ความจริงที่ต้องรู้!!! เกียวกับหลักฐานการชำระ ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย ทำการเกษตรและที่ดินว่างเปล่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ขั้นตอนการยื่นภาษี   การยื่นแบบพิมพ์ ให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้น และยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ต่อเจ้าพนักงานประเมินณ สำนักงานเขตที่ที่ดินตั้งอยู่ จะมีชื่อย่อเรียกอยู่ด้วยกันอยู่ 3 ฉบับนะครับนั้นก็คือ ภ.บ.ท.5, ภ.บ.ท.6 และ ภ.บ.ท.11

โดยปกติแล้วการเก็บภาษีบำรุงท้องที่ทุกครั้งจะต้องมีการสำรวจที่ดิน เพื่อให้ทราบว่ามีที่ดินรายใดแปลงใดที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ รวมทั้งต้องสำรวจรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ลักษณะการทำประโยชน์ ที่ตั้งที่ดิน เป็นต้น แบบซึ่งใช้สำรวจที่ดินเรียกว่า แบบสำรวจเนื้อที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่และแบบทะเบียนที่ดินหรือใบ ภ.บ.ท.6

เมื่อเจ้าหน้าที่สำรวจที่ดินแล้วก็จะนำมาประเมินคำนวนจำนวนภาษีที่จะเรียกเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครอง หรือผู้ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นๆ เมื่อมีผู้มาเสียภาษีแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือแสดงรายการเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ให้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ใบ ภ.บ.ท.5 ส่วน ภ.บ.ท.11 คือชื่อแบบฟอร์มที่เป็นใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่

เมื่อคุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักฐานการชำระภาษีบำรุงท้องที่แล้วจะทราบได้ว่า เอกสาร ภ.บ.ท.5, ภ.บ.ท.6 และ ภ.บ.ท.11 นั้นเป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นจะมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงนั้นหรือไม่ เพราะถือว่าเป็นการเก็บภาษีตามพื้นที่ราษฎรใช้ทำประโยชน์เท่านั้น ดังนั้นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่จะไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินที่ตนเองได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ไป และทางราชการยังสามารถสั่งฟ้องร้องขับลาให้ผู้ครอบครองที่ดินผืนนั้นออกไปจากที่ดินเมื่อไหร่ก็ได้อีกด้วยนะครับ

เพราะฉะนั้นแล้ว ใบ ภ.บ.ท. จึงไม่ใช่หลักฐานการได้รับสิทธิในที่ดินนะครับ แต่เป็นแค่หลักฐานการเสียภาษีเฉยๆ และไม่สามารถนำไปออกโฉนดได้นะครับ เพราะคนที่มีชื่ออยู่ใน ภ.บ.ท. อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินก็ได้ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าที่ดินผืนนั้นอาจจะเป็นพื้นที่หวงห้ามที่ทางราชการระบุไว้ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธฺตามประมวลกฎหมายที่ดินก็เป็นได้นะครับ

ดังนั้นการซื้อขายที่ดินที่มีแต่ใบ ภ.บ.ท. เนี้ย มันจะเป็นความเสี่ยงสำหรับผู้ซื้อนะครับ เพราะไม่รู้ว่าคนขายจะเป็นเจ้าของที่ดินตัวจริงหรือไม่แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องซื้อที่ดินที่มีใบ ภ.บ.ท. ก็สามารถทำได้นะครับ โดยให้ยื่นนคำของออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลผลกฎหมายที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิก่อนว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ หากท่านต้องการทราบรายระเอียดเกี่ยวกับการนำใบ ภ.บ.ท. ไปออกโฉนด ก็สามารถสอบถามที่สำนักงานที่ดินทุกแห่งได้นะครับ

ทั้งนี้ก็ยังมีที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่อยู่ด้วยนะครับ ก็ได้แก่

(1) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(2) ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะ โดยมิได้ หาผลประโยชน์

(3) ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผล ประโยชน์

(4) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ

(5) ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบ ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์

(6) ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

(7) ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ

(8) ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว

(9) ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์โดย เจ้าของที่ดินมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น

(10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือ องค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง

(11) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานทูต หรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การกำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

  1. ครั้งแรกยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคมของปี และใช้ได้เป็นเวลาสี่ปี
  2. ถ้าที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนเจ้าของอันเป็นเหตุให้อัตราภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินเปลี่ยนแปลงไปต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่มีเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ

กรณีที่ดินรายใหม่ หรือปีที่มีการตีราคาปานกลางให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบเสียภาษีภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินหรือทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้กรรมสิทธิ์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยยื่นแบบ ภ.บ.ท. 5 พร้อมสำเนาหลักฐานประกอบการพิจารณา ได้แก่

  1. บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
  2. โฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน หรือหนังสือสัญญาอย่างอื่น
  3. ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
  4. ใบมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทน
  5. อื่น ๆ

การชำระ ภาษีบำรุงท้องที่

  1. ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน ให้ยื่นหลักฐานการแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท. 9) พร้อมชำระเงินภายในเดือนเมษายน กรณีได้รับแจ้งการประเมินหลังเดือนมีนาคมให้ชำระภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
  2. กรณีอื่น ๆ ให้ชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี
  • ปีแรกให้ยื่นหลักฐานการแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท. 9) พร้อมชำระเงินภายในเดือนเมษายน ถ้าเลยกำหนดให้ชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินภาษี
  • กรณีอื่น ๆ ให้ชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี
  1. การขอชำระภาษีบำรุงท้องที่ในปีถัดไป จากปีที่มีการประกาศราคาปานกลางของที่ดิน ให้ผู้ประเมินนำใบเสร็จรับเงินของปีก่อน พร้อมนำเงินไปชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากไม่ชำระภาษีตามที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปีของเงินค่าภาษีต้องเสีย หรือร้อยละ 2 บาทต่อเดือนท
  2. การชำระเงินสามารถชำระได้ ณ สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่หรือสำนักงานเขตอื่น ๆ หรือกองการเงิน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือชำระด้วยตั๋วแลกเงินของธนาคาร หรือเช็คที่ธนาคารรับรอง โดยสั่งจ่าย “กรุงเทพมหานคร” หรือชำระโดยการส่งธนาณัติสั่งจ่าย “หัวหน้าฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต”

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่