กรุงเทพฯ ติดอันดับ 18 แหล่งรวมแบรนด์สินค้าอินเตอร์มากที่สุดโลก

รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่ สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า หัวเมืองใหญ่ของเอเชียเป็นทำเลที่ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมให้ความ สนใจมาก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมระดับหรู

รายงาน ฉบับดังกล่าวของเจแอลแอล วิจัยตลาดศูนย์การค้าในเมืองสำคัญๆ 140 เมืองทั่วโลก โดยพิจารณาความน่าสนใจในการดึงดูดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนม ระหว่างประเทศเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้า

เมืองที่มีแบรนด์สินค้าอินเตอร์สนใจเปิดร้านวางจำหน่ายสินค้ามากที่สุด 20 อันดับแรกของโลก
1 ลอนดอน
2 ฮ่องกง
3 ปารีส
4 ดูไบ
5 นิวยอร์ค
6 เซี่ยงไฮ้
7 สิงคโปร์
8 ปักกิ่ง
9 คูเวตซิตี้
10 โตเกียว
11 อาบูดาบี
12 ไทเป
12 เจดดาห์
12 ริยาดห์
15 โซล
16 ลอสแองเจลิส
17 มอสโคว์
18 กรุงเทพฯ
19 ลาสเวกัส
20 โอซากา

ใน บรรดา 10 เมืองที่มีจำนวนแบรนด์สินค้าระหว่างประเทศสนใจเปิดร้านมากที่สุดในโลก เป็นเมืองของเอเชีย 5 เมือง ได้แก่ ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ ปักกิ่ง และโตเกียว โดยเฉพาะฮ่องกง ติดอันดับที่ 2 เป็นรองเฉพาะแต่ลอนดอน

ชื่อ เสียงของกรุงเทพฯ ในฐานะแหล่งช็อปปิ้งยอดนิยมสำหรับสินค้าแฟชั่นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้ ติดอยู่ในอันดับที่ 18 ของเมืองที่ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมระหว่างประเทศต้องการเข้ามา เปิดร้านวางจำหน่ายสินค้ามากที่สุด แซงหน้าลาสเวกัสของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 19

การที่ประชากรมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นและการ ขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้มีแบรนด์สินค้าระดับโลกหลากหลายแบรนด์เข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้าที่ นี่ ไม่ว่าจะเป็น H&M, Zara Home, Pull & Bear และ Victoria’s Secret ตามมาด้วย Dior Homme, Pierre Herme, A Bathing Ape และ Tiffany & Co. ซึ่งเพิ่งเข้ามาเมื่อไม่นานมานี้

ราชประสงค์นับเป็นศูนย์ กลางย่านศูนย์การค้าของกรุงเทพฯ มีแบรนด์สินค้าระหว่างประเทศหลากหลายแบรนด์เข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้า และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก จากการมีทำเลในใจกลางเมืองและเข้าถึงได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้า ในย่านนี้ มีศูนย์การค้ารวม 7 แห่ง รวมถึงศูนย์การค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อาทิ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามสแควร์วัน ในขณะเดียวกัน การเปิดตัวของเอ็มควอร์เทียร์, เซ็นทรัล เวสต์เกต และเซ็นทรัลเฟสติวัล อิสต์วิลล์ ในทำเลรอบนอกของย่านศูนย์การค้าหลัก ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้แบรนด์สินค้าระหว่างประเทศมีช่องทางขยายร้านจำหน่าย สินค้าเพิ่มขึ้น

รายงานฉบับเดียวกันของเจแอลแอล ได้แยกย่อยการศึกษาแบรนด์สินค้าเฉพาะกลุ่มระดับหรูด้วย และพบว่ามีเมืองในเอเชียมากถึง 7 เมืองที่ติด 10 อันดับแรกที่มีจำนวนแบรนด์สินค้าระดับหรูหราเปิดร้านมากที่สุด ได้แก่ ฮ่องกง โตเกียว เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ ปักกิ่ง โอซาก้า และไทเป

นายเจมส์ แอสเซอร์สัน ผู้อำนวยการฝ่ายบริการธุรกิจศูนย์การค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของเจแอลแอล กล่าวว่า “ฮ่องกงยังคงเป็นแหล่งช็อปปิ้งสินค้าแบรนด์หรูชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก แม้ยอดขายสินค้าแบรนด์หรูจะชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากผลกระทบของการชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีน แต่ฮ่องกงยังคงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนที่มีกำลังซื้อสูงเข้ามาได้เป็น จำนวนมาก”

“ในภาพรวม การที่เมืองของเอเชียติดอันดับต้นๆ ที่แบรนด์สินค้าหรูให้ความสนใจ เป็นผลมาจากการขยายตัวของชนชั้นระดับกลางและกำลังการซื้อที่สูงขึ้นใน ภูมิภาค” นายแอสเซอร์สันอธิบาย

ที่โตเกียวซึ่งอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ความต้องการพื้นที่ร้านค้าในศูนย์การค้าชั้นดีจากผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแบ รนด์หรูระดับโลกเริ่มฟื้นตัวตามการปรับตัวดีขึ้นของแนวโน้มเศรษฐกิจและการ เพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ค่าเงินเยนที่ปรับตัวลดลงไปแล้วเกือบ 30% นับตั้งแต่ปี 2555 ทำให้ญี่ปุ่นสามารถดึงดูดนักชอปที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 47% จากปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน

เซี่ยงไฮ้อยู่ในดับ 6 ของเมืองที่เป็นแหล่งรวมแบรนด์สินค้าระดับหรูมากที่สุดในโลก “มีแบรนด์สินค้าหรูระดับโลกจำนวนมากที่สนใจเข้ามาเปิดร้านในเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากประชากรในเมืองนี้มีกำลังซื้อสูง โดยบางแบรนด์ใช้เซี่ยงไฮ้เป็นสถานที่ทดสอบตลาดจีน และเป็นฐานในการเสริมสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่นักช็อป ชาวจีน นอกจากนี้ สินค้าแบรนด์เนมระดับหรูของโลกบางแบรนด์ที่ไม่มีขายในฮ่องกง สามารถพบเห็นได้ที่เซี่ยงไฮ้” นายแอสเซอร์สันกล่าว

นายแอสเซอร์สัน กล่าวว่า “สินค้าแบรนด์เนมระดับหรูจะสามารถขายได้มากน้อยเพียงใดในแต่ละเมือง ไม่ได้ขึ้นอยู่เฉพาะกับสภาพเศรษฐกิจของเมืองนั้นๆ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ด้วย อาทิ จำนวนนักท่องเที่ยว และการขยายตัวของรายได้ประชากร ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า รายได้ของประชากรในเมืองส่วนใหญ่ของเอเชียจะมีการขยายสูงในช่วง 15 ปีข้างหน้า ซึ่งหมายความว่า การจับจ่ายซื้อสินค้าแบรนด์เนมหรูในเอเชียยังมีโอกาสขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อภายในประเทศหรือในต่างประเทศ”