เตรียมให้พร้อม เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี

เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี02
เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี02

การเตรียมการอย่างรอบด้าน จะทำให้ปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีเปอร์เซ็นลดลง หลักการนี้ใช้ได้กับการประมูลบ้าน
และคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีเช่นกัน เพราะเป็นการประมูลจากหน่วยงานราชการจึงไม่ได้มีความสะดวกเท่าการประมูลบ้าน
และคอนโดมือสอง NPA จากสถาบันการเงิน
ดังนั้นผู้ที่สนใจจะทำการลงทุนกับบ้านขายทอดตลาดจึงต้องทราบกระบวนการเผื่อการวางแผนและการตัดสินใจ
โดยขั้นตอนแบ่งออกเป็น

ขั้นตอนการเตรียมหลักฐาน

 เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี01
เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี01

 

โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องเตรียมหลักฐานในการเข้าร่วมประมูลอสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาดดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าของรัฐหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนา
รับรองถูกต้อง 1 ฉบับ หากเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องส่งหนังสือรับรองซึ่งถูกนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
2. เตรียมหนังสือมอบอำนาจพร้อมอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมหลักฐานในข้อ 1 ในกรณีฝากผู้อื่นเข้าร่วมประมูล
3. เงินสด หรือ แคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายหน่วยงานที่เข้าร่วมประมูล เช่น สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นเงิน
ค่าประกันการเข้าสู้ราคา ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานระบุไว้

 เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี02
เจาะลึกขั้นตอนประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี02

ขั้นตอนการประมูลอสังหาริมทรัพย์จากกรมบังคับคดี
1. กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มลงทะเบียน พร้อมวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คประกันการเข้าสู้ราคา ต่อเจ้าหน้าที่การเงิน
2. ผู้เข้าสู้ราคารับป้ายประมูลเพื่อยกเมื่อเสนอราคา
3. ราคาเริ่มต้นประมูลจะถูกกำหนดโดยเจ้าพนักงานและระบุอย่างละเอียดในรายละเอียดของทรัพย์สิน การประมูลครั้งแรกอยู่
ที่ 80%ของราคาประมูล หากมีการประมูลครั้งที่สอง ราคาเริ่มต้นจะลดลงเหลือ 50% ของราคาประเมิน
4. การประมูลเสร็จสิ้นเมื่อราคาสุดท้ายได้รับการขาน 3 ครั้งโดยไม่มีการคัดค้าน

ขั้นตอนชำระเงินที่เหลือ
1. ชำระเงินที่เหลือภายใน 15 วัน กรณีไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด ต้องยื่นเรื่องขอยืดระยะเวลาการชำระเงิน
อย่างไรก็ตามไม่สามารถยืดระยะเวลาได้เกิน 3 เดือน เมื่อเกินระยะเวลาแล้วไม่มีการชำระเงินค่าประกันจะถูกยึด ทั้งยังต้องจ่ายค่าส่วนต่าง
และค่าดำเนินการที่เหลือในกรณีการประมูลครั้งต่อไปประมูลได้ต่ำกว่าครั้งแรก
2. กรณีต้องการขอสินเชื่อจากธนาคารก็สามารถติดต่อขอรับรายละเอียดเงื่อนไข การขอสินเชื่อจะง่ายขึ้นหากว่าธนาคาร
นั้นเป็นโจทก์ของทรัพย์สินนั้นๆ ในคดีการฟ้องร้อง
อย่างไรก็ตามขั้นตอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีกรณีพิเศษ แต่ทางกรมบังคับคดีก็จะแจ้งรายละเอียดไว้