เจาะประเด็น วางแผน รู้ทันกับดักหนี้บ้าน แบบรวดเร็ว

หนี้

หนี้สวัสดีค่ะวันนี้เรามาพบกับหนี้บ้าน ที่หลายๆคนยังไม่ทราบ โดยเป็นเรื่องเล่าของคุณ โจ มณฑานี  ดีเจชื่อดัง  ได้ เล่าเรื่องราว กู้บ้าน ให้ฟังเมื่อหลายปีก่อนว่าตอนเกิดปัญหาฟองสบู่แตก ตัวเธอเองก็ต้องแบบหนี้บ้านกว่า 3 ล้าน ทั้งยึดทรัพย์ ทั้งไฟไหม้ แต่ก็ยังผ่านความเลวร้ายช่วงนั้นมาได้ วันนี้เลยอยากนำมาบอกต่อกันอีกครั้ง เพราะเชื่อว่า คนไทยหลายๆ คนลืมไปแล้ว และ สำหรับคนที่จะคิดซื้อบ้านใหม่ ต้องอ่านและคิดตามเพื่อวางแผนและไม่ติด กับดัก หนี้ บ้าน อย่างที่คุณโจ เคยกล่าวไว้

หนี้ บ้านกับการเจาะประเด็น รู้ทันเพื่อวางแผนกันกับดักหนี้บ้าน แบบรวดเร็ว

ก่อนอื่นต้องบอกว่าไม่ได้จะกล่าวหา ธนาคารทุกแห่งในประเทศไทย แต่อยากให้คนไทยรับรู้ไว้ว่า  ธนาคารพาณิชย์ของไทย เป็นธนาคารประเทศเดียวที่กู้บ้าน พอยึดบ้านแล้วหนี้…ไม่มีวันจบ.. จนกว่าคุณจะใช้ดอกเบี้ยและหนี้ บาทสุดท้ายหมด ต่อให้คุณล้มละลาย ตั้งตัวได้ใหม่  ธนาคารในไทยก็จะตามไปเอาเงินและดอกเบี้ยมาได้อีก  ซึ่งต่างจากธนาคารในประเทศอื่นๆ ที่พอธนาคารยึดบ้าน หนี้ก็จบกัน ไม่มีการตามทวงหนี้ + ดอกเบี้ยย้อนหลังอีกเลยนี่คือสิ่งที่คุณโจได้เคยกล่าวไว้  เคล็ดลับที่อยากแนะนำคือ การบริหารเงิน การบริหารหนี้ที่มีอยู่ให้ลดน้อยลงก่อนการซื้อบ้าน หรือ คนที่ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ก็ควรจะจัดการบริหารหนี้ และ ควบคุมรายได้รายจ่ายต่างๆ เพราะในปัจจุบัน ค่าครองชีพสูงโดยมีปัจจัยจากค่าการตลาด ค่าความนิยม เป็นตัวแปร และ การใช้เงินที่ง่ายเพราะมีบัตรเครดิต รูดง่าย แต่จ่ายสิ้นเดือนกันแทบกระอัก ดังนั้นการควบคุมค่าใช้จ่ายและการบริหารยอดหนี้สิน ยอดรายได้ ยอดรายจ่าย ให้พอเหมาะรับรองได้ว่าคุณจะมีบ้านเป็นของตัวเองได้แน่นอนโดยไม่โดนยึด

 

หนี้

หนี้

หนี้

หนี้

สิ่งที่ควรทำในการบริหารเงินทั้งรับและจ่าย ก่อนการ กู้บ้าน

 

กู้บ้าน ต้องทำผังรายการหนี้สิน  (การวาดผัง เงินต้น + ดอกเบี้ย) ต้องมีเหตุผลต่อท้ายว่ากู้มาทำอะไร

 

ตรวจสอบรายการหนี้สินทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง ควรไล่เป็นอย่างๆ และ ระบุเหตุผลเพื่อมาวิเคราะห์ว่าสมควรหรือไม่ที่เราจะเป็นหนี้ หรือ หนี้ที่มีอยู่แล้วมันมาจากอะไร และ ควรแก้ไขให้เบาบางได้อย่างไร

 

ต้องมีเงินสำรองเลี้ยงชีพ  (รายจ่าย X จำนวนเดือนที่คิดว่าจะหางานใหม่ได้)  = เงินสดสำรองไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน( ตกงาน, ป่วย )

 

ต้องคำนวณก่อนว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่าไหร่ ส่วนรวมเท่าไหร่ หนี้สิน รวมได้เท่าไหร่ คูณกับจำนวนเดือนที่เราประมาณการไว้หากเราต้องเกิดเหตุ เช่น ตกงาน, ป่วย เงินก้อนนี้จะต้องมีเก็บไว้อย่างน้อยตอนที่ทำงานได้เราต้องฝากแบบไม่ต้องถอนเพื่อไว้สำรองเลี้ยงตัวเอง

หนี้ดี = หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้  เช่น ที่ดิน , บ้าน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เพิ่มมูลค่าในอนาคต บางคนอาจเหมาะรวมถึงการ ผ่อนซื้อทอง ซึ่งปัจจุบันบัตรสินเชื่อสามารถผ่อนได้ ซึ่งคนที่มีรายได้ไม่มากแต่สามารถผ่อนได้ก็มักเลือกการผ่อนทองเป็นสินทรัพย์เพราะทองไม่มีวันเสื่อมค่า

หนี้เลว = หนี้ที่เสื่อมค่า   เช่น คอมพิวเตอร์ , มือถือ ,รถยนต์ ไม่ใช่ทรัพย์สินเสื่อค่า (เมื่อขายราคาก็ตก มีค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อม ค่าเสื่อม ) การผ่อนสิ่งของเหล่านี้เป็นการผ่อนที่ทำให้เราเป็นภาระ เพราะบางคนนิยมวัตถุ ผ่อนหมดก็ผ่อนใหม่ เปลี่ยนใหม่ไม่มีวันจบ และ ยังทำให้เป็นหนี้ตลอดชีวิตถ้าไม่รู้จักพอ คือ ผ่อนหมดแล้วก็ควรหยุดและใช้ของที่ผ่อนมาจนกว่าจะเสื่อมสภาพ หรือ ไม่สามารถซ่อมได้อีก และ ควรเก็บเงินไว้ซื้อใหม่หรือเป็นเงินสำรองสำหรับผ่อนใหม่หากรวมเงินซื้อสดไม่ได้ หักไว้เป็นค่าเสื่อมก็ได้เช่น เก็บเดือนละ 300 สำหรับสำรองไว้ซื้อมือถือใหม่ หรือ เป็นค่าซ่อม ถ้ามีเงินเหลือพอก็เก็บมากกว่านี้ก็ได้

อิสระภาพทางการเงิน =  การไม่มีหนี้  ( โดยพยายามลดรายได้ให้มากที่สุด ปลดหนี้สิน ลดการซื้อทรัพย์สินเสื่อมค่า) การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ คุณทำได้หากเริ่มรู้จักบริหารการเงินของตนเอง เช่น ใช้บัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น อย่าซื้อสินค้าที่เรามีแล้วและไม่จำเป็น หรือ ยังใช้ได้ดีอยู่เช่น สมาร์ทโฟน อย่าขยันเปลี่ยนตามกระแส และ พยายามหักเงินรายได้ที่มีมาเป็นเงินสำรองต่างๆ เช่น สำรองค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมบ้าน ค่าซ่อมสิ่งของต่างๆ การอยู่อย่างพอเพียงจะทำให้คุณอยู่รอดได้อย่างมีความสุข

 

อย่าลืมว่าคุณผ่อนบ้านเพื่ออนาคตของคนที่คุณรักและครอบครัวดังนั้นหากคุณไม่บริหารการเงินให้ดี บ้านที่ลงแรงลงเงินไปก็อาจกลายเป็นของคนอื่นได้ง่ายๆ  จำไว้บางอย่างเราไม่ต้องใช้แพง ไม่ต้องกินแพง  ไม่ต้องเที่ยวแพง  อย่าคิดว่ารูดปื้ดแล้วจบแต่บิลมันจะทำให้คุณสลบได้