ยุคที่ไม่มีไฟฟ้าจะสร้างบ้านรับมือกับความร้อนอย่างไร ไปดูกัน

แต่ละพื้นที่บนโลกล้วนมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป การสร้างที่พักอาศัยของแต่ละพื้นที่จึงต้องมีความแตกต่างกันออกไปด้วยเพื่อให้คนที่อยู่อาศัยสามารถพักได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัที่สุดโดยในบทความนี้ดอทจะเล่าถึงที่พักอาศัยในเขตร้อนซึ่งเป็นรูปแบบของที่พักอาศัยที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในเขตร้อนเช่นกัน จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

รูปทรงหลังคา

หลังคาของบ้านเขตร้อนนั้นจะเน้นไปที่การกันแดดกันลมและกันฝนได้ด้วย เพราะสภาพอากาศในเขตร้อนนั้นจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หลากหลาย โครงสร้างหลังคาจึงต้องรับมือได้หลากหลายตามไปด้วยอย่างเช่นรูปแบบหลังคาทรงปั้นหยา ที่เป็นทรงลาดเอียงทั้งสี่ด้าน ตรงกลางสูงขึ้นเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นด้านบนได้

จุดเด่นของหลังคาทรงปั้นหยาคือการมีชายคาที่ยื่นออกมาสามารถกันแดดไม่ให้โดนผนังที่สามารถเก็บความร้อนได้โดยตรงและยังสามารถกันฝนไม่ให้สาดเข้าผนังบ้านหรือเข้าบ้านได้ด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบันมีการเสริมให้หลังทรงปั้นหยาสามารถติดตั้งหน้าต่างรับลมเพื่อระบายความร้อนได้ด้วย

สร้างระแนงไม้หรือปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อบังแดด

สำหรับบ้านในเขตร้อนนั้นเพียงแค่ไม่ถูกแดดตรงๆ ก็สามารถรักษาความเย็นไว้ในบ้านได้แล้วดังนั้นที่พักอาศัยเขตร้อนจึงนิยมปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้กับบ้าน หรือไม่ก็ปลูกต้นไม้ล้อมบ้านเพื่อให้ไอเย็นจากต้นไม้ลดความร้อนของแสงแดดลง

อีกวิธีหนึ่งที่บ้านในเขตร้อนนิยมก็คือการสร้างระแนงไม้ขึ้นมาบดบังส่วนหนึ่งของแสงแดดซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกับการสร้างกำแพงสองชั้นเพียงแต่ระแนงจะสามารถรับลมและระบายอากาศได้ 

จัดวางเหมาะกับทิศของลมและแดด

บ้านในเขตร้อนจะไม่นิยมหันหน้าหาไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกที่รับแดดโดยตรง แต่จะหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือใต้แทนเพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้การหันหนาบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ยังทำให้บ้านได้สลับฝั่งกับรับแสงแดดซึ่งบ้านจะไม่ร้อนจนเกินไปด้วยนั่นเอง สามารถจัดการพื้นที่ภายในบ้านได้ง่ายขึ้น

นอกจากเรื่องทิศทางของแสงแดดแล้วยังมีการดูทิศทางลมก่อนสร้างบ้านด้วย เพราะที่พักอาศัยที่ทำจากไม้ในอดีตหรือบ้านที่ทำจากปูนในปัจจุบันล้วนแต่เก็บความร้อนเอาไว้จำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากห้องก่อนเข้าพักด้วยจึงต้องสรางบ้านให้สามารถได้รับลมตลอดนั่นเอง

Solid teak timber lounge chair set with mountain backgroundยกใต้ถุนบ้าน

เราได้เห้นบ้านทรงไทยส่วนมากมักมีการยกใต้ถุนบ้านขึ้นซึ่งมีอยู่สองสาเหตุหลักด้วยกัน หนึ่งคือป้องกันความเสียหายเมื่อนำ้ท่วมหรือน้ำหนุนสูง สองคือการป้องกันความร้อนจากดิน เพราะหากดินรับแดดโดยตรงจะอมความร้อนเอาไว้และเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะคายความร้อนออกมาทำให้บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นร้อนอบอ้าวอยู่ไม่สบาย

สร้างช่องระบายอากาศ

โดยปกติแล้วความร้อนมักจะเดินทางไปหาความเย็น ดังนั้นหากเราสร้างช่องทางระบายอากาศเอาไว้เพราะอีกหนึ่งเส้นทางที่ความร้อนชอบคือการลอยขึ้นสูง จึงควรสร้างช่องระบายอากาศไว้สูงอาจะเป็นบนช่องหลังคาหรือบนผนังใกล้กับฝ้าเพดานจะช่วยระบายความร้อนออกไปได้

ในปัจจุบันการสร้างช่องระบายอากาศได้มีการติดพัดลมและตัวช่วยอื่นๆ มากขึ้นแล้วเพราะช่วยระบายความร้อนในตัวบ้านได้เร็วขึ้น หากปัจจุบันที่พักอาสัยของคุณโดนแดดมาตลอดวันก้สามารถใช้วิธีระบายอากาศก่อนแล้วค่อยเปิดเครื่องปรับอากาศแบบนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น

ลักษณะของบ้านในเขตร้อนนี้มีหลายลักษณะที่เรายังคงเห็นได้ในบ้านของเราเอง แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยเพราะสภาพอากาศที่มีมลพิษมากขึ้นด้วย บ้านในเขตร้อนมักสร้างด้วยผนังที่บางเพื่อการระบายความร้อนเมื่อถึงเวลาที่เป็นฤดูหนาวทำให้บ้านไม่กันความหนาวจากภายนอกเท่าใดนัก เพราะเน้นการระบายอากาศของบ้านเป็นหลักนั่นเอง