น้ำท่วมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ละประเทศมีแผนการรับมือกันอย่างไร

วิกฤตสภาพอากาศของโลกดูจะมีมากขึ้นทุกปีแทบจะไม่ต้องสังเกตก็สามารถมองเห็นได้ว่าสภาพอากาศแปรปรวนมากแค่ไหน สำหรับช่วงฤดูฝนแบบนี้คงต้องกล่าวถึงน้ำท่วมที่สร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด และสร้างความเสียหายมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศชาติ ซึ่งปัญหาในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม 

วันนี้ดอทจึงรวบรวมการแก้ปัญหาที่แต่ละประเทศคิดค้นขึ้นเพื่อป้องกันและรับมือกับน้ำกันครับ

เนเธอร์แลนด์

Aerial picture of Maeslantkering storm surge barrier on the Nieuเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 20% ของพื้นที่ทั้งหมดและเผชิญปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้วในปี 1530 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100,000 ราย นอกจากครั้งนั้นแล้วเนเธอร์แลนด์ยังต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ ทำให้เนเธอร์แลนด์ตัดสินใจแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังด้วยการสร้างระบบชลประทานที่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศจึงกลายเป็นหนึ่งในประเทศต้นแบบในด้านการจัดการน้ำที่ดีที่สุดในโลก

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ได้ที่ ถอดบทเรียน ‘เนเธอร์แลนด์’ ประเทศต่ำกว่าน้ำทะเล แต่ไม่เคยน้ำท่วม!

จีน

37690114_mจีนเป็นประเทศที่เรามักได้ยินข่าวเรื่องอุทกภัยอย่างสม่ำเสมอทุกปีและมักจะร้ายแรงอีกด้วย ดังนั้นน้ำท่วมจึงเป็นหนึ่งในโจทย์ที่จีนต้องเร่งแก้ปัญหากันอย่างเร่งด่วนทีเดียว แต่ปัญหาของจีนไม่เหมือนเนเธอร์แลนด์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เป็นเพราะการเจริญเติบโตของเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เมื่อต้องพบกับฝนที่ตกลงมาในปริมาณมาก อย่างเมื่อช่วงกรกฏาคมที่ผ่านมานี้มณฑลเหอหนานได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีภายใน 3 วัน ฝนที่ตกหนักแบบนี้เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องผจญกับภัยน้ำท่วม

ปัญหาหลักของจีนเป็นเรื่องของการระบบการระบายน้ำออกจากเมือง ดังนั้นจึงมีการคิดค้น ‘เมืองฟองน้ำ (Sponge city)’ ก็คือการสร้างถนน อาคาร ทางเท้า สวนสาธารณะให้กลายเป็นฟองน้ำที่ดูดซับ กักเก็บ และกรองน้ำฝน

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการน้ำของจีนได้ที่ ถอดบทเรียน ‘จีน’ การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการเปลี่ยนเมืองเป็นฟองน้ำ

ญี่ปุ่น

Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channelญึ่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วจนต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขังระบายน้ำไม่ทันเช่นกันโดยเฉพาะที่โตเกียว จนเกิดการคิดวิธีการแก้ปัญหาด้วยการสร้างอุโมงค์ยักษ์ใต้ดิน หากฝนตกลงมาก็ให้ระบายลงใต้ดินไปเลย นับเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาที่ได้ผลทีเดียว หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ทุ่มงบกว่า 70,000 ล้านบาทสร้างอุโมงค์ยักษ์ที่ป้องกันน้ำท่วมเมือง ทั้งยังทำให้น้ำสามารถระบายออกจากเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ชื่อว่า ‘อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ’

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการน้ำของญี่ปุ่นได้ที่ ถอดบทเรียน ‘ญี่ปุ่น’ การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยอุโมงค์ยักษ์

ฮ่องกง

Night and Skyline of Urban Architecture in Hong Kongฮ่องกงประสบปัญหาจากน้ำท่วมเพราะเป็นเมืองที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาถึงสามลูกทำให้มีสภาพเป็นเมืองแอ่งกะทะที่ระบายน้ำออกไปได้ยาก ยิ่งเป็นเมืองที่มีการพัฒนาด้วยแล้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตที่ไม่ซับน้ำประกอบกับเมืองมีขนาดเล็กทำให้ความเสียหายมีมาก จึงมีการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังโดยใช้วิธีการระบายน้ำคล้ายญี่ปุ่นนั่นคือการสร้างอุโมงค์ไว้ใต้ดินของย่านหว่านไจ๋ โดยมีชื่อว่า โครงการ Happy vally

จุดที่แตกต่างกันของฮ่องกงกับญี่ปุ่นคือการปรับวิธีการให้เหมาะกับสภาพเมืองของตน ฮ่องกงเป็นเมืองเล็กที่เกือบจะเป็นเกาะโดยมีทะเลล้อมอยู่สามด้าน จึงมีการสร้างอุโมงค์ให้มีที่พักน้ำเพื่อให้สามารถดึงน้ำขึ้นมาใช้บนดินได้นอกเหนือจากการวนใช้ทรัพยากรน้ำแล้ว เหนืออ่างเก็บน้ำยังสร้างสนามกีฬาเอาไว้เพื่อให้ชาวเมืองได้ใช้พื้นที่ในการผ่อนคลายไปด้วย

ยังมีอีกหลายประเทศที่มีการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมเช่นการสร้างเขื่อนเก็บน้ำหรือคันกั้นน้ำ แต่หากเราสังเกตดูจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุเท่านั้น วิธีแก้ปัญหาส่วนใหญ่ยังเป็นการส่งน้ำออกสู่แหล่งน้ำที่ทำให้พื้นที่ชายฝั่งต้องรับผลกระทบมากกว่า เรียกว่าแค่สามารถลดความเสียหายในเมืองซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เพราะจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการแก้ปัญหาที่จะช่วยให้เราไม่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนได้เลย