ผู้เช่าบ้านหน้าใหม่ควรรู้ ‘เงินประกันการเช่าหอพัก’ เหตุไหนถึงเสียเหตุไหนถึงได้คืน

เงินประกัน

หากจะกล่าวกันถึงสิ่งที่เรียกว่าสถานที่พักอาศัยแล้ว แน่นอนว่า เป็นสิ่งจำเป็นไม่ว่าจะอยู่ในช่วงของชีวิตใดก็ตาม เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ไม่สามารถขาดไปได้ และเป็นเหตุผลที่ทำให้อสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นที่ต้องการแม้จะมีราคาที่สูงขึ้นสำหรับการได้มาในครอบครอง แต่ในทางหนึ่ง สำหรับใครที่ไม่อาจจะมีโอกาสเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะด้วยสภาพเศรษฐกิจ การเงิน หรือความจำเป็นทางด้านการงานที่ต้องเดินทางตลอดเวลา การเช่าที่อยู่อาศัย ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ แม้อาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาวกับเม็ดเงินที่เสียไปก็ตาม อย่างไรก็ตาม การเช่าเพื่อการอยู่อาศัย ย่อมมีข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย และ ‘ เงินประกัน การเช่า’ ก็จัดอยู่ในปัญหาดังกล่าวที่มักจะได้รับข้อกังขาสงสัย และเกิดเป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้เช่าและเจ้าของสถานที่อยู่มาโดยตลอด

เช่นนั้นแล้ว การทำความเข้าใจของสิ่งนี้ให้ถี่ถ้วน ก็อาจจะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลงไป สู่พื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกันได้ในปลายทางนั้นเอง โดยเดี๋ยววันนี้เราไปดูกันดีกว่าว่า  เงินประกันการเช่าหอพัก  เหตุไหนถึงเสียเหตุไหนถึงได้คืน เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย

เงินประกัน หอพัก คืออะไร?

เงินประกัน

ในการทำสัญญาเช่าสถานที่พัก หรือหอพักนั้น โดยปกติแล้วจะต้องมีการเซ็นสัญญาเพื่อรับทราบถึงเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงกฎและข้อปฏิบัติที่ผู้เช่าอยู่จะต้องทำตามอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์ ห้ามสูบบุหรี่ในที่พัก ห้ามพาคนนอกเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต จนถึงทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลของผู้ให้เช่า ที่จะต้องมีการปรับสินไหมทดแทนตามความเสียหายหรือชำรุดที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลา เหล่านี้ ถือเป็นที่พบเห็นได้เป็นปกติ ไม่ผิดแปลกแต่อย่างใด แต่จากเงื่อนไขการปรับเงินจากความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้น ทางเจ้าของสถานที่ก็จะทำการหักจากเงินที่ผู้เช่าอยู่อาศัยได้วางเอาเป็นเป็นส่วนแยกต่างหาก ซึ่งก็คือค่าประกันหอพักหรือที่อยู่อาศัยนั่นเอง

เงินประกันการเช่า กับระยะเวลาอยู่อาศัย

เงินประกัน

จากเหตุผลที่กล่าวไปในข้อข้างต้น ผู้เป็นเจ้าของสถานที่เพื่อเช่าอยู่อาศัย มักจะมีข้อกำหนดลงนามอย่างชัดเจนในสัญญาเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการหักเงินจากส่วนประกันสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ยังมีการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่ผู้เช่าเข้าพัก จะต้องอยู่อาศัยในสถานที่นั้นๆ เป็นเวลากี่เดือนตามแต่ที่จะกำหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับรองถึงผลประโยชน์และคุ้มครองในส่วนของผู้ให้เช่าพัก รวมทั้งผู้เช่าสามารถขอเงินประกันส่วนนี้คืนได้ หากอยู่อาศัยจนครบตามกำหนดเวลา (แต่โดยส่วนมากแล้ว มักจะไม่ได้ครบตามจำนวนเริ่มต้น จากการหักส่วนค่าบำรุงรักษาซ่อมแซมสภาพตามระยะเวลา)

การริบเงินประกัน: รับได้ตามสัญญา หรือว่าสิ่งที่ไม่สมควรในทางปฏิบัติ?

เงินประกัน

โดยส่วนมากแล้ว เงินประกันการเช่า โดยกระบวนการก็จะเป็นส่วนกลางที่ทางเจ้าของจะสามารถหักออกไปเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงสภาพห้องพัก ตามแต่ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการเข้าพัก ว่าจะต้องอยู่ในขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนปกติที่เป็นที่เข้าใจกันได้ หากแต่กรณีที่มักมีปัญหา กลับอยู่ที่การ ‘ริบเงินประกัน’ หากผิดเงื่อนไขเวลาเข้าพัก ที่มักเป็นจุดกังขาว่าสามารถทำได้จริง หรือสมควรแก่เหตุมากน้อยเพียงใด ในที่นี้ อาจจะกล่าวได้ว่า ขึ้นกับข้อสัญญาที่ทางผู้เช่าและเจ้าของสถานที่ได้ทำการตกลงกันไว้ในเบื้องต้น ‘รวมถึง’ กรณีที่จะมีการย้ายออก หรือยกเลิกสัญญา ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว ถ้าผู้เช่าที่อยู่อาศัย ทำการอยู่จนครบเวลา และมีการแจ้งล่วงหน้า เจ้าของสถานที่ไม่มีสิทธิ์ที่จะริบเงินประกันนี้เอาไว้ (เว้นเสียแต่การหักตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง) ทั้งนี้ การต่อสัญญา ในทางกฏหมายแล้ว จะเว้นช่วงระยะเวลาไว้ประมาณ 7 วัน จึงจะถือว่าเป็นการยอมรับไปโดยปริยาย ถ้าหากจะยกเลิก ต้องมาแจ้งหลังจากครบกำหนด สำหรับคนที่ต้องการจะย้ายออกด้วยความจำเป็นหรือความต้องการต่างๆ

 

แล้วปัญหาทั้งหมด เกิดจากความผิดของใคร?

เงินประกัน

แต่ทั้งนี้ ปัญหาอันเกิดจากเงินประกันการเช่าโดยส่วนมาก มักจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะมาจากทางฝั่งของผู้เช่า (ที่ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มี) หรือมาจากฝั่งเจ้าของสถานที่ (ที่ร่างหนังสือสัญญาด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อน ยากแก่การเข้าใจ…) ซึ่งยากแก่การติดตามผลหากไม่มีคู่สัญญาที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีอยู่ในมือ อันจะนำไปสู่สถานการณ์การถูกเอาเปรียบ ไม่ว่าจะจากฝั่งเจ้าของสถานที่ หรือฝั่งผู้เช่าที่หาทางหนีทีไล่หลบเลี่ยงความผิดก็ตาม

ทั้งนี้ ผู้เช่าควรตรวจสอบสภาพของห้องพักก่อนริเริ่มการทำสัญญา และควรขอคู่สัญญาที่จะทำการลงลายลักษณ์อักษรไว้เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการอ้างอิงในภายหลัง เพิ่มเติมสำหรับผู้เช่า: การทำสัญญาระยะเวลาเพื่อการเช่าอยู่ล่วงหน้าที่มากกว่า 3 เดือนนั้น อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง หรือย้ายถิ่นฐานและสถานที่ทำงานอยู่เป็นประจำ ขอให้พิจารณาในปัจจัยนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจ ว่าห้องเช่าดังกล่าวนั้น คุ้มค่ามากเพียงใด กับเงินที่ต้องวางประกันลงไปล่วงหน้า (และจะผูกมัดคุณกับสถานที่ดังกล่าวอีกระยะเวลาหนึ่ง)

ประกันอัคคีภัย

ทำไมต้องทำ ประกันอัคคีภัย เรื่องง่ายๆที่คนมีบ้านอย่างเราต้องรู้

 

 

ที่ดินเปล่า

เพราะอะไร ที่ดินเปล่า ธนาคารไม่รับค้ำประกัน

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก