ร้องขัดทรัพย์ ขั้นตอนการเรียกร้องสิทธิความเป็นเจ้าของ เพื่อที่จะไม่โดนสวมสิทธิ์

ร้องขัดทรัพย์

การสวมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ มักจะพบเห็นกันได้บ่อยครั้งและพบเห็นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการ ครอบครองปรปักษ์ ที่มักจะเจอได้กับที่ดินที่ถูกปล่อยปละละเลย หรือ แม้กระทั้งการแอบอ้างสิทธิ์ นำโฉนดที่ดินของผู้อื่นไปใช้ในการชำระหนี้ โดยประเด็นตรงนี้แหละที่เราจะมาพูดถึงกับการ ร้องขัดทรัพย์ ว่าเราจะทำยังไงกับการที่ถูกโดนนำทรัพย์ของตนไปแอบอ้างเพื่อขายทอดตลาดและนำเงินมาใช้ชำระหนี้

ร้องขัดทรัพย์ คืออะไร

การร้องขัดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ว มาตรา 288 ภายใต้บังคับบัญญัติ มาตรา 55 คือ ถ้าหากบุคคลใดกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือที่เรียกกันว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ทรัพย์นี้จะถูกนำขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลผู้นั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์ส่วนนั้นออก จึงเป็นเหตุให้เกิดการร้องขัดทรัพย์

และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำขอต่อการร้องขัดทรัพย์แล้ว จะทำการงดการขายทอดตลาด หรือการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไว้ในระหว่างการรอพิจารณาชี้ขาดของศาล โดยที่ศาลจะมีการพิจารณาคดีชี้ขาดเหมือนคดีทั่วๆไป หากแต่

(1)  เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงินต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับ เนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

(2)  ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟัง หรือถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า

คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด

 

ผู้ที่มีสิทธิการร้องขัดทรัพย์

ในการร้องขัดทรัพย์นั้น มีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ข้ออ้างที่ว่า จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา มิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ส่วนผู้ที่จะร้องขัดทรัพย์ กฎหมายไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดด้วย แต่ตามมาตรา 288 วรรคแรก บัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 55 แสดงว่าผู้ที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ต้องเป็นผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิเท่านั้น ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิอาจจะเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดไว้ หรืออาจเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในทรัพย์ที่ยึดก็ได้ เช่น

  1. ผู้เช่าซื้อซึ่งครอบรองทรัพย์ที่เช่าซื้อ แม้จะยังชำระค่าเช่าซื้อไม่รบ ก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียแล้ว จึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
  2. ผู้ได้รับสัมปทานป่าไม้ ร้องขัดทรัพย์ไม้ที่ถูกยึดจากป่าที่ได้รับสัมปทาน
  3. หน่วยงานของรัฐมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์ที่ตนดูแลรักษา
  4. เจ้าหนี้ผู้ครอบครองที่ดินประกันหนี้ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้น
  5. ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์

 

บทความเพิ่มเติมที่จะทำให้คุณเข้าใจได้มากขึ้น

ครอบครองปรปักษ์ รู้ไว้!!! จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ กลโกงที่ดิน
ลิ้งค์ : https://www.dotproperty.co.th/blog/ครอบครองปรปักษ์-กลโกงที่ดิน/

อยากซื้อทรัพย์ขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องทำอย่างไร?
ลิ้งค์ : https://www.dotproperty.co.th/blog/ทรัพย์ขายทอดตลาด-จากเจ้าพนักงานบังคับคดี/

กรมบังคับคดี กับ “ การยึดทรัพย์สิน ” ตอน ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
ลิ้งค์ : https://www.dotproperty.co.th/blog/การยึดทรัพย์สิน-การบังคับคดี/

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …