ทำความเข้าใจ เอกสารสิทธิ์ ความต่างระหว่าง “เจ้าบ้าน-เจ้าของบ้าน-เจ้าของกรรมสิทธิ”

เอกสารสิทธิ์-1

สวัสดีค่ะ วันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งโดยวันนี้เรามีความรู้มาฝากกันอีกเช่นเคยโคยวันนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่อง เอกสารสิทธิ์ ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เช่น โฉนดก็เป็นชื่อเรา และเราได้ให้น้องสาวเซ็นเป็นเจ้าบ้าน ถ้า อนาคต เราเสียชีวิตไป น้องสาวที่เซ็นเป็นเจ้าบ้าน จะมีกรรมสิทธิทั้งที่ดินและบ้านหลังนั้นไหม หรือจะตกเป็นมรดกของลูกเราแทน เดี๋ยวเราไปรับฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ

เอกสารสิทธิ์-2มารู้จัก เอกสารสิทธิ์ ที่ดินกันก่อน

เอกสารสิทธิ์ที่ดิน คือ เอกสารที่เป็นตัวแทนถือครองกรรมสิทธิ์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละชนิดมีความหนักแน่นในการรับรองความเป็นเจ้าของได้ไม่เท่ากัน และในมุมของกฎหมายเองก็ไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้การใช้ประโยชน์แตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น วันนี้เราก็เลยจะขอเสนอเรื่องชอง “เอกสารสิทธิที่ดิน” ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพค่ะ เริ่มกันที่ประโยชน์ของ “เอกสารสิทธิที่ดิน” กันก่อน  ประการแรก คือ เพื่อให้เจ้าของที่ดินเกิดความมั่นคงในกรรมสิทธิ์ และใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ์ต่อรัฐและเอกชน ประการที่ 2 คือ ใช้เป็นสื่อกลางเช่นเดียวกับ หุ้น หรือพันธบัตรในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “อสังหาริมทรัพย์”  ก่อนจะไปพบข้อมูล เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ ครุฑเขียว ครุฑดำ ครุฑแดง ทั้ง3สี มีความแตกต่างกันอย่างไร หากท่านผู้อ่านไม่ทราบสามารถทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที:ความต่างระหว่างทั้ง 3สี ของครุฑบนหัวโฉนดที่ดินต่างกันอย่างไร 

เอกสารสิทธิ์ที่ดิน แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทด้วยกัน

เอกสารสิทธิ์-3

  1. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นเหมือนใบที่จะแสดงหลักฐานแสดงสิทธิว่าเราครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ส่วนการใช้งานตามกฎหมายนั้น จะใช้เพียงแค่การแสดงเจตนาการสละการครอบครองและพร้อมส่งต่อให้กับผู้อื่นเท่านั้น

2.ใบจอง (น.ส. 2) หนังสือที่ราชการออกให้เพื่อแสดงการยินยอมให้ครอบครอง ทำประโยชน์จากที่ดินแบบชั่วคราวเท่านั้น

3.หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ หนังสือที่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่แล้วว่าได้ทำประโยชน์ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

  • น.ส. 3 สำหรับผู้ครองที่ดินทั่วๆไป ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีรูปถ่ายระวางอากาศ
  • น.ส. 3 ก. ออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ โดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดิน ซึ่งหนังสือชนิดนี้ นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออกให้
  • น.ส. 3 ข. ออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ และรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ ในการปฎิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งหนังสือชนิดนี้เจ้าหน้าที่พนักงานที่ดินเป็นผู้ออก

4.ใบไต่สวน (น.ส.5) คือ หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน ทำให้ทราบว่ามีการสอบสวนสิทธิที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินได้

5.โฉนดที่ดินหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แสดงให้เห็นว่าผู้ถือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นๆอย่างสมบูรณ์

6.หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเจ้าของห้องชุดจะมีกรรมสิทธิ์ใน “ทรัพย์ส่วนบุคคล” และยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมใน “ทรัพย์ส่วนกลาง”

แล้วถ้าเจ้าของโฉนดเสียชีวิต แต่คนอื่นเซ็นเป็นเจ้าบ้าน บ้านจะตกเป็นของใครกัน

เอกสารสิทธิ์-4โดยถ้าในกรณีนี้ต้องแยกระหว่างเจ้าบ้านและเจ้าของบ้าน  โดยที่ เจ้าของบ้าน   คือผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านหลังนั้นๆ ( คือมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดเท่านั้น  )โดนจะสามารถมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับบ้านได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการขาย สามารถที่โอน ย้าย รวมทั้งยังสามารถยกให้ผู้อื่นได้ แต่จะไม่สามารถจัดการแทนเจ้าบ้านได้ เช่น ไปทำการแจ้งเกิดคนในบ้าน  แจ้งย้ายที่อยู่คนในบ้าน  แจ้งตายคนในบ้าน รวมไปจนถึง เรื่องที่เกี่ยวกับเจ้าบ้านที่ต้องทำโดยที่ ไม่สามารถทำแทนที่ เจ้าบ้านได้นั้นเอง แต่ถ้าผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์อยากจะทำในส่วนเจ้าบ้านละจะทำได้ไหนทำได้ก็แค่เปลี่ยน เจ้าบ้านเป็นซื้อผู้มีกรรมสิทธิ์แทนแค่นั้นเองละค่ะ

ทีนี้ในส่วนเจ้าบ้านละทำหน้าที่อะไรบ้าง โดยตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร เจ้าบ้าน คือ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยเจ้าบ้านเป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน  นั้นเองค่ะถ้าในกรณีตัวอย่างที่เราจะกล่าวมานั้นเมื่อถ้าเราเสียชีวิตโดยเรานั้นเป็นผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านหลังนี้ กรรมสิทธิจะตกไปยังน้องสาวของน้องสาวที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านปัจจุบันหรือไม่ อันนี้จะขึ้นอยู่ที่เราผู้มีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้านหลังนี้ เราได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้กับน้องสาวหรือลูกเรา แต่เราถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ทรัพย์สินดังกล่าวก็จะเป็นทรัพย์มรดกที่จะตกไปยังทายาทโดยธรรมนั้นเองค่ะ โดยลูกเราก็แค่ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่  แล้วถ้าลูกเรามีหลายๆคนละจะทำอย่างไร เราก็แค่ให้ลูกๆตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้จัดการมรดก เพื่อที่จะสามารถจัดการแบ่ง ทรัพย์สินและมรดก นั้นเองค่ะ

เพิ่มเติม ทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย  เมื่อเจ้ามรดกตาย  สามารถจำแนกได้เป็น  2  ดังนี้

เอกสารสิทธิ์-51.1.  ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติสืบสายโลหิต  หรือผู้มีสิทธิตามกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๖๒๙   สามารถจำแนกออกได้เป็น  6 ลำดับ  คือ

  • ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาของเจ้ามรดก  ได้แก่ บุตร  หลาน  เหลน  รวมถึงบุตรนอกกฎหมาย  ที่บิดารับรองแล้ว
  • บุพการี  หมายถึง  บิดามารดา
  • พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  • พี่น้องร่วมบิดา  หรือร่วมมารดาเดียวกัน
  • ปู่ ย่า  ตา ยาย
  • ลุง ป้า น้า อา

โดยที่ทายาททั้ง  6  ลำดับนี้ จะสามารถเรียงลำดับในการรับสิทธิก่อนและหลังตามตัวเลขที่กฎหมายระบุไว้  เว้นแต่ทายาทลำดับ1 ผู้สืบสันดาน  และ ทายาทลำดับ 2 ที่มีสิทธิได้รับมรดกด้วยกัน  ตัวอย่างง่ายๆคือถ้ามีลูกต้องได้รับก่อนหลานๆเป็นต้น

2.2  ทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส ซึ่งอาจเป็นสามีหรือภรรยาของเจ้ามรดก และต้องชอบด้วยกฎหมาย ถ้าหย่าร้างโดยที่มิได้มีการหย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ก็ยังจะถึงว่าสามารถที่จะเป็นทายาทรับมรดกซึ่งกันและกันได้  ซึ่งคู่สมรสนี้กฎหมายถือว่าสิทธิในการรับมรดก  ถือเสมือนเป็นทายาทลำดับต้นนั้นเองค่ะ

ดังนั้นถ้าหากเราเสียชีวิตไปแล้วบ้านจะตกไปเป็นของลูกๆผู้ที่ถือครองกรรมสิทธิ์ นั้นเองค่ะหาใช่ผู้เป็นเจ้าบ้านค่ะ  หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับความรู้มากยิ่งขึ้นนะค่ะแล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่