New normal อสังหาริมทรัพย์ จะมาจริงไหม? โลกอสังหาริมทรัพย์ บ้าน 2020 จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ตอนนี้คำที่มาแรงติดเทรนด์ติดปากที่สุดคงหนีไม่พ้นคำว่า ‘New normal’ หรือ ‘ความปกติใหม่’ ที่หลายกระแสต่างคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่าจะเป็นคลื่นที่กระเพื่อมเข้ามาหลังจากคลื่นโรคระบาดโควิด-19 ซาลงไปอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคและเทรนด์โลกเปลี่ยน ผู้ประกอบการย่อมต้องมีการปรับ ทำให้บ้าน 2020 นี้จะต้องเปลี่ยนไป เป็นบ้านในรูปแบบบ้านสมัยใหม่ ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่ง New normal ของที่อยู่อาศัย

บทเรียนจากโควิด ทำให้เกิดนิยามของบ้าน 2020

สำหรับ Customer Journey ในการซื้อที่อยู่อาศัยก่อนที่จะมีการเกิดโรคระบาด มักจะเริ่มจากความสนใจอยากครอบครองที่อยู่อาศัย, การเห็นป้ายโฆษณาโครงการในทำเลหรือโฆษณาจากอินเตอร์เน็ต, เริ่มหาข้อมูลเบื้องต้นของที่อยู่อาศัย, เข้าชมโครงการจริง, เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ราคา, อ่านความคิดเห็นด้านบวกและด้านลบในโลกเเตอร์เน็ต, เข้าชมโครงการอีกครั้งเพื่อมองหาโปรโมรชั่น และสุดท้ายคือการตัดสินใจซื้อ ซึ่งเมื่อมีการเกิดโรคระบาด มาตรการ Social Distancing ได้ถูกประกาศใช้ ทำให้ Customer Journey ของการซื้อบ้าน 2020 นี้ถูกลดขั้นตอนไป

บ้าน 2020 ชมโครงการจริงได้จากที่บ้าน

จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การแสดงผลของข้อมูลง่ายและเสมือนจริงมากขึ้น โดยสำหรับขั้นตอนการเข้าชมโครงการจริง หลายโครงการได้เริ่มการนำ VR Tour หรือ Live-online tour ให้ลูกค้าสามารถชมบ้านที่ตัวอย่างสนใจได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน โดยดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำหลายเจ้าต่างก็มีการนำวิธีการนี้มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น เอพี ไทยแลนด์, แสนสิริ, ออริจิ้น, พฤกษา, เสนาฯ, อนันดา เป็นต้น

_pic_1_ (5)

บ้าน 2020 ต้องก้าวเข้าสู่การเป็นบ้านสมัยใหม่

สำหรับคำว่าบ้านสมัยใหม่ในยุค New normal จะไม่ใช่เพียงแค่การติดตั้งระบบสมาร์ทโฮมเท่านั้น แต่ยังต้องมีระบบบ้านอัตโนมัติ หรือ Home automation ด้วย โดยเฉพาะการบริการภายในโครงการ โดย การสำรวจพฤติกรรมออนไลน์ ของ ETDA พบว่าการใช้บริการ Food Delivery ของคนไทยมีสัดส่วนถึง 85% ซึ่งระบบ Home automation จะเข้ามาบริการในตรงนี้ อาทิ แสนสริ มีหุ่นยนต์ชื่อแสนดี ในการบริการับส่งพัสดุ โดยการแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่น และมีตู้รับพัสดุอัจฉริยะ สำหรับบริการลูกบ้าน 24 ชม. เช่นเดียวกับ เอพี ไทยแลนด์ ที่มีการนำล็อกเกอร์อัจฉริยะ ที่ให้ลูกบ้านสามารถเข้าถึงการรับส่งพัสดุได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชม.นอกจากนั้นเทคโนโลยีที่ลดการสัมผัส (Touchless Technology) จะกลายมาเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่ผู้บริโภคมองหา โดบเฉพาะระบบปลดล็อกด้วยการแสกนใบหน้าแทนการใช้แสกนลายนิ้วมือหรือคีย์การ์ด

_pic_2_ (2)

บ้านยุค New normal จะมีพื้นที่ใช้สอยเปลี่ยนไป

จากการสำรวจการเปิดตัวโครงการใหม่ของ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาิรมทรัพย์ไทย บมจ.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสท แอฟแฟร์ส (AREA) และ บทวิเคราะห์จาก ธนาคารเกียรตินาคิน สิ่งที่เห็นได้ชัดหลังจากการประกาศมาตรการ Social Distancing คือผู้บริโภคเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมมากขึ้น โดยพบว่าโครงการทาวน์เฮ้าส์เปิืดตัวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง และยัในแต่ละเดือนจะมีทาวน์เฮ้าส์เปิดตัวสู่ตลาดในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคาไม่เกิน 3-4 ล้านบาท เป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมสูง 

 เนื่องจากการต้องติดอยู่กับบ้านนานๆ ทำให้ผู้บริโภคต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น โดยที่อยู่อาศัยหลังยุค New normal จะต้องมีการจัดพื้นที่ใช้สอยอย่างเป็นสัดส่วน รองรับ Individual Society ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยหากเป็นคอนโดมิเนียม พื้นที่ส่วนกลางจะต้องออกแบบให้เป็น Co-separate space ให้ลูกบ้านสามารถใช้พื้นที่ส่วนกลางได้ โดยที่ไม่ต้องใกล้ชิดกันมาก ส่วนในพื้นที่ส่วนตัวอย่างภายในห้อง ต้องออกแบบให้รองรับ Work From Home Function ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการกิน นอน ทำงาน ทำอาหาร หรือการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะได้เห็นกันอย่างแน่นอนจากที่อยู่อาศัยโครงการใหม่หลังจากนี้

_pic_3

การขยายตัวของที่อยู่อาศัยสู่เมืองชั้นนำในต่างจังหวัด

เมื่อมีการประกาศภาวะฉุกเฉินและ Social Distancing มีประชากรเดินทางกลับต่างจังหวัดมากกว่า 80,000 คนในวันแรกที่มีการประกาศ และทยอยกลับภูมิลำเนาหลังจากประกาศในไม่กี่วัน โดยการขยายตัวของที่อยู่อาศัยสอดคล้องกับการย้ายกลับของประชากรในต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีความเจริญ มีแหล่งงาน และมีแนวโน้มของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ในอนาคตหลังจากนี้อาจจะมีการย้ายกลับภูมิลำเนาถาวรมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ยังขาดความมั่นคงด้านแหล่งงาน, เศรษฐกิจ และสุขอนามัย

_pic_4_

สำหรับคำถามว่า New normal ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ คงต้องบอกว่าอาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนเข้าสู่ความปกติใหม่อย่างสิ้นเชิง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวงการอสังหาริมทรัพย์

 ที่มา :