การแบ่งมรดก กับ ทายาทโดยชอบธรรม ที่มีสิทธิรับมรดก

มรดก

มรดกปัญหาของการแบ่ง มรดก หากไม่ได้มีการทำนิติกรรมเป็น พินัยกรรม มอบมรดกที่ชัดเจน ผู้ที่จะได้รับมรดกจากเจ้ามรดกก็คือทายาท ของผู้เป็นเจ้ามรดกนั้นๆ ดังนั้นวันนี้  Dot Property เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกันว่า ผู้ใดมีสิทธิในฐานะทายาทผู้รับมรดกโดยชอบทำกันบ้าง

 

ใครบ้างที่เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับ มรดก

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักก่อนว่าทายาทเป็นใครบ้าง โดยปกติแล้วเมื่อผู้เป็นเจ้ามรดกได้ถึงแก่กรรมแล้ว ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกโดยตรงเลยคือทายาท และทายาทก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • ทายาทโดยชอบธรรม หรือ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น บุตรของผู้ตาย , บิดามารดาของผู้ตาย และ คู่สมรสของผู้ตาย กล่าวคือ หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว บุคคลเหล่านี้จะมีสิทธิในมรดกในลำดับแรกทันทีเลย
  • ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม ในส่วนนี้เป็นของ การทำพินัยกรรม ที่เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมในการยกมรดกให้กับผู้ที่ถูกระบุในพินัยกรรมไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติก็ได้ หากท่านสงสัยว่าการทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีคุณสมบัติยังไง สามารถคลิ๊กได้ที่ พินัยกรรม นิติกรรมสำหรับการกำหนดผู้มีสิทธิรับมรดก

 

ทายาทโดยธรรมได้แก่ใครบ้าง

ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทายาทที่เป็นญาติกับที่เป็นคู่สมรสที่เป็นญาติ ได้แก่ ญาติของผู้ตายต่อไปนี้ เรียงลำดับกันจากใกล้ชิดสนิทที่สุด

  1. ผู้สืบสันดาน
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

 

ตัวอย่าง

นาย ก. มีบุตรสองคนได้แก่ นาย  ข. และ ค. และมีบิดามารดา  ได้แก่นายเอก นางโท และมีพี่น้องร่วมสกุลคือ นายดำ และ นายแดง เมื่อนาย  ก. ถึงแก่กรรม ตามลำดับที่จะได้รับสิทธิในมรดกของนาย ก. ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีดังนี้

  • ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน  ก็คือ นาย ข.  นาย ค. ผู้ซึ่งเป็นบุตรของนาย  ก.
  • ลำดับที่ 2 บิดามารดาก็คือนายเอก นางโท  บิดามารดาของนาย ก.
  • และลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน   ก็คือ  นายดำ นายแดง  พี่ชายน้องชายของนาย ก.

ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงทายาทที่เป็นญาติก็จะมีถึงหกลำดับนี้เท่านั้น  ห่างจากนี้ไปก็ไม่ใช่ทายาทแล้ว  แต่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกทุกลำดับหรือไม่  ต้องดูกันต่อไปอีกชั้นหนึ่ง  เมื่อกล่าวถึงทายาทของผู้ตายก็ต้องเอาผู้ตายเป็นหลักคือศูนย์กลางดังตัวอย่างที่ยกขึ้นก็จะเห็นได้ง่ายๆ

ส่วนทายาทที่เป็นคู่สมรส หรือ  สามีหรือภริยาของผู้ตายนั้น ทายาทประเภทนี้ถือว่าอยู่ในลำดับเดียวกับทายาทที่เป็นญาติทุกลำดับ คือ มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตลอด เช่น ขณะนาย ก. ตาย มีลูกสองคน และมีนางแดงเป็นภริยา  ถือว่าผู้ตายมีทายาทโดยธรรม คือลูกสองคนและนางแดงภริยาผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก  หรือขณะที่นาย ก. แต่ยังไม่มีลูกทายาท  นางแดงผู้เป็นภริยา จะมีสิทธิเทียบเท่ากับทายาทลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา ของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง

ผู้จัดการมรดก

ทำความรู้จัก “ผู้จัดการมรดก” ผู้มีอำนาจจัดการดูแลกองมรดกให้ลงตัว

 

พินัยกรรมพินัยกรรม นิติกรรมสำหรับการกำหนดผู้มีสิทธิรับมรดก

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก