ประกันสังคม ขึ้นค่าหัว !!! ในขณะที่ผู้ประกันตนต้องการคุณภาพบริการที่ดีขึ้น

ประกันสังคม,สิทธิประกันสังคม,เช็คสิทธิประกันสังคม,เงินคืนประกันสังคม,เงินประกันสังคม,กองทุนประกันสังคม
ประกันสังคม,สิทธิประกันสังคม,เช็คสิทธิประกันสังคม,เงินคืนประกันสังคม,เงินประกันสังคม,กองทุนประกันสังคม
ประกันสังคม,สิทธิประกันสังคม,เช็คสิทธิประกันสังคม,เงินคืนประกันสังคม,เงินประกันสังคม,กองทุนประกันสังคม
ประกันสังคม,สิทธิประกันสังคม,เช็คสิทธิประกันสังคม,เงินคืนประกันสังคม,เงินประกันสังคม,กองทุนประกันสังคม

คณะกรรมการ “ ประกันสังคม ” กำลังจะพิจารณาขึ้นค่าหัวให้โรงพยาบาล ในขณะที่ ผู้ประกันตนต้องการคุณภาพบริการที่ดีขึ้น การประชุมคณะกรรมการประกันสังคม ในช่วงปลายเดือน พ.ค. นี้ จะพิจารณาปรับค่าหัวให้กับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลังจากที่ก่อนหน้านี้ สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเรียกร้องให้ขึ้นค่าหัวที่ไม่ได้ปรับมา 6 ปี

โดยข้อเสนอจะเพิ่มค่าหัวจาก 1,460 บาท เป็น 1,500 บาท เพื่อไม่ให้โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ขาดทุน รวมถึงจะมีการพิจารณาเพิ่มเงินส่วนอื่นให้กับโรงพยาบาลด้วย เช่น ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับโรคเรื้อรัง และการจ่ายเพิ่มสำหรับการรักษาที่มีค่ารักษาพยาบาลเกิน 1,000,000 บาท

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำนักงานปประกันสังคมได้ประเมินสถานการณ์ในปี 2560 พบว่า สถานพยาบาลมีต้นทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีปริมาณการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มค่าหัวจะครอบคลุมทุกรายการตั้งแต่เหมาจ่ายค่าหัว, โรคเรื้อรัง, โรคที่ต้องใช้ยาราคาสูง และต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการรักษา

ทั้งนี้จำนวนผู้ประกันตนและค่าใช้จ่ายด้านพยาบาลที่กองทุนประกันสังคมจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2557 มีการใช้บริการการแพทย์ 31.2 ล้านครั้ง มีค่าใช้จ่ายพยาบาล 34,266 ล้านบาท ต่อมาปี 2558 เพิ่มขึ้นเป็น 32.2 ล้านครั้ง มีค่าใช้จ่ายพยาบาล 36,693 ล้านบาท

นางอรุณี ศรีโต กรรมการประกันสังคม ฝ่ายลูกจ้าง ให้ความเห็นว่า การเพิ่มค่าหัวประกันสังคม เป็นเรื่องที่มีเหตุผลความจำเป็น แต่ผู้ประกันตนควรได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหรือมีการตรวจสุขภาพ และคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลต้องดีขึ้น เพราะที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนถึงปัญหาการให้บริการและคุณภาพยา

ซึ่งหากเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคม จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดทั้งในส่วนโรงพยาบาลและสำนักงานประกันสังคม โดยที่ผ่านมาการประกันตนยังได้รับบริการเทียบเท่ากับบัตรทอง หรือมากกว่าบัตรทอง เพราะผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเอง

และถ้าเปรียบเทียบพฤติกรรมการรักษาพยาบาล จะพบว่า ประชาชนใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนมากกว่าโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งโพลล์ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปี 2560 ระบุว่า ประชาชนใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน 25%, คลินิกเอกชน 14% และใช้บริการโรงพยาบาลรัฐ 16% แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยตั้งข้อสังเกตว่า จำนวนผู้ป่วยคนไทยในโรงพยาบาลเอกชนปีนี้จะไม่เพิ่มขึ้น ทำให้โรงพยาบาลหันไปพึ่งคนไข้ต่างชาติมากขึ้น

สอดคล้องกับความเห็นของ นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่มองว่า โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งออกจากประกันสังคม เพื่อไปให้บริการผู้ป่วยต่างชาติ หลังจากนี้ สำนักงานประกันสังคมอาจต้องพิจารณาปรับค่าหัวทุกปีเหมือนบัตรทอง เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนค่าแรงและเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  sanook.com

ต้องการซื้อ-เช่ !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย