได้