เซ็นยกบ้านให้สามีหรือภรรยาหลังหย่า แต่ไม่ได้ไปทำที่กรมที่ดิน ถือว่าเป็นเอกฉันทร์หรือไม่

เซ็นยกบ้าน

มีหลายเคสมากที่เกิดขึ้นกับปัญหาการเซ็นยกบ้านที่ดินให้แล้วแต่ไม่ได้ไปทำที่กรมที่ดิน อย่างเช่นการที่สามีและภรรยาได้จดทะเบียนหย่าร้างกัน และทำการเซ็นยกบ้านให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยที่ไมการเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าวมีเพียงพยานรู้เห็นเป็น จนท. เขต แต่ไม่ได้ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน ซึ่งวันนี้เราจะนำเสนอว่าเพราะเหตุใด การเซ็นยกบ้านจึงยังไม่เป็นอันสมบูรณ์

 

การเซ็นลายลักษณ์ต้องทำที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น

การที่มีการเซ็นยกบ้านและที่ดินเกิดขึ้นเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรโดยที่ไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดินนั้น แม้จะมี จนท.เขตเป็นพยานแล้วก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นการเซ็นต์ยินยอมที่ไม่เป็นเอกฉันทร์ จะใช้ยืนยันกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินไม่ได้ เป็นการเซ็นรับรู้ระหว่างผู้ให้และผู้รับเท่านั้น แม้จะเป็นสามีและภรรยาที่หย่าร้างกันก็ตาม  จำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องนำข้อตกลงนั้นไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อให้มีชื่อคนใดคหนึ่งเพียงคนเดียวบนโฉนดตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายที่มีร่วมกัน 

 

หลักฐานและเอกสารต่างๆที่ต้องนำไปด้วย

หลักฐานที่จะต้องนำมาด้วย ณ สำนักงานที่ดิน จะต้องมีโฉนดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ใบสำคัญการหย่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตลอดจนหลักฐานประจำตัวอื่นๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำไปประกอบการจดทะเบียน

 

ไม่สะดวกไปด้วยตนเอง

หากไม่สามารถที่จะไปดำเนินการด้วยตนเองได้ สามารถทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมนำสำเนาประจำตัวของตนเองที่รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว มอบให้กับผู้รับมอบอำนาจที่จะต้องไปดำเนินการแทนตน โดยที่หนังสือการมอบ จะต้องระบุชัดเจนว่าขอรับรองการกระทำผู้รับมอบอำนาจให้ถือว่าเป็นเหมือนการกระทำของผู้มอบอำนาจทั้งหมด พร้อมลาบเซ็นของ ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมพยานอย่าวน้อย 1 คน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

เซ็นยกบ้าน

 

 

ที่มา : กรมที่ดิน

มอบอำนาจที่ดิน กับข้อควรระวังและข้อบังคับต่างๆที่ต้องรู้มอบอำนาจที่ดิน กับข้อควรระวังและข้อบังคับต่างๆที่ต้องรู้

 

 

โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ฟรี กับซื้อขาย มีค่าใช้จ่ายและขั้นตอนต่างกันยังไง

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก