เจาะความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐานไทย 2563

แม้สถานการณ์โรคระบาดจะยังไม่คลี่คลาย แต่สำหรับประเทศไทยนั้นยังคงต้องเดินหน้าพัฒนาต่อไป โดยในปี 2563 นี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไทยยังคงถูกผลักดันอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งการเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี, เวนคืนที่ดิน, เตรียมเปิดประมูล, กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ และดำเนินการใกล้แล้วเสร็จ ในปี 2563 มีดังนี้

โครงสร้างพื้นฐานไทย แม่เหล็กขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาประเทศ

ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2563 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายสั่งการแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor หรือ อีอีซี ซึ่งเป็นแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับเมกะโปรเจ็กต์ ที่สร้างความหวังด้านการพัฒนาและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 โดยกำชับให้เร่งดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในปี 2563 ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดและแหลมฉบัง และโครงการพัฒนาเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ (Smart city) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

         โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา มูลค่าการลงทุนในอีอีซีอยู่ที่ 4.04 แสนล้านบาท ส่งผลให้เกิดการจ้างงานกว่า 44,000 ตำแหน่ง และมีโรงงานเปิดใหม่ถึง 450 โรงงาน โดยในปี 2563 นี้ได้ตั้งเป้าให้เกิดการลงทุนปีละ 3 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นให้ GDP เพิ่มขึ้น 1.5-2%

_pic_1_ (6) (1) (1)

โครงสร้างพื้นฐานไทยด้านคมนาคม เส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประเทศ

สำหรับความคืบหน้าของโครงสร้างพื้นฐานไทยด้านระบบคมนาคมและการขนส่ง มีเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.7 แสนล้านบาทในปี 2563 โดยมีจำนวนถึง 86 โครงการ เป็นงบประมาณของกรมทางหลวง (ทล.), กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), การรถไฟแห่งประเทศไทย, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ กรมท่าอากาศยาน ได้แก่

โครงการภายใต้กรมทางหลวง (ทล.)

  • โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (ยึงกาฬ-บอลิคำไซ) ระยะทาง 16.8 กม. วงเงิน 3,930 ล้านบาท
  • โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ด้านตะวันออก) ระยะทาง 16.13 กม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท
  • โครงการก่อสร้างทางทางหลวงหมายเลข 3 พัทยา – สัตหีบ ระยะทาง 22.24 กม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท
  • โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 24.69 ดม. วงเงิน 3,060 ล้านบาท
  • โครงการสร้างถนน 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ทล. 415 พังงา-อ.บ้านตาขุน ระยะทาง 26.78 กม. วงเงิน 1,600 ล้านบาท
  • มอเตอร์เวย์ บางขุนเทียน – บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กม. วงเงิน 32,310 ล้านบาท
  • มอเตอร์เวย์นครปฐม – ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงิน 79,006 ล้านบาท

โครงการภายใต้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

  • โครงการทางด่วน พระราม 3 – ดาวคำนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก วงเงิน 31,244 ล้านบาท
  • โครงการทางด่วยขั้นที่ 3 สายเหนือ (N2) วงเงิน 15,200 ล้านบาท

โครงการภายใต้การรถไฟแห่งประเทศไทย

  • โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต – ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,212  ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 6,645 ล้านบาท
  • โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157 ล้านบาท
  • โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท และช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 66,848 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเวนคืนที่ดิน
  • โครงการรถไฟรางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง วงเงินรวม (263,453 ล้านบาท) อยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี

โครงการภายใต้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

  • โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ – บางขุนนนทื) ระยะทาง 13.4 กม. วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการเตรียมเปิดประมูลโครงการ
  • โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 124,959 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอประกาศ พรก.เวนคืนที่ดิน และเตรียมเปิดประมูลโครงการ
  • โครงการรถไฟฟ้าในจังหวัดหัวเมือง ได้แก่ เชียงใหม่, นครราชสีมา อยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษาโครงการ

โครงการภายใต้กรมท่าอากาศยาน

  • โครงการพัฒนาสนามบินกระบี่ เพื่อเป็นสนามบินแห่งที่ 2 รองรับผู้โดยสารนอกเหนือจากสนามบินภูเก็ต วงเงิน 270 ล้านบาท
  • โครงการปรับปรุงสนามบินสุราษฎร์ธานี วงเงิน 100 ล้านบาท
  • โครงการพัฒนาสนามบินนราธิวาส วงเงิน 160 ล้านบาท
  • โครงการพัฒนาสนามบินบุรีรัมย์ วงเงิน 155 ล้านบาท

นอกเหนือจากนี้ ยังมีโครงสร้างพื้นฐานไทยด้านการคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่  รถไฟฟ้าสายสีส้ม ความคืบหน้า 58.59% คาดแล้วเสร็จในปี 2567, โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความคืบหน้า 53.21% และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ความคืบหน้า 53.22%

         โครงการส่วนใหญ่คาดแล้วเสร็จในปี 2566 – 2568 ซึ่งคาดว่าจะยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย สู่การเป็นหมุดหมายการลงทุนจากต่างชาติได้อย่างแน่นอน

ที่มา:

https://mgronline.com/business/detail/9630000013495

http://122.155.92.12/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=TCATG200106191805392