ล้างแอร์บ้าน แบบง่ายๆกับ วิธีล้างแอร์ ด้วยตัวเอง ไม่เสียเงินแถมประหยัดค่าไฟได้อีกหลายบาท (ตอน 2)

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_1
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_1

คราวนี้มาเข้า วิธีล้างแอร์ กันจริงๆแล้ว

1.วิธีล้างแอร์ เริ่มต้นจากสับเบรคเกอร์ลง เตรียมถอดหน้ากากออกก่อน มันจะมีที่ปิดหัวน็อตอยู่ที่ส่วนล่างของช่องลมแอร์ ให้เราใช้ไขควงเล็กๆงัดออก และใช้ไขควงแฉกขันน็อตออกทั้งสองข้างตามภาพ และใช้มือโยกหน้ากากแอร์ออกมา (แอร์บางรุ่นก็ไม่มีเจ้าน็อตยึดหน้ากากนี้เช่นแอร์ SAMSUNG บางรุ่น ใช้มือโยกหน้ากากออกได้เลย)

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_7
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_7
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_8
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_8
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_9
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_9

สังเกตสิ่งสกปรกที่อุดตันครีบระบายความร้อนหรือคอยล์เย็น และสังเกตุพักลมแอร์ที่อยู่ใต้ช่องแอร์ดูครับ มันจะมีคราบเหนียวๆ และฝุ่นจับอยู่เป็นจำนวนมาก ที่แหละคือสิ่งที่ทำให้แอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพและทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ที่เป็นตัวการในการกินไฟของคุณไม่ยอมตัดการทำงาน ทำให้แอร์ไม่เย็น เปลืองไฟ เปลืองเงินค่าไฟครับ

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_10
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_10
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_11
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_11
  1. ใช้แปรงสีฟันชุบน้ำทำความสะอาดคราบไคลที่ติดอยู่กับครีบระบายความร้อนและพัดลมแอร์ให้สะอาดที่สุด และใช้น้ำจากสายยางหรือจากอะไรก็ได้ที่คุณมี ฉีดล้างฝุ่นและคราบเหนียวๆออกให้ได้มากที่สุด ตามภาพผมใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงในการล้างครับ ปรับน้ำให้มันแบนๆที่สุด แล้วฉีดไปตามครีบและพัดลมแอร์ (ในส่วนของพัดลมแอร์ตอนฉีดเราต้องเอามือล็อคไม่ให้ใบพัดหมุนด้วย ไม่เช่นนั้นกระแสไฟฟ้าจากการหมุนของใบพัดมันจะย้อนกับไปที่แผงคอนโทรลแอร์)
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_12
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_12
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_13
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_13

นี่คือสภาพสิ่งสกปรกที่ปนมากับน้ำที่เราล้าง

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_14
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_14

หลังจากล้างเสร็จก็สะอาดแล้วครับ

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_15
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_15
  1. ไปที่คอยล์ร้อนที่อยู่ตรงตู้คอมเพรสเซอร์บ้างครับ ฉีดน้ำล้างเหมือนกันครับ ให้ครีบระบายความร้อนจากตู้คอมเพรสเซอร์ระบายความร้อนได้ง่ายที่สุด
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_16
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_16
  1. เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จครับ ประกอบหน้ากากกลับคืนครับผม
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_17
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_17

คราวนี้เรามาทดสอบเปิดแอร์กันใหม่ที่อุณหภูมิเดิม ความแรงพัดลมแอร์เท่าเดิมได้ค่าดังนี้ครับผม > ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลดลงเหลือเท่ากับ 4.380 แอมแปร์  และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 1.0265 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_18
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_18
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_19
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_19

ที่ค่าลดลงเนื่องจากมันระบายความร้อนได้ดีขึ้นครับ ลองนึกภาพเราเอามือบีบจมูกแล้วหายใจเราจะใช้แรงในการหายใจมากขึ้น แล้วเวลาเราเอามืออกเราก็จะใช้แรงไม่มากเพราะไม่มีอะไรมาบีบจมูกเราไว้

แต่ไฮไลท์ของการประหยัดพลังงานมันอยู่ตรงนี้ครับ  หลังจากเปิดไปได้ประมาณ 15 นาที คอมเพรสเซอร์ก็ตัดการทำงานครับ ทำให้ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลดลงเหลือเท่ากับ 0.310 แอมแปร์  และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 0.0648 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_20
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_20
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์,วิธีล้างแอร์บ้าน_21
ล้างแอร์ด้วยตัวเอง,ล้างแอร์บ้าน,วิธีล้างแอร์บ้าน_21

ทดสอบเปิดดูเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปรากฏว่าใน 1 ชั่วโมงการทำงานมีช่วงที่คอมเพรสเซอร์ทำงานประมาณ 35 นาที และช่วงที่คอมเพรสเซอร์หยุดทำงานประมาณ 25 นาที หลังจากที่ก่อนจะล้างแอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลามันไม่ยอมตัดเลย

มาคำนวนหน่วยที่ใช้ไฟคร่าวๆกันใน 1 วันกันใหม่ครับ คิดที่เปิดวันละ 8 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่คราวนี้เราต้องคิดที่ทั้งคอมเพรสเซอร์ทำงานและหยุดการทำงานมารวมกัน

จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = (1.0265 * 1 * (35/60) *8) + (0.0648 * 1 * (25/60) *8) = 5.006 หน่วย/วัน

จำนวนหน่วยที่ลดลงในการใช้ไฟฟ้าก่อนล้างและหลังล้างที่เราจะประหยัดได้สำหรับแอร์ 1 เครื่องขนาด 12,xxx BTU เท่ากับ  8.826 – 5.006 = 3.82 หน่วยต่อวัน หรือประมาณ 114 หน่วยต่อเดือน(คิดจาก 30 วัน) หรือประมาณ 1394.3 หน่วยต่อปี นี่คือค่าที่ประเทศชาติรวมถึงตัวคุณเองได้ประหยัดการใช้พลังงานเป็นจำนวนหน่วย คิดเป็นจำนวนเงินที่คุณประหยัดได้เท่าไหร่ ต่อวัน ต่อเดือน หรือต่อปี คุณก็ลองเอาอัตราค่าไฟต่อหน่วยของคุณคูนเข้าไปดูครับ  สมมุติว่าบ้านคุณเสียค่าไฟหน่วยละ 4 บาท คุณก็จะประหยัดเงินตรงนี้ไปแล้วประมาณ 456 บาท/เดือน หรือ 5,577 บาท ต่อปีต่อเครื่อง ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้านค่ะสำหรับบทความที่เป็นประโยชน์แบบนี้ เพื่อนๆลองน้ำไปทำกันดูนะค่ะ รับลองว่าจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้อีกเยอะเลยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากคุณ The Mario จากสมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com

อ่านหน้า 1

ต้องการซื้อ-เช่ !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย