เมื่อการออกแบบคือการแก้ปัญหา ชวนมาดูการออกแบบบ้านในพื้นที่รองรับน้ำ

น้ำท่วมเป็นปัญหาน่าปวดหัวที่เราเลี่ยงได้ยากแต่ยิ่งกว่าช่วงเวลาน้ำท่วมคงจะเป็นช่วงเวลาหลังจากนั้นที่ต้องมาตรวจเช็คกันดูว่ามีอะไรเสียหายไปบ้าง หากเป็นพายุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ความเสียหายนั้นคงไม่มีใครอยากจะนึกถึงเลยทีเดียว แต่จะไปห้ามพายุฝนไม่ให้โหมกระหน่ำนั้นคงเป็นไปไม่ได้ยิ่งด้วย Climate change ที่ทำให้สภาพอากาศดูจะแปรปรวนมากขึ้น พายุเองก็จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราคงต้องหันกลับมาคิดแล้วว่าจะทำอย่างไรให้สามารถใช้ชีวิตกับสถานการณ์เช่นนี้ได้

วันนี้ดอทจึงรวบรวมเงื่อนไขและไอเดียที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับน้ำท่วมได้ดีขึ้น อย่างน้อยก็ต้องเตรียมรับมือกันสักนิดเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคต

เงื่อนไขของบ้านที่ต้องอยู่ร่วมกับน้ำ

The modern home interiorในกรณีที่เราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงไม่รู้ว่าวันไหนน้ำจะเข้ามาหาเราบ้าง อย่างน้อยเราควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการเตรียมการให้มันเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ มีอะไรบ้างไปดูกัน

สร้างด้วยวัสดุที่สามารถอยู่กับน้ำได้อย่างน้อย 72 ชั่วโมง

หากถึงเวลาต้องเตรียมตัวรับน้ำจริงๆ คุณควรทำให้แน่ใจว่าในพื้นที่รับน้ำของคุณจะไม่มีอะไรที่พังหรือเสียหายเมื่อเจอน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่เป็นโครงสร้างของที่พักอาศัยหรือค้ำยันบางอย่างเอาไว้ ตัวอย่างของสิ่งที่สามารถอยู่ในน้ำได้คือ คอนกรีต กระเบื้องเซรามิก ไม้อัดทนแรงดัน กาวกันน้ำ เป็นต้น หากเป็นประเภทไม้ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นไม้แท้ทั้งหมดไม่ใช่การปิดผิวหน้าเพราะอาจเสียหายถึงโครงสร้างหรือรูปทรงได้หากโดนน้ำนาน

ติดตั้งช่องระบายน้ำ

หากเลือกได้หลายคนคงเลือกที่จะกันนานออกจากตัวบ้าน บางคนเลือกก่อปูนขึ้นบริเวณทางเข้าที่น้ำสามารถเข้าไปได้เพื่อกันน้ำไว้นอกบ้าน แต่ในช่วงเวลาที่น้ำมาในปริมาณมากจริงๆ เราแนะนำให้คุณเลือกรักษาโครงสร้างของบ้านที่อาจถูกแรงดันน้ำทำให้เสียหายด้วยการเปิดให้น้ำเข้ามาด้านในตัวบ้านแทนมากกว่าดังนั้นในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมหนึ่งในการเตรียมรับมือคือการติดตั้งช่องระบายน้ำจากในตัวบ้านเพื่อระบายน้ำออกมา

จัดสนามหญ้าให้เอียงลาดไปจากตัวบ้าน

หลายคนคงรู้ว่าการมีต้นไม้มาช่วยดูดซับน้ำเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันน้ำท่วมที่ดีแต่ในด้านประสิทธิภาพการดูดซับน้ำนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะกับสนามหญ้าที่ไม่ได้มีกำลังซับน้ำมากขนาดที่เราจะหวังพึ่งได้ในเวลาน้ำท่วม กลับกันหากเรามีสนามหญ้าใกล้ตัวบ้านหรือมีการเอียงเข้าหาตัวบ้านกลับจะทำให้น้ำเข้าบ้านเร็วขึ้นไปอีก ดังนั้นตรงจุดนี้ลองเปลี่ยนให้สนามหญ้าเอียงออกจากตัวบ้านและใช้ดินที่ไม่ดูดน้ำมากนักมาปลูกเพื่อนำทางน้ำให้ไปยังจุดระบายที่มันควรจะไป

ไอเดียการออกแบบบ้านสำหรับรองรับน้ำ

ในความเป็นจริงเราต่างก็รู้ว่าการปล่อยให้น้ำเข้าบ้านนั้นนอกจากจะสร้างความเสียหายแล้วยังสร้างความยุ่งยากอย่างมากด้วยเพราะหลังจากน้ำท่วมได้จากไปที่ตามมาก็คือการทำความสะอาดครั้งใหญ่กับการประเมินความเสียหายที่แสนเจ็บปวด ดังนั้นเราจึงเตรียมไอเดียสำหรับบ้านที่เหมาะกับพื้นที่รับน้ำมาด้วย

บ้านลอยได้

หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างกับการสร้างบ้านลอยน้ำที่เมื่อถึงเวลาน้ำมาแล้วตัวบ้านก็จะลอยขึ้นอยู่เหนือระดับน้ำคล้ายกับเรือแต่จะไม่โยกคลอนที่เคลื่อนไปตามน้ำเพราะรอบตัวบ้านจะมีการยึดกับเสาสูงเอาไว้ หากน้ำขึ้นบ้านจะลอยขึ้นตามเสาขึ้นไปด้วยจึงไม่โยกคลอน 

นอกจากตัวบ้านที่ลอยขึ้นได้แล้วการก่อสร้างและระบบต่างๆ ในบ้านเองก็ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้สามารถกันน้ำเข้ามาเช่น การใช้วาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล หน้าต่างที่ต้องป้องกันน้ำได้ การติดตั้งระบบระบายอากาศและอีกมากมายเพื่อรองรับการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง

บ้านยกใต้ถุน

บ้านยกใต้ถุนหรือการยกระดับบ้านให้สูงกว่าระดับน้ำเป็นรูปแบบบ้านที่เราคนไทยคุ้นเคยกันดีทีเดียว และยังเป็นทางแก้ที่สามารถใช้จริงได้ทันทีอีกด้วย นอกจากการเว้นชั้นใต้ถุนบ้านแบบบ้านเราแล้วยังมีการออกแบบบ้านที่เว้นชั้นล่างเอาไว้ ไม่ปล่อยโล่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของเราแล้ว

https://www.archdaily.com/search/all?q=floods&ad_source=jv-header

https://www.houselogic.com/finances-taxes/home-insurance/protect-yourself-and-your-home-flooding/