ภาษีการรับมรดก


ภาษีมรดก เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากพ่อ-แม่ คนในครอบครัว หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เสียชีวิตลง ให้กับทายาทหรือผู้รับมรดก โดยเป็นการเรียกเก็บที่นิยมทำกันในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษี หรือเรียกว่าเก็บภาษีตามฐานะ โดยจะคำนวณจากทรัพย์สินในกองมรดกทั้งหมดที่ เป็นการจัดเก็บภาษีหลังการแบ่งมรดก โดยผู้รับมรดกแต่ละคนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งจะมีอัตราไม่เท่ากันตามจำนวนมรดกที่ได้รับ แต่ลำดับชั้นของสิทธิในการรับมรดก เช่น ผู้รับมรดกแบบคู่สมรสและผู้ที่รับมรดกแบบไม่ใช่คู่สมรส ซึ่งทั้งสองแบบนี้ก็จะต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าผู้ที่ได้รับมรดกที่ไม่ได้เป็นคู่สมรสโดยตรงก็จะเสียภาษีมากกว่าคู่สมรสโดยตรง เป็นต้น

 

สำหรับข้อดีของภาษีชนิดนี้ คือเมื่อแบ่งมรดกออกเป็นส่วน ๆ ให้ทายาทแต่ละคนแล้ว จะมีโอกาสที่ต้องเสียภาษีน้อยกว่า เพราะมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการจัดเก็บภาษีมรดก หากจำนวนมรดกที่ได้รับไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี

แต่ข้อเสียคือภาครัฐจัดเก็บภาษีได้ยาก และการเรียกเก็บเป็นรายคนต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการเก็บแบบรวมตกทอดจากผู้เสียชีวิตไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก

 

ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดก คือผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเรียงลำดับได้รับมรดกก่อนและหลังดังนี้ เมื่อเจ้าของมรดกถึงแต่กรรม ผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรสของเจ้าของมรดกใช่ หรือไม่ใช่ ถ้าใช่ผู้รับมรดกไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าผู้รับมรดกไม่ได้เป็นคู่สมรสของเจ้าของมรดกจะต้องเสียภาษีมรดก ซึ่งในการเสียภาษีมรดกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. เป็นบุคคลธรรมดา

ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องมาดูว่า มีสัญชาติไทยหรือไม่ได้มีสัญชาติไทยแต่ถ้าไม่ได้มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นฐานที่ตั้งอยู่ในอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีทั้งแบบที่มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทยแต่ว่าด้วยเรื่องของคนเข้าเมืองอย่างถูกต้องทั้ง 2 ประเภทนี้ เมื่อได้รับมรดกที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในไทยก็ไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในไทย ผู้ที่ได้รับมรดกแต่ละราย และเป็นยอดสุทธิทั้งในคราวเดียวกันหรือหลายคราวรวมกันแล้ว มีมูลค่ารวม 100 ล้านบาท และจะสามารถมาแยกเพื่อดูว่าผู้ที่ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน

ในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการีจะต้องทำการเสียภาษี 5% ของมูลค่ารวมของภาษีที่เกิน 100 ล้านบาท แต่ถ้าผู้ที่ได้รับมรดกไม่ใช่บุพการีของเจ้าของมรดกจะต้องเสียภาษีจำนวน 10% ของมูลค่ารวมของภาษีที่เกิน 100 ล้านบาท ในกรณีที่ผู้รับมรดกที่มีสัญชาติไทยถ้าหากพบว่ามีการรับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่นอกประเทศไทยก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันนั้นคือ มูลค่ารวมของภาษีที่เกิน 100 ล้านบาทถ้าเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานเป็นจำนวน 5% และ 10% ตามลำดับ

2. เป็นนิติบุคคล

ในกรณีที่เป็นแบบนิติบุคคลต้องตรวจสอบว่าเป็นการจดทะเบียนในประเทศไทยหรือไม่และจัดตั้งโดยกฎหมายไทยและต้องมีสัญชาติไทยเป็นผู้ถือหุ้น 50% ของทุนจดทะเบียน และต้องมีผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีอำนาจการบริหาร 50% ของกิจการ เมื่อได้รับมรดกที่ไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในไทยก็ไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในไทย เมื่อได้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในไทย ผู้ที่ได้รับมรดกแต่ละราย และเป็นยอดสุทธิทั้งในคราวเดียวกันหรือหลายคราวรวมกันแล้ว มีมูลค่ารวม 100 ล้านบาท และจะสามารถมาแยกเพื่อดูว่าผู้ที่ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน

ในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการีจะต้องทำการเสียภาษี 5% ของมูลค่ารวมของภาษีที่เกิน 100 ล้านบาท แต่ถ้าผู้ที่ได้รับมรดกไม่ใช่บุพการีของเจ้าของมรดกจะต้องเสียภาษีจำนวน 10% ของมูลค่ารวมของภาษีที่เกิน 100 ล้านบาท ในกรณีที่ผู้รับมรดกที่มีสัญชาติไทยถ้าหากพบว่ามีการรับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่นอกประเทศไทยก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันนั้นคือ มูลค่ารวมของภาษีที่เกิน 100 ล้านบาทถ้าเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานเป็นจำนวน 5% และ 10% ตามลำดับ

Info-Graphic-Aug-01
เมื่อเทียบกันแล้วจะพบว่า การรับภาษีมรดกทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคลจะพบว่า ทั้งสองแบบนี้ถ้าเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดทั้งที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย