EIA คืออะไร ? ชวนทำความเข้าใจถาม-ตอบเรื่อง EIA

คำถามที่ว่า EIA คืออะไรนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในวงการอสังหาฯ ที่ใครหลาย ๆ คนละเลยและเลือกที่จะไม่ทำความรู้จักหรือมองข้ามความน่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งนี้ไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว EIA นี้เองที่ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงยังเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโลกของเราได้อย่างดีอีกด้วย ดังนั้นในวันนี้เราจึงอยากพาทุกคนไปพบกับบทความถาม-ตอบที่เกี่ยวข้องกับ EIA ว่าจริง ๆ แล้ว EIA คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรทั้งกับคนในชุมชนและผู้พัฒนา 

02_EIA คืออะไร(1)EIA คืออะไร ?

ก่อนที่จะเริ่มไปทำความรู้จักว่า EIA มีความสำคัญอย่างไร เรามาเริ่มทำความรู้จักกับความหมายของคำ ๆ นี้ก่อนว่า EIA คืออะไร

EIA หรือ Environmental Impact Assessment คือการประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง

ดังนั้นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจนิยามได้ว่าเป็น “กระบวนการเพื่อการบ่งชี้ ทำนาย ประเมิน และบรรเทาผลกระทบทางชีวกายภาพ สังคม และผลกระทบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่มีต่อข้อเสนอการพัฒนาใด ๆ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจให้ลงมือดำเนินการได้” วัตถุประสงค์ของการประเมินก็เพื่อให้เป็นการประกันได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมก่อนทำการอนุมัติให้ดำเนินโครงการที่มีผู้ขออนุญาตดำเนินการ เพราะไม่ว่าผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ต่าง ๆ จะเริ่มทำสิ่งใด ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดหรือนำกลับคืนมาไม่ได้ในการก่อสร้างครั้งนี้ จึงต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบเป็นอย่างมาก

02_EIA คืออะไร(2)EIA วิเคราะห์เรื่องอะไรบ้าง ?

การจัดทำ EIA  ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน ได้แก่

  1. ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
  2. ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น
  3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน
  4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต จะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม

02_EIA คืออะไร(3)ผู้ประเมิน EIA คือใคร ?

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักว่า EIA คืออะไรไปอย่างคร่าว ๆ แล้ว คราวนี้ลองมาดูกันบ้างว่าใครที่เป็นผู้ประเมิน EIA บ้าง ?

แน่นอนว่าในเบื้องต้นนั้นจะมีการทำแบบสอบถามเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบต่าง ๆ ให้กับผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนได้ทำการประเมินว่าหากมีการก่อสร้างอสังหาฯ บางอย่างที่บริเวณนี้จะมีผลกระทบอะไรตามมาบ้าง เช่น ฝุ่น เสียงก่อสร้าง หรือแม้กระทั้งพื้นที่สีเขียวที่อาจจะหายไป โดยเมื่อผู้ที่อยู่อาศัยในโซนใกล้เคียงหรือผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้ทำแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้ออย่างกองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป 

EIA Approved คืออะไร ?

สำหรับคำถามในข้อนี้ เป็นคำถามที่ต่อเนื่องมาจากข้อที่แล้วนั่นก็คือหากโครงการอสังหาฯ นั้น ๆ ได้รับการประเมินและพิจารณาแล้วว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ มากจนเกินไป ก็จะสามารถอนุมัติการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อได้ ดังนั้นจึงสามารถเข้าใจได้ว่า EIA Approved คือ ผ่าน EIA นั่นเอง

02_EIA คืออะไร(4)หากประเมิน EIA ไม่ผ่านจะเกิดอะไรขึ้น ?

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกโครงการที่จะผ่าน EIA Approved เพราะในบางครั้งเมื่อยื่นทำ EIA รอบแรกไปแล้ว แต่กลับพบการร้องเรียนจากผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนอีก ก็อาจจะทำให้ไม่ผ่านการพิจารณาเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น การสร้างโครงการคอนโดมิเนียมภายในชุมชมที่มีความหนาแน่นสูง ก่อนก่อสร้างก็ได้รับ EIA Approved ตามปกติ แต่หลังจากดำเนินการก่อสร้างแล้ว ผู้พัฒนาไม่ได้ทำตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เช่น อาจหละหลวมในเรื่องของเวลาในการสร้าง ซึ่งอาจทำให้ผู้อยู่อาศัยรอบ ๆ ได้รับมลพิษทางเสียงมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการร้องเรียน และไม่ผ่านการประเมิน EIA ได้เช่นกัน 

สำหรับผู้พัฒนาโครงการไหนที่ไม่ผ่านการประเมิน EIA ตั้งแต่ต้น เช่น แปลนอาคารบดบังเส้นทางลม วิว หรือเส้นทางการเดินทางมากเกินไป ผู้พัฒนาก็อาจจะต้องทำการปรับแปลนอาคาร หรือปรับทิศทางของอาคารใหม่ เพื่อให้ทำการก่อสร้างได้นั่นเอง

02_EIA คืออะไร(5)ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า EIA นั้นมีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อตัวผู้พัฒนาโครงการและผู้ที่อยู่อาศัย เพราะจะทำให้ตัวผู้พัฒนาโครงการเองได้ตระนักถึงความสำคัญของการอยู่อาศัยร่วมกันของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม มากกว่าการใช้พื้นที่เพื่อแสวงหากำไรโดยไม่คำนึงถึงข้อเสียต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถใช้พื้นที่และทรัพยากรต่าง ๆ ได้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุดอีกด้วย

อ้างอิง
http://www.onep.go.th/การประเมินผลกระทบสิ่งแ/