สร้างบ้านบนที่ดินหลวงเกิน 30 ปี จะครองที่ดินถาวรได้ไหม?

ที่ดินหลวง

ต้องบอกก่อนนะค่ะว่าการรุกล้ำเขต ที่ดินหลวง จะตั้งแต่ 1 เดือน หรือ 1 วัน ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ที่นี้ก็มีหลายๆท่านที่ไม่ทราบหรือรู้แต่จะให้ทำไงก็รุ่นปู่รุ่นย่าสร้างบ้านอาคารรุกร้ำที่ดินหลวงมานานเกิน 30-40 ปี และอาจจะเพิ่งมาทราบตอนที่เราอาจจะขายที่ดิน หรือทางภาครัฐกำลังจะนำที่ดินนั้นไปใช้ประโยชน์ของประเทศ ทำให้จำเป็นต้องรื้อถอนโดยด่วน  ทีนี้หากอยู่อาศัยมานานเราจะสามารถฟ้องกรมทางหลวงเพื่อครอบครองปรปักษ์ เขตที่ดินที่เราปลูกบ้านหรือกรณีที่บริเวณบ้านบางส่วนที่ล้ำออกไปได้ไหม เดี๋ยวเราไปหาคำตอบกัน

สร้างบ้านบน ที่ดินหลวง เกิน 30 ปี จะครองที่ดินถาวรได้ไหม?

ที่ดินทางหลวงต่อให้เราอยู่อาศัยเป็นร้อยปีก็ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ที่ดินหลวงแตกต่างจากที่ดินของบุคคลทั่วไปโดยที่ของคนทั่วไป ครอบครองปรปักษ์ได้ในกรณีที่ ที่ดินนั้นไม่ได้มใช้ประโยชน์ ได้แก่ เจ้าของที่ดินตายไปไม่มีใครมารับช่วงต่อลูกหลานไม่มี กรณีนี้สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ แต่ที่ดินหลวงแตกต่างออกไปเพราะ โดยแบบได้ดังนี้

1.ที่ดินของรัฐถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งทรัพย์สินของแผ่นดินก็เมือนทรัพย์สินของเอกชนทุกประการ ยกเว้นเรื่องเดียว ตาม ปพพ.มาตรา 1307 คือ ห้ามมิให้ยึดเท่านั้น ดังนั้นที่ดินของรัฐจึงมีผลตามกฎหมายเหมือนที่ดินของเอกชนทุกประการ ยกเว้นตาม ม.1307 ที่กล่าวมาข้างต้น

2.สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็เป็นไปตาม ปพพ. มาตรา 1304 และเป็นไปตาม ปพพ.1305 -1306 คือ ห้ามโอนให้แก่กัน และยกอายุความขึ้นต่อสู้กับรัฐไม่ได้

3.ที่ราชพัสดุ ตาม พรบ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 บัญญัติไว้ พอสรุปความรวมๆ ว่า ที่ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน(ปพพ. 1304 (1)และ(2)) นั่นเอง ดังนั้น ที่ราชพัสดุก็เป็นทรัพย์สินของรัฐ จึงเป็นไปตามคำตอบของข้อ 1. ส่วนที่ว่าที่ราชพัสดุจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสำคัญว่า ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อสาธารณประประโยชน์หรือไม่ ถ้าใช่ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

ฐานความผิดบุกรุกที่ดินของรัฐและที่ดินราชพัสดุ

โดยความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง  บุกรุกที่ราชพัสดุเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามกฎหมายที่ดิน ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้อันมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหากแต่หากพื้นบ้านบางส่วนรุกล้ำทางหลวง

ในกรณีนี้จะสามารถเอาที่ดินนี้เป็นของตัวเองได้มีกรณีที่   ที่ดินที่ปลูกบ้านจะต้องเคยเป็นของเจ้าบองบ้านทั้งหมดก่อนและโดยภาครัฐเคยเวนคืนที่ดินเพื่อสร้าง โครงการต่างๆ ทำให้บางส่วนของตัวบ้านตกเป็นพื้นที่ของรัฐ แต่พอนานวันโครงการที่รัฐจะสร้างอาจจะไม่ได้สร้างหรือสร้างแต่ไม่ได้สร้างเต็มพื้นที่ส่วนที่เวนคืน ทำให้พื้นที่สิ่งก่อสร้างรุกล้ำที่ดินรัฐยังไม่รื้อถอน ทำให้เรียกที่ดินนี้ได้ว่ารัฐไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด จึงอยากได้ที่ดินคืน จะเข้าพรบ.ว่าด้วยการเวนคืน 2562 กำหนดไว้ในมาตรา 53 ว่าหากที่ดินไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์หรือเหลือจากการใช้ประโยชน์ เจ้าของเดิมหรือทายาทมีสิทธิขอคืน โดยในบทเฉพาะกาลมาตรา 67 กำหนดให้สิทธิขอคืนย้อนหลังไปถึงปี 2521แต่เริ่มนับ 5 ปีนับแต่วันที่ พรบ.ว่าด้วยการเวนคืน 2562 ใช้บังคับ (30 พฤษภาคม 2562) โดยตัวเจ้าของบ้านหากอยากได้ที่ดินคืนจำเป็นต้อง  คืนค่าเวนคืนที่ดินตามสัดส่วนที่เกินและต้องเสียดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี ตามมาตรา 54 อ่านมาตราแบบละเอียด 

ทำเลทอง

SAM เทกระจาด เปิดขายบ้านที่ดิน ทำเลทอง  ในราคาต่ำกว่าเกณฑ์

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก