ปลดล็อกแนวโน้มอสังหาฯ โครงการที่อยู่อาศัยหลังวิกฤต ส่งสัญญาณตลาดที่ดี

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างหนักที่สุดในรอบประวัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น 

แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ช่วงที่ผ่านมาดูย่ำแย่และถดถอยอย่างรุนแรงในรอบหลายปี การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยทั่วโลกต้องหยุดชะงักอย่างฉับพลัน แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องยอมรับกับวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อย่างปฏิเสธไม่ได้ รวมถึงประเทศไทย ที่มีแนวโน้มอสังหาฯ ที่ไม่ต่างจากทั่วโลกเช่นกัน

pic_1ตั้งแต่ต้นปี 2563 อสังหาริมทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรร ทำให้ตลาดอสังหาฯ ในประเทศซบเซาดูเงียบเหงา และผู้ประกอบการหลายราย ต้องยุติบทบาทการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ จากแนวโน้มอสังหาริม ทรัพย์ ที่มีการชะลอตัว หยุด และปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย ทั้งการประกาศปิดประเทศทำให้นักลงทุนต่างชาติลดลงอย่างเห็นได้ชัด และสถาบันด้านการเงินต้องหยุดให้สินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจอสังหาฯ หลายบริษัทประสบปัญหายอดขายโครงการจัดสรรลดลง โครงการบ้านเหลือค้าง และรอขายอีกหลายโครงการเป็นจำนวนมาก

รายงานจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ผลสำรวจในช่วงครึ่งปีแรก 2563 มีโครงการที่อยู่อาศัย ที่ค้างระหว่างรอขายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งหมดสูงถึง 1,692 โครงการ จำนวน 205,851 หน่วย มูลค่ารวมสูง 1.03 ล้านล้านบาท 

หากเทียบในช่วงเดียวกันระหว่างครึ่งปีแรก 2562 ผลปรากฏ ดังนี้ ยอดเหลือบ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น 15.2%  อาคารชุดยอดเหลือลดลง 6.2% จังหวัดที่ได้รับผลกระทบหน่วยเหลือขายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ปทุมธานี 40.4% นครปฐม 9.0% และสมุทรปราการ 5.7% จังหวัดที่มียอดเหลือขายลดลงมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ 2.4% นนทบุรี 0.6% และสมุทรสาคร 0.2% ตามลำดับ

แนวโน้มอสังหาฯ โดยรวมในช่วงปี 2563 – 2564 โดยประมาณการจากยอดเหลือค้าง

pic_2จะเห็นได้ว่า ทิศทางการลงทุนด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย มีแนวโน้มอสังหาฯ ค่อย ๆ ขยับตัวเป็นลำดับ อาจมีการผันผวนบ้างตามสถานการณ์ ช่วงรอยต่อระหว่างปี 2563 – 2564  โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาพรวมมีแนวโน้มอสังหาฯ ที่ดีขึ้น จากการลดลงของยอดค้างในครึ่งปีหลัง 2563 และอาจมีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในครึ่งปีแรก 2564 

ปัจจัยสำคัญส่งผลต่อยอดเหลือค้างของโครงการจัดสรรนั้น เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตโควิด-19  เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้แนวโน้มอสังหาฯ ด้านการลงทุนลดลงมาก เพราะมีผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในการลงทุนลดลงสูง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งมากกว่าผู้ซื้อที่ต้องการที่อยู่อาศัย ส่งผลต่อปัจจัยสำคัญในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน 

จากผลกระทบดังกล่าว สร้างความปั่นป่วนให้นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ขาดความเชื่อมั่น สร้างความสั่นคลอนอย่างหนัก ปิดโอกาสในการลงทุน เพราะนักลงทุนมองแนวโน้มอสังหาฯ ไม่คุ้มค่าต่อความเสี่ยงสูง แม้ว่าผู้ประกอบการจะพยายามงัดกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลากหลายวิธีการ เพื่อมาแข่งขันทางด้านตลาดเพียงใดก็ตาม เพื่อช่วยเพิ่ม และผลักดันยอดขายมากขึ้น หวังให้ตลาดมีแนวโน้มอสังหาฯ ที่ดี ผู้ประกอบการต่างพยายามปรับเปลี่ยนสถานการณ์ทุกรูปแบบ ก็ไม่สามารถยับยั้งวิกฤตทางเศรษฐกิจนี้ได้ ไม่ว่าจะใช้วิธีชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ ลดราคาแบบหั่นกำไร เพื่อกระตุ้นยอดขายเพิ่มขึ้น แต่จำนวนโครงการบ้านจัดสรรยังคงมียอดเหลือสูงอยู่เช่นเดิม และมีแนวโน้มยอดค้างเพิ่มขึ้น

รัฐบาลอุ้ม! ประกาศมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ แนวโน้มอสังหาฯ รุ่ง

pic_3

แนวโน้มอสังหาฯ กลับเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น เมื่อ ครม. ประกาศลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนองอสังหาฯ เหลือ 0.01% จากอัตราเดิม 1% ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2563 ถึง 7 มิถุนายน 2565 จากเดิมที่จะหมดในเดือนธันวาคมนี้ ขยายเวลาออกไป เพื่อกู้วิกฤตช่วยเหลือผู้ประกอบการอสังหาฯ ตามร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมในการโอน และจำนองอสังหาริมทรัพย์

เพื่อช่วยปลดล็อกสถานการณ์อันเลวร้าย เปิดโอกาสสร้างแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น เป็นสัญญาณการเริ่มต้นการแข่งขันสู่ช่องทางการรุกตลาดอสังหาฯ ให้กลับมาเข้มข้นอีกครั้ง เปรียบได้กับการเปิดประตูบานใหญ่ส่องประกายแสงสว่างงดงามให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์คืนชีพอีกครั้ง เร่งระดมทุน เพื่อสร้างกลยุทธ์ทาง การตลาด กระตุ้นให้นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติ ให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น สร้างยอดขายเพิ่มสูงขึ้น ผลกำไรมากขึ้น ลดยอดค้างอย่างรวดเร็ว นี่จึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่รัฐบาลไทย ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาฯ ของประเทศไทย เพื่อให้ฟื้นตัว และกลับมาคึกคักอีกครั้ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://www.thairath.co.th/news/business/realestate/1959064
https://www.ryt9.com/s/cabt/3125794