โดนจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมาย เอาผิดได้หรือไม่ ?

หนึ่งในปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดกวนใจจนในบางครั้งบางคราวถึงกับเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทจนเป็นข่าวใหญ่โตของผู้คนในสังคมเมืองคงหนีไม่พ้นปัญหาโดนจอดรถขวางหน้าบ้าน ซึ่งถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยจนหลายคนเลือกที่จะปล่อยวางไม่ตอบโต้หรือกระทำการใดๆ และหลายคนก็คงจะสงสัยว่ามีระบุวิธีการแนวทางแก้ไขไว้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายสามารถเอาผิดหรือมีบทลงโทษใดๆ กับผู้ที่กระทำความผิดได้บ้าง วันนี้เราจะนำมาตีแผ่ให้ทุกท่านได้เข้าใจกัน

Pic_1Image Credit : thainewsonline.co

อันดับแรกเลย พวกเราคงต้องเข้าใจบริบทว่าลักษณะการจอดรถขวางหน้าบ้าน นั้นเกิดขึ้นได้ในรูปแบบใดบ้าง และแต่ละการจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายได้กล่าวถึงไว้ในแง่มุมใดบ้าง

ลักษณะที่หนึ่ง การจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออกหน้าบ้าน 

เป็นลักษณะที่สร้างความปวดหัว ปวดใจ รวมถึงในบางครั้งบางเหตุการณ์นำมาซึ่งความสูญเสียต่อเจ้าของบ้านและพักอาศัยในบ้านดังที่เราคงเคยได้เห็นข่าว อันโด่งดังที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการโดยจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้าน จนเป็นเหตุทำให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยในบ้านไปโรงพยาบาลไม่ทัน หรือแม้แต่การไปสอบคัดเลือกไม่ทัน 

ซึ่งกรณีการจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออกหน้าบ้าน จอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์ที่จะจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เอกชน หรือ ทางสาธารณะ เพราะถือเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55 (6) ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ ซึ่งหากมีผู้ฝ่าฝืน ทางเจ้าของบ้านสามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืน ในความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

นอกจากนี้แล้วการจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายยังอนุญาตให้ผู้เสียหายสามารถที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ ตามมาตรา 420 และถ้าเป็นที่สาธารณะยังมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่ง ยกรถได้ รวมถึงกฎหมายยังอนุญาตในกรณีที่มีเหตุจําเป็นฉุกเฉินไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐได้ เจ้าของบ้านสามารถเคลื่อนย้ายรถด้วยกําลังได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นของนิรโทษกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 450 เพื่อนำรถที่ขวางทางเข้า-ออก นั้นออกจากบริเวณที่กีดขวาง

Pic_2Image Credit : thaipost.net

ลักษณะที่สอง กรณีที่มีรถมาจอดบริเวณหน้าบ้านแต่ไม่ขวางทางเข้าออกบ้าน

กรณีนี้มักจะพบได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำจนหลายคนคุ้นชิน และชินชากับปัญหาดังกล่าวนั้นก็คือ กรณีที่มีรถมาจอดบริเวณหน้าบ้านแต่ไม่ขวางทางเข้าออกบ้าน ซึ่งลักษณะแบบนี้ เกิดขึ้นได้ในหลากหลายบริบททางสังคม ซึ่งแต่ละบริบทนั้นคงต้องพิจารณาเงื่อนไข ความจำเป็นและมารยาทในการอยู่ร่วมกันเป็นหลัก เพราะโดยทางกฎหมายแล้ว การจอดในลักษณะบริเวณดังกล่าวที่ว่านั้น ในทางกฎหมายอนุญาตให้จอดได้เพราะไม่ได้สร้างความเดือดร้อน หรือเสียหาย แม้จะเป็นสิ่งที่ในบางครั้งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกรําคาญใจกับเจ้าของบ้านก็ตาม

ในกรณีแบบที่สองนี้ ซึ่งเป็นการจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายไม่ได้ระบุโทษไว้ เราจึงควรพิจารณาองค์ประกอบในหลากหลายด้านด้วยกัน ตัวอย่างเช่น รถที่มาจอดนั้น ไม่ได้จอดขวางหน้าบ้านแต่ทำให้ผู้อื่นสัญจรไม่สะดวก หรือการที่มีรถมาจอดด้านข้างกำแพงรั้วบ้าน สลับฟันปลา หรือ แม้แต่การที่มีรถมาจอดเป็นประจำโดยยึดเอาพื้นที่นั้นเป็นที่จอดประจำส่วนตัว และกรณีตัวอย่างสุดท้ายที่หลายคนจะเจอกันบ่อยนั้นคือการจอดโดยสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ อันก่อให้เกิดมลพิษต่อเจ้าของบ้านผู้พักอาศัยในบริเวณหรือไม่ หรือการจอดในลักษณะที่ทำให้เกิดการสัญจรเดินรถเกิดความยากลำบากหรือไม่ เพื่อวางแนวทางในการแก้ไขหากพบปัญหาดังกล่าวโดยสันติวิธี 

ตัวอย่างเช่น หากเกิดกรณีเช่นนี้ในหมู่บ้านเอกชน เจ้าของบ้านควรพูดคุยกับนิติบุคคลส่วนกลางในเรื่องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง ที่ส่งผลทําให้คนอื่นเสียเปรียบ ไม่ได้รับประโยชน์ แต่หากเป็นพื้นที่สาธารณะของรัฐ ก็ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของบ้านในระดับใด เพราะโดยทั่วไปแล้วกรณีอย่างที่สองนี้ ซึ่งเป็นการจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายไม่ได้ระบุโทษไว้ ส่วนมากจะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นจากรถของผู้ที่อาศัยอยู่ในละแวกบ้านใกล้เรือนเคียงกัน ซึ่งการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และการพิจาณาโดยหลักพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ใกล้ชิด คงเป็นทางออกที่สร้างความพอใจให้กับทุกฝ่าย เพราะขึ้นชื่อว่าเพื่อนบ้านแล้ว ผูกมิตรไว้คงดีกว่าการสร้างศัตรูอย่างเปิดเผยแน่นอน 

แต่หากรถที่มาจอดรอบๆ บ้านอันก่อให้เกิดความรำคาญนั้น เป็นรถจากพื้นที่อื่นๆ หรือคนที่สัญจรผ่านไปมาโดยมีจุดมุ่งหมายมาเพื่อทำธุระในละแวกบริเวณบ้านของเราแล้วเช่นบ้านอยู่ใกล้ ตลาด โรงเรียน หรือสถานที่สำคัญอื่นๆ คงต้องใช้ดุลพินิจในการแก้ปัญหาเป็นกรณีไป หากก่อความเดือดร้อนและรำคาญ คุณอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่เทศกิจหรือ ตำรวจจราจรให้คอยตักเตือนชี้แจงทำความเข้าใจ แต่หากการจอดรถขวางหน้าบ้านไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายหรือความยากลำบากในการใช้ชีวิตของคนในบ้านหรือในละแวกบริเวณนั้น และถือว่าเป็นการจอดรถขวางหน้าบ้าน กฎหมายไม่ได้ระบุโทษไว้ การฝึกที่จะปล่องวางคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่ออย่างน้อยสามารถรักษาใจของเราเองไม่ให้ตกอยู่ภายใต้ความรู้สึกด้านลบนั้นตลอดเวลาจึงขอฝากเตือนทิ้งท้ายให้คิดกัน

Pic_3Image Credit : js100.com

ที่มาแหล่งข้อมูล : http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A803/%A803-20-9999-update.htm