DIY ทำถังอากาศในระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติ ประหยัดจาก 1700 เหลือ 380 บาท

DIY,diy ของใช้ในบ้าน,งาน diy,ไอเดีย diy
DIY,diy ของใช้ในบ้าน,งาน diy,ไอเดีย diy
DIY,diy ของใช้ในบ้าน,งาน diy,ไอเดีย diy
DIY,diyของใช้ในบ้าน,งานdiy,ไอเดียdiy

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งโดยครั้งนี้เป็นวิธีกาารทำถังอากาศในระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติราคาประหยัดด้วยตัวเอง โดยครั้งนี้เป็น โดยไอเดีย DIY ครั้งนี้เป็นของคุณ พ่อน้องอิคคิว  และ คุณทวน ทุ่งคา สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com ที่จะนำเสนอไอเดียดีๆในครั้งนี้ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ

DIY ทำถังอากาศในระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติ ประหยัดจาก 1700 เหลือ 380 บาท By ทวน ทุ่งคา

ปั๊มน้ำที่บ้านตัดต่อบ่อยเนื่องจากถังไนโตรเจนไม่มีแรงดัน ยิ่งกดชักโครกทีทำงานกว่าจะเสร็จตัดต่อเป็นสิบครั้ง เพราะระบบถังชักโครกเป็นลูกลอยกว่าจะปิดสนิทใช้เวลา ทำให้ปั๊มทำงานหนักจนแคปสตาร์ทระเบิดตามรูป

0101.1ไปหาซื้อของใหม่เดิมเป็น  6uf หาไม่ได้ เลยซื้อ 5 uf มาใส่แทนใช้งานได้ แต่ต้นตอมันยังอยู่คือปั๊มน้ำ ลองเช็คราคาตัวแอคคุมไนโตรเจนของใหม่ 1700 บาท อื้อหือ ราคาครึ่งนึงของปั๊มทั้งตัวเลยนิ  ก็เลยมาลองคิดดู จากความรู้ ปวส.ปลาย ๆ ที่ยังเหลืออยู่

คอนเซปคือเอาท่อพีวีซีมาต่อกับระบบน้ำเดิม ให้ท่อตั้งขึ้น เนื่องจากปลายปิดอากาศก็จะถูกอัดไว้ด้านบนจึงทำหน้าที่เหมือนกับแอคคุมในโตรเจนเดิมของปั๊มน้ำ  แต่ของเราเป็นอากาศทั่วไปนี่แหละคับ และไม่ต้องอัดแรงดันให้ปั๊มเป็นตัวอัด หลังจากนั้นก็ไปหาซื้ออุปกรณ์ อันนี้ไม่ต้องเข้าห้างนะคับ เพราะร้านข้างนอกจะตัดท่อแบ่งขายเป็นเมตรให้ ก็ใช้หมดนี่เลยท่อขนาด 3 นิ้ว ยาวเมตรนึงพร้อมฝาครอบหัวมน หัวแบบนี้จะรับแรงได้ดีกว่าแบบหัวเรียบเพราะ ทิศทางแรงดันที่กระทำบนพื้นที่ตังฉากเสมอ จึงลดแรงที่กระทำตรงแนวรอยต่อด้านบนได้ แล้วก็มีข้อลด ขึ้นอยู่กับระบบเดิมว่าขนาดเท่าไหร่ ของผมเป็น 1 นิ้ว วาล์วพีวีซี ข้อต่อสามทาง ทุกชิ้นใช้แบบหนานะคับและ กาวยาท่อ ตามรูปคับ หมดนี่ 380 บาท

02หลังจากนั้นก็เอามาต่อกันตามรูป อัดท่อกับข้อต่อให้แน่น เอาผ้ารองกระแทกลงพื้นเลยก็ได้ แล้วแต่สะดวกให้มั่นใจว่าแน่นจริง

03

หลังจากนั้นก็ตัดระบบเดิมตรงไหนก็ได้ที่อยู่ด้านหลังทางออกปั๊ม สำคัญคือให้สามารถวางท่อในแนวตั้งให้ได้ เช็คระยะ ทากาวประกอบให้แน่น ถังไนโตรเจนเดิมก็คาไว้ไม่ต้องถอดออกคับ ไม่มีผลต่อระบบ ลูกกลม ๆ สีดำคือถังไนโตรเจนเดิมคับ

04ให้มั่นใจว่ากาวแห้งแล้วก็เดินเครื่องได้เลย การทำงานครั้งแรกจะใช้เวลานิดนึงเพราะแรงดันน้ำจะวิ่งเข้าไปเติมในกระบอกของเราจนแรงดันเท่ากับแรงดันที่ตั้งไว้ที่สวิทย์แรงดัน ปั๊มก็จะหยุดทำงาน เมื่อเราเปิดน้ำ แรงดันในระบบลดลงถึงค่าของสวิทย์แรงดันปั๊มก็จะทำงานอีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปจาก คุณ พ่อน้องอิคคิว  และ คุณทวน ทุ่งคา  สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com

อ่านหน้า 2

ต้องการซื้อ-เช่ !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย