สรุปงบรายจ่ายประจำปี 63 รัฐบาลตู่ 3.2 ล้านล้าน ใครได้งบไปใช้คนละเท่าไรบ้าง

ลูงตู่

มาสรุปการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ที่เพิ่มเริ่มไปเมื่อ วันที่17 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่นำทีมฝ่ายรัฐบาล โดย ลูงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นแม่ทัพนำคณะรัฐบาลประยุทธ์ 2 ที่ ชี้แจง-อภิปราย 18 ชั่วโมง

 

ลูงตู่  ของบเพิ่ม 3.2 ล้านล้าน มากว่าปีนี้แค่ 2 แสนล้าน

โดยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จำนวน 3,200,000,000,000 บาท มากกว่างบประมาณปี 2562 จำนวน 2 แสนล้านบาท เป็นการจัดสรรงบประมาณขาดดุล 469,000 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น งบประมาณรายจ่ายงบกลาง จำนวน 518,770,918,000 บาท เช่น เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 96,000,000,000 บาท โดยแจ้งงบได้ดังนี้

ลูงตู่

งบสำนักนายกรัฐมนตรี 3 หมื่นล้าน

งบประมาณรายจ่ายของสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับ 30,017,877,700 บาท แบ่งออกเป็น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1,768,333,200 บาท กรมประชาสัมพันธ์ 1,850,661,200 บาท สำนักงบประมาณ 721,555,200 บาท สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 261,598,000 บาท

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 1,720,764,000 บาท สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 149,377,500 บาท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 204,787,000 บาท สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 401,317,000 บาท สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 282,755,300 บาท

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 473,962,500 บาท สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 729,560,700 บาท สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 6,027,039,200 บาท   ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 4,768,720,000 บาท สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 133,227,200 บาท สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 148,074,800 บาท สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) 23,094,300 บาท สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน) 188,865,700 บาทสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) 1,462,595,800 บาท สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 543,665,900 บาท สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) 146,841,200 บาทสำนักข่าวกรองแห่งชาติ 215,484,100 บาท สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 131,102,400 บาท กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 6,775,777,900 บาท ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 888,717,600 บาท

นอกจากนี้ยังมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงและเป็นหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี-พล.อ.ประยุทธ์ จำนวน 46,221,423,200 บาท ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 41,519,467,600 บาท ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 318,024,600 บาท สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 230,996,900 บาท สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 154,862,400 บาทสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 90,237,800 บาท สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง 52,196,100 บาท สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเรื่องมาจากพระราชดำริ 764,579,200 บาท สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2,992,519,900 บาท สำนักงานราชบัณฑิตยสภา 98,538,700 บาท

 

กองทุนประชารัฐ 4 หมื่นล้าน

งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 318,261,200 บาท ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า 150,273,700 บาท สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ 167,987,500 บาท สภากาชาด จำนวน 10,619,162,900 บาท และส่วนราชการในพระองค์ 7,685,282,800 บาท

ส่วนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการตามภารกิจ ได้แก่ บูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10,865,463,300 บาท บูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 17,009,098,000 บาท บูรณาการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม 416,530,100 บาท บูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 957,087,900 บาท บูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 875,163,000 บาท บูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 59,431,072,500 บาท

บูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 5,319,091,200 บาท บูรณาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ 1,305,251,400 บาท บูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 97,389,023,600 บาท บูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล 1,886,910,300 บาท นบูรณาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 6,954,577,800 บาท บูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค 20,811,202,700 บาท บูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 3,185,556,700 บาท บูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 1,313,539,900 บาท บูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 7,371,447,000 บาท

สำหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐ จำนวน 777,267,620,100 บาท สำหรับทุนหมุนเวียน 202,268,635,400 บาท เช่น กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม 40,000,000,000 บาท กองทุนการออมแห่งชาติ 505,929,500 บาท กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 3,858,869,100 บาท กองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ 40,000,000 บาท   ขณะที่งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ จำนวน 272,127,134,200 บาท แบ่งออกเป็น กระทรวงการคลัง ได้แก่ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 221,823,342,100 บาท รัฐวิสาหกิจ 50,303,792,100 บาท ประกอบด้วย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 9,031,326,900 บาท การรถไฟแห่งประเทศไทย 8,033,534,200 บาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 30,166,376,800 บาท องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 3,072,554,200 บาท และงบประมาณเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 62,709,465,800 บาท

 

กระทรวงเศรษฐกิจ 3 รองนายกฯ 3 พรรคการเมือง

กระทรวงการคลังและหน่วยงานในกำกับ ที่มี “อุตตม สาวนายน” หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ-แกนนำกลุ่มสี่กุมาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จำนวน 14,358,249,000 บาท กระทรวงพลังงาน ที่มี “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ-แกนนำกลุ่มสี่กุมาร เป็นรัฐมนตรีว่าการ จำนวน 1,329,920,400 บาท กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม-หน่วยงานในกำกับ ที่มี “สุวิทย์ เมษินทรีย์” รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่มีสถาบันการศึกษาในกำกับกว่า 50 แห่ง จำนวน 49,037,823,700 บาท กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มี “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ-แกนนำกลุ่มสามมิตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง จำนวน 2,128,665,100 บาท   เป็นกระทรวงเศรษฐกิจที่มี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ผู้มีบารมีนอกพรรคพลังประชารัฐ เป็นรองนายกรัฐมนตรีกำกับ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงายในกำกับ ที่มี “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ฯ จำนวน 32,577,767,300 บาท กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงายในกำกับ ที่มี “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ จำนวน 4,320,456,100 บาท  เป็นกระทรวงเศรษฐกิจที่มี “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กำกับ

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มี “พิพัฒน์ รัชกิจปราการ” โควตาพรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยว ฯ จำนวน 3,551,514,000 บาทกระทรวงคมนาคม ที่มี “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเมกะโปรเจ็กต์ จำนวน 54,622,962,200 บาท กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานกำกับ ที่มี “อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกัญชา จำนวน 28,049,048,300 บาท เป็นกระทรวงเศรษฐกิจที่มี “อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีกำกับ

 

งบกลุ่มจังหวัด 2.4 หมื่นล้าน – อปท. 5.5 หมื่นล้าน

สำหรับงบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 24,000,000,000 บาท ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 55,037,059,300 บาท เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร 25,339,174,100 บาท เมืองพัทยา 1,942,535,700 บาท

 

กระทรวงความมั่นคง พี่น้อง ป.3

กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกำกับที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จำนวน 125,918,522,500 บาท ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 6,230,967,600 บาท กองทัพบก 52,943,083,300 บาท กองทัพเรือ 25,229,478,500 บาท กองทัพอากาศ 29,670,466,300 บาท กองบัญชาการกองทัพไทย 10,868,253,600 บาท สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 976,273,200 บาท

กระทรวงมหาดไทย ที่มี “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น มท.1 จำนวน 289,084,035,800 บาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานในกำกับ ที่มี “บี-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์” รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ-แกนนำกลุ่มอดีต กปปส. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่อต้านข่าวปลอม จำนวน 4,567,618,800 บาท

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานในกำกับ ที่มี “ท็อป-วราวุธ ศิลปอาชา” โควต้าพรรคชาตไทยพัฒนา เป็นรัฐมนตรี จำนวน 12,574,495,000 บาท

กระทรวงแรงงานและหน่วยงานในกำกับ ทีมี “คุณชายเต่า-ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล” หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย เป็นเสนาบดีกระทรวงกึ่งเศรษฐกิจ-กึ่งความมั่นคง จำนวน 56,519,321,900 บาท ปิดท้ายที่กระทรวงต่างประเทศ จำนวน 5,134,473,000 บาท

เป็นกระทรวงความมั่นคงที่มี “พี่น้อง ป.3” ป.ประยุทธ์-ป.ประวิตร-ป.ป๊อก เป็น 3 ประสานทหารเสือราชินี กำกับ

 

รัฐสภา-ศาล-อำนาจที่ 4

ขณะที่งบประมาณของรัฐสภา-1 ใน 3 อำนาจ จำนวน 4,474,858,400 บาท แบ่งออกเป็น สถาบันพระปกเกล้า 177,776,400 บาท สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 540,817,200 บาท สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 3,756,264,800 บาท

หน่วยงานของศาล จำนวน 6,229,204,200 บาท แบ่งออกเป็น สำนักงานศาลปกครอง 537,357,600 บาท สำนักงานศาลยุติธรรม 5,583,772,500 บาท ศาลรัฐธรรมนูญ 108,074,100 บาท

ด้านอำนาจที่ 4 – หน่วยงานองค์กรอิสระและองค์กรอัยการ จำนวน 4,125,548,900 บาท แบ่งออกเป็น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 269,791,900 บาท สำนักงานคณะกรรมการการเลือตั้ง 337,264,900 บาท สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 555,744,100 บาท สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 76,521,200 บาท สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 90,446,100 บาท สำนักงานอัยการสูงสุด 2,795,780,700 บาท

 

รัฐบาลนำฝ่ายค้าน 6 เสียง

เสียงล่าสุด สภาเท่าที่มีอยู่ตอนนี้ 497 เสียง จาก 500 เสียง ฝ่ายรัฐบาลมี 252 เสียง ประกอบด้วย พลังประชารัฐ 117 เสียง ประชาธิปัตย์ 53 เสียง ภูมิใจไทย 51 เสียง ชาติไทยพัฒนา 10 เสียง

รวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง พลังท้องถิ่นไท 3 เสียง ชาติพัฒนา 3 เสียง รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง พลังชาติไทย 1 เสียง ประชาภิวัฒน์ 1 เสียง พลังไทยรักไทย 1 เสียง ครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียง ประชานิยม 1 เสียง พลเมืองไทย 1 เสียง ประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง พลังธรรมใหม่ 1 เสียง

ฟากฝั่ง 7 พรรคฝ่ายค้าน มี 243 เสียง เพื่อไทย 135 เสียง ตัดเสียงของ นายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.ขอนแก่น หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ กรณีรับคำร้องเรื่องคุณสมบัติคดีถูกคำพิพากษาให้จำคุก อนาคตใหม่ 79 เสียง หักเลือกตั้งซ่อม จ.นครปฐม เขต 5 และเสียงของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เสรีรวมไทย 10 เสียง ประชาชาติ 7 เสียง เศรษฐกิจใหม่ 6 เสียง เพื่อชาติ 5 เสียง พลังปวงชนไทย 1 เสียง

ขณะที่ฝ่ายค้านอิสระ 2 เสียง ของ “เสี่ยเต้พระราม 7-มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์” หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ นายพิเชษฐ สถิรชวาล หัวหน้าพรรคประชาธรรมไทย

ทว่าเมื่อหักเสียงของประธานสภา-รองประธานสภา 3 เสียง ทำให้ฝ่ายรัฐบาลเหลือ 249 เสียง ทำให้เสียงฝ่ายรัฐบาลที่มี 249 เสียง ขี่ฝ่ายค้านที่มี 243 เสียง เพียง 6 เสียง จำเป็นต้องใช้ “บริการเสริม” 20 กว่าเสียงไว้สำรอง ไม่ให้ถูกตลบหลัง และเสียงของ “ฝ่ายค้านอิสระ” 2 เสียงที่พร้อมจะเป็น “ตัวแปร” – “พลิกข้าง” ได้ตลอดเวลา

 

ที่มา prachachat.net

กู้เงินซื้อบ้านประสบการณ์ตรงเงินเดือน 15,000 กู้เงินซื้อบ้าน ล้านหลังกับธอส. เขาว่ากู้ยากจริงหรือ..?

 

คนตกงาน

9 จังหวัดที่มีอัตรา คนตกงาน มากที่สุดในปี 62

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก