การอายัดทรัพย์สิน กับ การยึดทรัพย์ ของกรมบังคับคดี ต่างกันอย่างไร?

การอายัดทรัพย์สิน-1

จากที่เราเคยกล่าวไปแล้วกับกรณีของ “ การยึดทรัพย์ ” ครั้งนี้เราก็จะมาพูดถึง “ การอายัดทรัพย์สิน ” กัน ว่าเอ๊ะ!? แล้วมันจะแตกต่างจากการยึดทรัพย์ยังไง ไหนจะทั้งขั้นตอนและวิธีการอายัด ข้อกฎหมายที่นำมาใช้ในการดำเนินการ รวมไปถึงระยะเวลาในการดำเนินการ รู้ก่อน จัดการก่อน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวคุณเอง

การอายัดทรัพย์สิน จัดว่าเป็นวิธีการบังคับคดีรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช่การบังคับกับทรัพย์สินที่มีอยู่ในครอบครองของลูกหนี้โดยตรง โดยจะเป็นการบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นเงิน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นการสั่งให้บุคคลภายนอกมิให้ชำระหนี้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่เป็นการให้ชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแทน

วิธี การอายัดทรัพย์สิน

  1. มีหนังสือ (คำสั่ง) แจ้งไปยังบุคคลภายนอก ไม่ให้ชำระเงินแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแทน ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
  2. มีหนังสือ/หมาย (คำสั่ง) แจ้งการอายัดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบ และให้งดเว้นการจำหน่ายสิทธิเรียกร้องตั้งแต่ขณะที่ได้คำสั่งนั้นให้ (ตาม ป.วิ.พ มาตรา 316 วรรคสอง)

การอายัดทรัพย์สิน-2สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่อายัดได้

  1. เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเป็นรายเดือน

*อายัดได้แต่ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

  1. โบนัส

*อายัดร้อยละ 50

  1. เงินที่ตอบแทนกรณีออกจากงาน เงินส่วนที่ไมได้อายัดต้องคงเหลือไว้ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท
  2. เงินตอบแทนจากการทำงานเป็นชั่วคราว

*อายัดร้อยละ 30

  1. เงินฝากในบัญชีสถาบันการเงิน
  2. เงินปันผลหุ้น
  3. ค่าเช่าทรัพย์สิน
  4. ค่างวดตามสัญญาจ้าง

โดยทั้งนี้ทั้งนั้น หากลูกหนี้มีความจำเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถพิจารณาจากความจำเป็นของลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ไม่เกินครึ่งนึงของจำนวนเงินที่ทำการอายัดไว้เดิม ซึ่งลูกหนี้ต้องนำส่งหลักฐาน ประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานบังคับคดี อันได้แก่ หลักฐานความจำเป็นในการดำรงชีพ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าเลี้ยงดูบุพการี คู่สมรส บุตร เป็นต้น

สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่อายัดไม่ได้ (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302)

  1. เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นๆในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในกน่วยงานราชดาร

*ยกเว้น กรณีที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ

  1. เงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเน็จที่หน่วยงานราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยงานราชการ
  2. เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ที่นายจ้างจ่ายเป็นจำนวนรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
  3. เงินบำเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นเป็นจำนวน 300,000 บาท หรือจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
  4. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ
  5. เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  6. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  7. ค่ารักษาพยาบาลที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากสำนักงานประกันสังคม
  8. เงินตามสัญญากู้ยืมของลูกหนี้
  9. สิทธิเรียกร้องซึ่งยังไม่แน่นอนว่าลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับหรือไม่

ระยะเวลาในการบังคับคดี

มาตรา 274 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เห็นชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ ภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

การไต่สวนลูกหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สิน

มาครา 277 ถ้าเจ้าหนี้คชตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบแล้ว เจ้าหนี้อาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลทำการไต่สวนออกหมายเรียกลูกหนี้หรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์มาในการไต่สวนเช่นว่านั้น เมื่อมีคำขอเช่น ให้ศาลทำการไต่สวนตามกำหนดและเงื่อนไขใดๆที่เห็นสมควร

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

ยื่นคำขออายัดและส่งเอกสาร ดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือสำเนารับรองนิติบุคคลของเจ้าหนี้
  2. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้ผู้อื่นดำเนินการแทน)
  3. หลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องหรือสำเนาหนังสือสำเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น
  4. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ และบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน)
  5. สำเนาคำฟ้องและสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยในชั้นฟ้อง
  6. เอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด เช่น ให้เจ้าหนี้แถลงผลการชำระหนี้ วัน เดือน ปี ที่ได้รับชำระหนี้ภายนอก

ลูกหนี้ตามคำพิพากษา

ขอลดการอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ต้องดำเนินการ

  1. ยื่นคำร้องขออายัด ระบุความจำเป็น อัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ขอลด
  2. ส่งเอกสาร

– หนังสือรับรองเงินเดือน
– หลักฐานความจำเป็น

การสั่งลดอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

  1. ลดอายัดเงินเดือน,ค่าจ้าง

*ลดได้ไม่เกินร้อย 50 ของจำนวนที่อายัดไว้เดิม

  1. หากลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบกับคำสั่งจะทำการดำเนินการอย่างไร

*ร้องขอต่อศาล เพื่อขอให้ทำการกำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่

บุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 321)

เมื่อได้รับหนังสือ / คำสั่งอายัด ต้องดำเนินการ

– ส่งเงินตำจำนวน และภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด
– กรณีส่งเงินไม่ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้รีบแจ้งเจ้าหน้าพนักงานบังคับคดีโดยด่วน

การอายัดทรัพย์สิน-3การอายัดทรัพย์สิน-4ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่