หุ้นกู้และ IPO หุ้นคืออะไร? ชวนทำความรู้จัก เครื่องมือกู้สภาพคล่องทางการเงินของผู้ประกอบการ

สภาพคล่องทางการเงิน นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลานี้ โดยเครื่องมือทางการเงินอีกอย่างหนึ่งที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เริ่มนำออกมาตุนสภาพคล่องทางการเงินให้กับตัวเองในช่วงนี้คือ หุ้นกู้หรือ IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering โดยตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 มียอดออกหุ้นกู้รวมแล้วกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท และยังมีหุ้น IPO อีก เพื่อสร้างกระแสเงินสดในการรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต

_pic_1_

ทำความรู้จัก IPO หุ้นคือ?

IPO หุ้นคือ การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่หลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดย IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering โดยทั่วไปแล้วจะเป็นหุ้นของบริษัทที่ออกใหม่ แต่กับบางสถานการณ์จะเห็นว่า กองทุนที่เปิดใหม่ก็มีการเรียกว่า IPO เช่นเดียวกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว IPO หุ้นคือการใช้เรียกหุ้นของบริษัทที่ออกแบบและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก

IPO หุ้นคืออะไร แตกต่างกับหุ้นลักษณะอื่นอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว เหตุผลหลักที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทำการออก IPO หุ้นคือต้องการเพิ่มช่องทาบงการระดมทุนของบริษัท สร้างภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของบริษัท รวมไปถึงเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือหุ้น โดยเมื่อออกIPO หุ้นคือจะสามารถขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ทันที ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดา ก็จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำกำไรจากการขายมาคำนวณเพื่อสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

_pic_2_เครื่องมือทางการเงินสำคัญของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในเวลานี้

กระแสการระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เริ่มเป็นกระแสมาแรงมากขึ้น โดยในช่วงไตรมาสทรี่ 2 มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ได้เสนอขายหุ้นหู้ และเตรียมจะเสนอขายหุ้นกู้ รวมทั้งสิ้น 24 บริษัท คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.6 ล้านบาท

โดยบริษัทผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ได้มาการออกเสนอขายหุ้นกู้ไปแล้ว ได้แก่ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 6,000 ล้านบาท, บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เสนอขายมูลค่า 5,400 ล้านบาท และบมจ.อนันหา ดีเวลลอปเม้นท์ เสนอขายมูลค่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมนี้ มีจำนวน 5 บริษัท ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท

ในขณะเดียวกัน บริษัทที่เตรียมนำหุ้นเข้าจดะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว จำนวน 4 บริษัท โดยได้แก่ บใจ.ไซมิส แอสเสท ที่ได้เสนอขาย 290 ล้านหุ้น, บมจ.ปอสเสทไวส์ เสนอขาย 206 ล้านหุ้น, บมจ.ดีเฮาส์พัฒนา เสนอขาย 217.1 ล้านหุ้น และ บมจ.จักรไพศาล เอสเตท เสนอขาย 82.7 ล้านหุ้น

นอกจากนี้ หากพิจารณาในเรื่องของฐานะการเงินและกระแสเงินสด ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะเห็นว่าในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 เงินสดสุทธิของหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ได้พลิกกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง จากปกติที่ประแสเงินสดมักจะมีการติดลบต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ในลักษณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่าการเร่งขายสินค้าออกปให้เร็วขึ้นและการที่ชะลอการลงทุนและเปิดตัวโครงการใหม่ เช่น บมจ.แสนสิริ ที่มีเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานประมาณ 2.4 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2562 ที่ติดลบ 7.2 พันล้านบาท, บมจ.เอดี (ไทยแลนด์) มรีเงินสดสุทธิ 1.8 พันล้านบาท จากปีก่อนที่ติดลบ 9.8 พันล้านบาท และ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีเงินสดสุทธิ 552 ล้านบาท จากปีก่อนที่ติดลบ 1.7 พันล้านบาท โดยตัวเลขเงินสดสุทธิที่เพิ่มขึ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เหล่านี้ สะท้อนว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ ต่างกำลังเร่งระดมสภาพคล่องเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะข้างหน้า

หากพิจารณาในส่วนของงบลงทุน จะเห็นว่างบลงทุนของแต่ละบริษัทลดลงเยอะมาก ทำให้รายจ่ายลดลงไปด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการปรับตัวเชิงกลยุทธิ์ของผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดตุ้นทุน ทำให้กระแสเงินสดนั้นกลับมาเป็นบวกในแทบทุกบริษัท มีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่มีหนี้สินต่อทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น บใจ.ศุภาลัย ที่เงินสดสุทธิยังติดลบ 3,900 ล้านบาท เนื่องจากมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

_pic_3_

แม้สภาพคล่องในเงินสดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาอย่างหนึ่งคือ แนวโน้มการเติบโตอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร จากการชะลอการซื้อที่ดิน และการพัฒนาโครงการใหม่ แต่อย่างไรด็ตาม นับว่าการออกหุ้นกู้และIPO หุ้นคือเครื่องมือที่ทำให้สถานการณ์ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์กลับมาเป็นบวกได้อีกครั้ง

ที่มา