ปัญหา ทางเข้าบ้านโดนปิดทางเข้าออก จากเจ้าของโฉนดที่ดินจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

โฉนดที่ดิน

วันนี้เรามี เคส ที่น่าสนใจมาฝากอาจจะเป็นประโยชน์กับใครหลายๆท่านที่กำลังเจอกับปัญหานี้ คือเจ้าของ โฉนดที่ดิน ได้ปิดทางเข้าออก ซอยหมู่บ้าน จากที่10ปีก่อน ไม่มีการปิดทางเข้าออก แต่อย่างใด โดยเรื่องราวครั้งนี้เป็นของคุณ สมาชิกหมายเลข 4667987  โดยเราไปฟังเรื่องราวแบบเต็มต่อกันได้เลยคะ

 

ชาวบ้านเดือนร้อน เจ้าของโฉนดที่ดินได้ ปิดทาง เข้าออก ซอยหมู่บ้าน  BY คุณ สมาชิกหมายเลข 4667987

โฉนดที่ดินพื้นที่ ที่ดิฉันอาศัยอยู่ตอนนี้   โดนปิดทาง เข้าออก โดยบริษัทหนึ่งที่เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินค่ะ โดยเขาได้นำรั้วกั้นไฟฟ้ามาปิด และให้ข้อเสนอว่าต้องจ่ายเงินเป็นรายเดือน เพื่อให้ได้บัตรผ่านทางเข้าออกค่ะ หรือถ้าไม่จ่าย จะต้องเสียค่าที่จอดรถเป็น ชม.ค่ะ  ในซอยที่ดิฉันอยู่นั้น มีบ้านเรือนหลายหลัง มีร้านค้าจำนวนหนึ่ง ต้องทำการค้า  มีลูกค้าสัญจรเข้าออกตลอด

แต่ตลอดระยะที่ผ่าน เกิน10ปี ไม่มีการปิดทางเข้าออกเช่นนี้นะคะทางเข้าออกมี3ทาง ปิดทั้งหมด  ปิดทั้ง3ทาง มียามเฝ้าประตูทางออกแค่ทางเดียวด้วย คือถ้ามีเรื่องเดือนร้อน เช่น รถพยาบาล ต้องอ้อมมาเข้าอีกฝั่งของถนนอ่ะค่ะ เลยคิดว่าไม่สะดวกเลย สำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยกัน  นอกจากยินยอมจ่ายให้เค้าไป อยากทราบว่า ทำอย่างไรได้บ้างคะ ทุกๆบ้านเรือนเดือดร้อน จะรวมตัวกันฟ้อง จะชนะไหมคะ

 

ทางออกของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา

โฉนดที่ดิน

จากที่อ่านดูแล้วนั้น ที่ดิน ที่คุณ สมาชิกหมายเลข 4667987 เล่ามานั้นน่าจะ ตกอยู่ในภารจำยอมตามมาตรา 1387 และเจ้าของซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์หลัก ที่เรียกว่า สามานยทรัพย์ หรือเรียกว่า เป็นที่ดินที่ได้ประโยชน์จากการใช้ทางเข้าออกในทางภาระจำยอม ถ้าจะฟ้องศาล ต้องใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ที่กล่าวว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ (แต่ต้องมีเจตนาแย่งการครอบครองโดยเจ้าของไม่ยินยอมคะหรือใช้โดยพลการไม่ใช่เพียงการถือวิสาสะใช้)

โดยเจ้ามาตรา 1387 มีว่า อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุ ให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงด เว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์  ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น  และ มาตรา 1401 ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2550  ครอบครองปรปักษ์ ภาระจำยอม  พิพากษาว่า การได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หรือก็คือ   จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามยทรัพย์(อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของได้รับประโยชน์เหนืออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่ตกอยู่ในภาวะจำยอม, คู่กับ ภารยทรัพย์.)

ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผยและด้วยเจตนาจะได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แต่การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้านหรือซอยตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อกันของคนในสังคม

ดังนั้น การใช้ทางพิพาทของโจทก์ก็เข้าอยู่ในลักษณะเช่นว่านี้   กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยนานกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 นั้นเอง

สรุปเจ้าของกระทู้อาจจะต้องฟ้องศาลเพื่อ ให้ได้ ทางจำเป็น ตามหลักกฎหมาย หรือซื้อที่เขาเพื่อเป็นทางออกคะ หรืออาจจะต้องยอมจ่ายเงินสำหรับทางเข้าออกให้แก้เจ้าของที่ดินต่อไปค่ะ

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …