Search

บ้าน - search results

If you're not happy with the results, please do another search

ภูมิศาสตร์เรื่องบ้าน สร้างบ้านชายทะเลต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

หลายคนคงมีความฝันอยากมีบ้านพักชายทะเลเอาไว้พักร้อนรับลมในวันหยุดกันสักหลังแต่คุณรู้หรือไม่ว่าบ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลนั้นมีการก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่ต่างออกไปจากบ้านในเมือง เพราะสภาพอากาศที่แตกต่างรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกับบ้านในเมืองทำให้บ้านใกล้ทะเลเหล่านี้ต้องมีความแตกต่างกันตั้งแต่เรื่องของวัสดุไปจนถึงลักษณะของการออกแบบเพื่อความปลอดภัยและคงทนในการอาศัยอยู่ วันนี้ดอทจึงมานำเสนอความแตกต่างที่บ้านชายทะเลต้องพิเศษกว่าบ้านในเมืองนั้นมีอะไรกันบ้าง สำหรับใครที่ต้องการสร้างบ้านชายทะเลไม่ควรพลาด วัสดุโครงสร้างต้องทนความชื้นมากกว่าปกติ การสร้างบ้านติดชายทะเลต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่บ้านจะต้องเผชิญเพื่อให้ได้ที่พักอาศัยที่แข็งแรงทนทานสามารถพักอาศัยได้อย่างปลอดภัย เพราะพื้นที่ติดทะเลนั้นจะต้องเผชิญกับความชื้นที่มากกว่าและยังต้องเจอกับความเค็มของน้ำทะเลด้วยซึ่งด้วยลักษณะพิเศษนี้ทำให้วัสดุทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้สร้างบ้านได้แข็งแกร่งเท่าที่ควร จึงต้องมีการออกแบบวัสดุพิเศษขึ้น ตัวอย่างเช่น ไม้ การเลือกไม้สร้างบ้านติดทะเลหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเลนั้นต้องเลือกไม้ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศและความชื้นมากเป็นพิเศษอย่างไม้เนื้อแข็ง โดยสามารถเสริมความทนทานด้วยกันเคลือบผิวไม้ด้วยสีหรือวัสดุกันความชื้นเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง เหล็ก โครงสร้างบ้านติดทะเลส่วนใหญ่มักใช้เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อให้ได้บ้านที่แข็งแรงที่สุด ซึ่งในการเลือกใช้เหล็กนั้นต้องเลือกเหล็กที่มีคุณสมบัติกันสนิม หรือก็คือเหล็กที่มีการเคลือบสีรองพื้นกันสนิมที่มีคุณภาพโดยดูจากการพ่นเคลือบสีกันสนิมที่ความหนาของสีละเอียดและพ่นเท่ากันทั้งหมดซึ่งจะช่วยยืดอายุของเหล็กให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ปูน การใช้ปูนของบ้านติดทะเลนั้นก็ยังต้องใช้ความสำคัญเพราะปูนคือสิ่งที่จะต้องเผชิญกับสภาพอากาศชื้นเค็มหรือน้ำทะเลโดยตรงทำให้จำเป็นต้องทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเลได้ดี โดยปูนสำหรับงานโครงสร้างในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่น้ำกร่อยนี้จะมีชื่อเรียกว่า มารีน ซีเมนต์(Marine Cement) ลักษณะบ้านต้องยกตัวขึ้นสูง การสร้างบ้านริมทะเลหรือบ้านติดทะเลจะต้องมีการศึกษาระดับน้ำที่สูงที่สุดเพื่อป้องกันเหตุการณ์น้ำขึ้นสูงหรือคลื่นสูงที่อาจจะซัดเข้ามาได้ ดังนั้นแล้วนอกจากวัสดุการก่อสร้างที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งแล้ว ตัวบ้านต้องยกสูงขึ้นด้วยและควรเผื่อพื้นที่ความสูงให้กับคลื่น ป้องกันไม่ให้คลื่นซัดเข้าภายในบ้านจนเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้แล้วยังมีกฎหมายเกี่ยวความสูงของบ้านชายทะเลที่มีการกำหนดเอาไว้ โดยการกำหนดตจะเป็นความสูงของอาคารและพื้นที่ของอาคารซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการกำหนดไว้ไม่เท่ากัน อย่าลืมศึกษาข้อกฎหมายก่อนการออกแบบ รูปแบบบ้านทนลม ทนแดด พื้นที่ชายทะเลเป็นพื้นที่ที่สวยงามและผ่อนคลายทำให้หลายคนอยากจะไปพักผ่อนอย่างแน่นอนแต่ว่าทะเลก็ยังมีช่วงเวลาที่ไม่สวยงามเท่าใดนักเพราะพื้นที่ชายทะเลนั้นนอกจากจะเผชิญกับไอเค็ม ความชื้นและคลื่นน้ำแล้ว ยังต้องเจอกับพายุลมฝนที่แรงกว่าพื้นที่ในเมืองด้วย โดยเมื่อฝนตกมักจะสาดเข้ามาอย่างแรงทำให้หลังคาบ้านและกันสาดต้องแข็งแรงและมีการกำหนดองศาที่แม่นยำเพื่อป้องกันฝนสาด บ้านชายทะเลที่สวยงามสำหรับใครหลายคนนั้นนับเป็นบ้านที่ต้องมีความพิถีพิถันละเอียดอ่อนในการสร้างอย่างมากทีเดียวเพราะจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศและความชื้น ไอเค็มที่รุนแรงกว่าพื้นที่อื่นๆ...

ยุคที่ไม่มีไฟฟ้าจะสร้างบ้านรับมือกับความร้อนอย่างไร ไปดูกัน

แต่ละพื้นที่บนโลกล้วนมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป การสร้างที่พักอาศัยของแต่ละพื้นที่จึงต้องมีความแตกต่างกันออกไปด้วยเพื่อให้คนที่อยู่อาศัยสามารถพักได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัที่สุดโดยในบทความนี้ดอทจะเล่าถึงที่พักอาศัยในเขตร้อนซึ่งเป็นรูปแบบของที่พักอาศัยที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในเขตร้อนเช่นกัน จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน รูปทรงหลังคา หลังคาของบ้านเขตร้อนนั้นจะเน้นไปที่การกันแดดกันลมและกันฝนได้ด้วย เพราะสภาพอากาศในเขตร้อนนั้นจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หลากหลาย โครงสร้างหลังคาจึงต้องรับมือได้หลากหลายตามไปด้วยอย่างเช่นรูปแบบหลังคาทรงปั้นหยา ที่เป็นทรงลาดเอียงทั้งสี่ด้าน ตรงกลางสูงขึ้นเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นด้านบนได้ จุดเด่นของหลังคาทรงปั้นหยาคือการมีชายคาที่ยื่นออกมาสามารถกันแดดไม่ให้โดนผนังที่สามารถเก็บความร้อนได้โดยตรงและยังสามารถกันฝนไม่ให้สาดเข้าผนังบ้านหรือเข้าบ้านได้ด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบันมีการเสริมให้หลังทรงปั้นหยาสามารถติดตั้งหน้าต่างรับลมเพื่อระบายความร้อนได้ด้วย สร้างระแนงไม้หรือปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อบังแดด สำหรับบ้านในเขตร้อนนั้นเพียงแค่ไม่ถูกแดดตรงๆ ก็สามารถรักษาความเย็นไว้ในบ้านได้แล้วดังนั้นที่พักอาศัยเขตร้อนจึงนิยมปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้กับบ้าน หรือไม่ก็ปลูกต้นไม้ล้อมบ้านเพื่อให้ไอเย็นจากต้นไม้ลดความร้อนของแสงแดดลง อีกวิธีหนึ่งที่บ้านในเขตร้อนนิยมก็คือการสร้างระแนงไม้ขึ้นมาบดบังส่วนหนึ่งของแสงแดดซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกับการสร้างกำแพงสองชั้นเพียงแต่ระแนงจะสามารถรับลมและระบายอากาศได้  จัดวางเหมาะกับทิศของลมและแดด บ้านในเขตร้อนจะไม่นิยมหันหน้าหาไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกที่รับแดดโดยตรง แต่จะหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือใต้แทนเพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้การหันหนาบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ยังทำให้บ้านได้สลับฝั่งกับรับแสงแดดซึ่งบ้านจะไม่ร้อนจนเกินไปด้วยนั่นเอง สามารถจัดการพื้นที่ภายในบ้านได้ง่ายขึ้น นอกจากเรื่องทิศทางของแสงแดดแล้วยังมีการดูทิศทางลมก่อนสร้างบ้านด้วย เพราะที่พักอาศัยที่ทำจากไม้ในอดีตหรือบ้านที่ทำจากปูนในปัจจุบันล้วนแต่เก็บความร้อนเอาไว้จำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากห้องก่อนเข้าพักด้วยจึงต้องสรางบ้านให้สามารถได้รับลมตลอดนั่นเอง ยกใต้ถุนบ้าน เราได้เห้นบ้านทรงไทยส่วนมากมักมีการยกใต้ถุนบ้านขึ้นซึ่งมีอยู่สองสาเหตุหลักด้วยกัน หนึ่งคือป้องกันความเสียหายเมื่อนำ้ท่วมหรือน้ำหนุนสูง สองคือการป้องกันความร้อนจากดิน เพราะหากดินรับแดดโดยตรงจะอมความร้อนเอาไว้และเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะคายความร้อนออกมาทำให้บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นร้อนอบอ้าวอยู่ไม่สบาย สร้างช่องระบายอากาศ โดยปกติแล้วความร้อนมักจะเดินทางไปหาความเย็น ดังนั้นหากเราสร้างช่องทางระบายอากาศเอาไว้เพราะอีกหนึ่งเส้นทางที่ความร้อนชอบคือการลอยขึ้นสูง จึงควรสร้างช่องระบายอากาศไว้สูงอาจะเป็นบนช่องหลังคาหรือบนผนังใกล้กับฝ้าเพดานจะช่วยระบายความร้อนออกไปได้ ในปัจจุบันการสร้างช่องระบายอากาศได้มีการติดพัดลมและตัวช่วยอื่นๆ มากขึ้นแล้วเพราะช่วยระบายความร้อนในตัวบ้านได้เร็วขึ้น หากปัจจุบันที่พักอาสัยของคุณโดนแดดมาตลอดวันก้สามารถใช้วิธีระบายอากาศก่อนแล้วค่อยเปิดเครื่องปรับอากาศแบบนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น ลักษณะของบ้านในเขตร้อนนี้มีหลายลักษณะที่เรายังคงเห็นได้ในบ้านของเราเอง แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยเพราะสภาพอากาศที่มีมลพิษมากขึ้นด้วย บ้านในเขตร้อนมักสร้างด้วยผนังที่บางเพื่อการระบายความร้อนเมื่อถึงเวลาที่เป็นฤดูหนาวทำให้บ้านไม่กันความหนาวจากภายนอกเท่าใดนัก...

ต้อนรับสมาชิกใหม่ของบ้านด้วยการเตรียมพร้อมบ้านสำหรับเด็กอ่อน

สำหรับที่พักอาศัยแล้วย่อมมีการออกแบบให้เหมาะสมกับช่วงวัยที่แตกต่างกันออกไป เพราะการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัยนั้นมีความต้องการที่ต่างการสิ่งอำนวยความสะดวกจึงต้องต่างกันออกไปด้วย หลายคนอาจจะได้เห็นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุกันมาบ้างแล้ว แต่อีกช่วงวัยหนึ่งที่เราควรต้องให้ความใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขามากเป็นพิเศษนั่นคือ วัยเด็กอ่อน วันนี้ดอทจึงอยากมาแนะนำการเตรียมพื้นที่อยู่อาสัยเบื้องต้นสำหรับเด็กอ่อน ว่าเราควรจะเตรียมพื้นที่อย่างไรให้พร้อมสำหรับเด็กอ่อนกันบ้าง ไปดูกัน ลักษณะห้องที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ่อน เด็กอ่อนหรือเด็กวัยแรกเกิดจนถึงช่วงสองขวบปี เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเองและยังไม่สามารถเดินได้คล่องมากนัก เป็นช่วงบอบบางที่ต้องระมัดระวังหลายสิ่งหลายอย่างจึงต้องการความใส่ใจเป็นอย่างมาก โดยพื้นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ่อนจะมีลักษณะดังนี้ มีพื้นที่กว้าง แม้ว่าเด็กอ่อนจะยังเดินไม่เก่งหรือยังเดินไม่ได้ก็ตาม แต่ในช่วงที่สามารถเคลื่อนไหวได้ก็สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วกว่าที่เราคิด แทนที่จะต้องคอยระวังมุมเฟอร์นิเจอร์หรือกำแพง สายไฟ ตู้ลิ้นชักหรือสิ่งต่างๆ บนพื้น เราควรหาพื้นที่กว้างเตรียมเอาไว้เลยจะดีกว่า ทั้งยังสะดวกสำหรับผู้ดูแลด้วยเพราะมีพื้นที่ในการเตรียมของได้เยอะ อากาศถ่ายเท ปลอดโปร่ง ถึงแม้เด็กอ่อนจะนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ของวันแต่ถึงอย่างนั้นห้องที่เป็นที่พักของเด็กอ่อนก็ควรมีอากาศถ่ายเท สามารถได้รับแสงแดดเพื่อให้ห้องปลอดโปร่ง เพราะเด็กอ่อนต้องอาศัยอยู่ตลอดวัน ที่สำคัญอากาศที่ถ่ายเทจะช่วยทำให้ห้องสดชื่น ไม่เก็บเชื้อโรคหรือแบคทีเรียเอาไว้ด้วย เงียบสงบ ไร้เสียงรบกวน หากกล่าวถึงมลพิษแล้วเรียกได้ว่ามีอยู่เกือบทุกที่ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางเสียงหรือมลพิษที่ลอยมาในอากาศอย่างควันรถ ซึ่งที่อยู่อาศัยของเด็กอ่อนนั้นไม่ควรได้รับมลพิษเหล่านี้อย่างจังจึงควรเลี่ยงห้องติดถนน...

ภูมิศาสตร์เรื่องบ้าน สร้างบ้านริมแม่น้ำต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

การพักผ่อนริมแม่น้ำนั้นนอกจากจะได้วิวผ่อนคลายแสนสวยและบรรยากาศดีๆ แล้วยังมีอากาศที่เย็นสบายให้เราพักผ่อนอย่งเต็มที่อีกด้วย ช่างเป็นที่พักอาศัยที่น่าสนใจมากเหลือเกิน เพียงแต่การสร้างที่พักอาศัยริมน้ำนั้นมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอยู่มากทีเดียวเพื่อให้ที่พักอาศัยนั้นปลอดภัย คงทนและแข็งแรงต่อการพักอาศัยอย่างแท้จริง วันนี้ดอทจะพาทุกคนมาดูความแตกต่างของการสร้างบ้านริมน้ำ ว่าจะมีความแตกต่างหลักๆ เป็นอะไรบ้างที่เราควรรู้ก่อนจะสร้างบ้านริมน้ำขึ้นมา ไปดูกัน โครงสร้างบ้านทนต่อความชื้น บ้านริมน้ำโดยส่วนมากแล้วมักมีโครงสร้างส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำและโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ต้องสัมผัสกับความชื้นตลอดวัน โดยส่วนใหญ่จึงใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยต้องระวังเรื่องของเหล็กที่ใช้ต้องมีการเคลือบกันสนิมที่ได้คุณภาพ ส่วนเรื่องของปูนนั้นหากพื้นที่ที่สร้างไม่ได้เป็นน้ำกร่อยที่มีน้ำทะเลผสม เราสามารถใช้ปูนธรรมดาได้เลย แต่หากเป็นพื้นที่น้ำกร่อยจะต้องใช้ปูนเฉพาะที่เรียกว่า มารีน ซีเมนต์ ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเลได้มากกว่า ยกใต้ถุนขึ้นสูงกว่าระดับน้ำ ใครที่ต้องการสร้างบ้านริมน้ำคงไม่อยากให้บ้านที่เพิ่มสร้างต้องเผชิญกับน้ำท่วมบ้านเพราะน้ำขึ้นสูงอย่างแน่นอน โดยการสร้างบ้านที่ริมแม่น้ำอย่างนี้จะมีการใช้สูตรเพื่อคำนวณความสูงของบ้านว่าควรยกใต้ถุนขึ้นสูงเท่าใดตัวบ้านจึงจะปลอดภัย วิธีการคำนวณก็คือ ความลึกของระดับน้ำบวกกับความลึกของระดับน้ำเดิมคูณ 1.25 จะได้เป็นความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้วและค่าที่ได้ต้องไม่เกิน 10 เมตร ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นว่าบ้านริมน้ำส่วนใหญ่จะอยู่เหนือระดับน้ำขึ้นมาเล็กน้อยนั้นก็เพื่อรองรับช่วงเวลาที่เกิดลมพายุทำให้น้ำขึ้นสูงหรือมีคลื่นเกิดขึ้นด้วยนั่นเอง รูปแบบเสาเข็ม รูปแบบเสาเข็มของบ้านริมน้ำจะมีความพิเศษอยู่บ้างเพราะจะใช้เสาเข็มรูปตัวไอกันเสียส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุหลักคือเรื่องของการใช้งาน  การใช้งานเสาเข็มรูปตัวไอนั้นไม่จำเป็นต้องขุดหรือเจาะดินออกก่อนก็สามารถตกเสาเข็มลงไปได้เลยเพียงกดด้วยแรงของเครื่องจักรเท่านั้น และยังมีร่องตรงกลางสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปได้...

ยุคที่ไม่มีไฟฟ้าจะสร้างบ้านรับมือกับความหนาวอย่างไร ไปดูกัน

ความเปลี่ยนแปลงของอากาศมีมาตั้งแต่กำเนิดโลก ผู้คนในแต่ละที่ต่างก็ต้องพบเจอกับสภาพอากาศที่ต่างกันไปตามพื้นที่ซึ่งบางครั้งก็ไม่ใช่สภาพอากาศที่อ่อนโยนกับมนุษย์สักเท่าใดนัก ในอดีตจึงมีการคิดสร้างที่พักอาศัยที่สามารถป้องกันสภาพอากาศเหล่านั้นเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย  วันนี้ดอทจึงจะพาทุกคนไปดูโครงสร้างที่คนสมัยก่อนออกแบบขึ้นเพื่อป้องกันความหนาวเข้าบ้าน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน รูปทรงของหลังคา ด้วยการเคลื่อนตัวของความร้อนที่มักจะลอยขึ้นสู่ที่สูง จึงมักจะไม่สร้างบ้านที่เพดานสูงมากนักแต่รูปทรงของหลังคาต้องสูงลาดเพื่อให้หิมะลื่นตกลงมาได้ง่าย เพราะในช่วงที่หิมะตกลงมาทับถมหลังคาบ้านจนเป็นชั้นหนาจะต้องมีการกวาดหิมะออกซึ่งหากหลังคาลาดชันไม่มากพอจะทำให้ระบายหิมะออกได้ยาก และหากโครงสร้างบ้านไม่แข็งแรงพอจะรับน้ำหนักของหิมะได้ก้อาจจะถล่มลงมาได้ ด้วย 2 ปัจจัยนี้เราจึงได้เห็นบ้านทางฝั่งตะวันตกหลายหลังมีการสร้างห้องใต้หลังคาเอาไว้ เพื่อป้องกันอากาศภายนอกทะลุเข้ามาสู่ภายในบ้านนั่นเอง ดังนั้นเราจึงได้เห็นว่าบ้านในพื้นที่หนาวเย็นมักไม่สร้างแบบเพดานสูงมากนักแต่รูปทรงหลังคาจะเป็นทรงสูงขึ้นไป ผนังที่หนาขึ้นหรือสร้างผนัง 2 ชั้น ผนังบ้านมีหน้าที่หลักคือการป้องกันอันตรายจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน แต่สิ่งหนึ่งที่ผนังป้องกันได้ไม่ทั้งหมดคืออากาศที่สามารถทะลุผ่านเข้ามาด้านในได้ หากคุณลองเอาตัวไปแตะผนังในช่วงที่แดดส่องจะรู้สึกได้ถึงผนังที่ร้อน เช่นกันกับฤดูหนาวที่ผนังจะเย็นขึ้น หากใครเลือกนอนใกล้ผนังก้จะได้สัมผัสอากาศด้านนอกก่อนใครแน่นอน ดังนั้นในพื้นที่ที่อากาศหนาวเย็นจึงมีการสร้างผนังที่หนามากขึ้นหรือไม่ก็สร้างเป็นผนังสองชั้นเพื่อกั้นอากาศด้านนอกอันหนาวเย็นไม่ให้เข้ามาด้านในได้มากนัก เพราะความหนาวของบางพื้นที่เกินกว่าผนังปกติจะรับมือได้นั่นเอง  ยกพื้นขึ้นจากดิน ลักษณะหนึ่งของดินคือการดูดซับเอาความร้อนเย็นจากพื้นเอาไว้ทำให้พื้นบ้านที่ติดกับดินจะได้รับความเย็นจากพื้นได้โดยตรง บ้านในพื้นที่หนาวจึงมักมีการสร้างห้องใต้ดินเพื่อยกส่วนพักอาศัยหลักให้ขึ้นจากพื้น ซึ่งจะช่วยรักษาอุณหภูมิของบ้านให้คงที่ได้ง่ายขึ้นทั้งยังป้องกันความเย็นจากพื้นได้ไม่ต่างจากการสร้างผนัง 2 ชั้นนั่นเอง ข้อดีอีกหนึ่งอย่างของการยกพื้นคือการได้พื้นที่ว่างในการเก็บของซึ่งทำให้สามารถแต่งและจัดการบ้านได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันมากทำให้ของใช้ต้องมีมากตามไปด้วยเพื่อปรับเปลี่ยนใช้งานตามความเหมาะสม เปิดรับแสงแดดเต็มที่ บ้านในพื้นที่หนาวส่วนใหญ่มักมีการสร้างช่องรับแสงเอาไว้หรือสร้างหลังคาให้มีชายคาสั้นเพื่อเปิดบ้านให้รับแสงแดดอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในฤดูหนาวเพื่อให้บ้านอบอุ่นมากขึ้น...

ว่าด้วยเรื่องของปั๊มน้ำในบ้านเดี่ยว ควรเลือกอย่างไรดี

  เมื่อเลือกซื้อบ้านหลังใหม่อีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องใส่ใจก่อนเข้าอยู่ก็คือการเลือกปั๊มน้ำ เพราะว่าหากเราไม่มีปั๊มน้ำ น้ำที่ใช้ในบ้านจะไหลเบาหรืออาจจไม่ไหล ที่สำคัญคือไม่ไหลขึ้นไปชั้น 2 อย่างแน่นอนดังนั้นจึงควรเลือกและติดตั้งปั๊มน้ำก่อนการเข้าอาศัยอยู่ แต่ปั๊มน้ำที่เหมาะสมควรจะเลือกอย่างไร วันนี้ดอทมีคำตอบมาให้แล้วครับ ประเภทของปั๊มน้ำ อย่างแรกที่เราควรทำความรู้จักคือประเภทของปั๊มน้ำที่เราควรเลือกซื้อ ซึ่งประเภทของปั๊มน้ำจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ ปั๊มน้ำแบบถังแรงดัน ปั๊มน้ำแบบถังแรงดันนี้จะใช้หลักการทำงานสมชื่อคือการดันน้ำเข้าไปแทนที่อากาศ ซึ่งจะให้แรงดันน้ำไม่สม่ำเสมอเพราะเป็นการใช้แรงดันอากาศดันน้ำเข้าไป หากมีการใช้น้ำจากหลายจุดพร้อมกันจะทำให้น้ำที่ไหลมีปริมาณไม่เท่ากันในแต่ละจุดได้  ตัวถังของปั๊มน้ำแบบถังแรงดันมันจะทำจากเหล็กหรือสแตนเลสเพื่อป้องกันการเกิดสนิม ทำให้เกิดเสียงดังขณะปั๊มน้ำทำงาน แต่ถึงอย่างนั้นปั๊มน้ำแบบถังแรงดันนี้ก็มีราคาย่อมเยาว์ ดูแลรักษาได้ง่ายและทนทาน ทำให้เป็นตัวเลือกของคนที่มีงบจำกัดได้ดี ปั๊มน้ำแบบแรงดันคงที่หรือแบบอินเวิร์ทเตอร์ ปั๊มน้ำแบบแรงดันคงที่นี้เรืยกได้ว่าเป็นปั๊มน้ำที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยเพิ่มตัวช่วยในการเพิ่มแรงดันให้สามารถใช้น้ำพร้อมกันหลายจุดโดยที่ยังมีปริมาณออกมาเท่ากันในทุกจุด ปั๊มน้ำประเภทนี้จะมีเสียงขณะทำงานที่เบากว่าและมีขนาดเล็กกว่า แต่แน่นอนว่าแรกมาด้วยราคาที่สูงกว่า ปั๊มน้ำแบบแรงดันคงที่นี้ยังมีข้อจำกัดอยู่อีกหนึ่งอย่างนั่นคือปัญหาการรั่วซึมของถังแรงดันซึ่งไม่สามารถแก้ไขเติมก๊าซเองได้ ต้องถอดเปลี่ยนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการแก้ไขปัญหาส่วนนี้กันแล้ว วัสดุที่ใช้ทำปั๊มน้ำส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแข็งจึงไม่ต้องเรื่องของสนิมแต่ต้องระวังการวางตากแดดตากลมซึ่งอาจทำให้พลาสติกเสื่อมสภาพลงส่งผลให้การใช้งานมีอายุสั้นลงได้ วิธีการเลือกปั๊มน้ำ นอกจากประเภทของปั๊มน้ำที่เราต้องใส่ใจเลือกแล้วยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอีกหลายประการเพื่อให้เราได้ปั๊มน้ำที่เหมาะกับบ้านของเรา โดยหลักพิจารณาปั๊มน้ำจะมีด้วยกัน...

เรื่องรอบบ้านที่เราควรรู้ เรื่องดินของบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ ทำไมปลูกอะไรไม่ได้

คนที่เข้าอยู่บ้านสร้างใหม่ที่มีพื้นที่ให้ปลูกต้นไม้ทำสวนหลายคนย่อมคิดอยากจะมีสวนเล็กๆ เป็นของตัวเอง เพียงแต่ว่าหลายบ้านอาจต้องเผชิญปัญหาเรื่องการปลูกต้นไม้ไม่ขึ้น บางครั้งโตได้ไม่นานก็เริ่มมีโรค หยุดโตแล้วค่อยๆ ตายไปจนเกิดข้อสงสัยว่าดินอาจจะมีปัญหาบางอย่างก็ได้ วันนี้ดอทเลยมาไขข้อข้องใจเรื่องของดินในบ้านสร้างใหม่ว่าทำไมถึงปลูกอะไรไม่ขึ้นกันแน่ มาดูกันครับ สาเหตุที่ดินบ้านสร้างใหม่ปลูกไม่ค่อยขึ้น ก่อนการสร้างบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยวที่ไม่ได้อยู่ในโครงการหรือบ้านที่อยู่ในโครงการเองมักจะมีการถมดินเพื่อให้ระนาบดินเรียบเสมอกัน หากมีการใช้ประเภทดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกก็ทำให้ปลูกอะไรไม่ขึ้นได้เช่นกัน เรามาดูกันว่าดินที่ใช้ถมที่นั้นจะนิยมใช้ดินอะไรบ้าง   ดินดาน เป็นดินที่นิยมใช้หากต้องการปลูกสร้างหลังถมดิน เพราะบดอัดได้ดี ดินทราย มีต้นทุนต่ำแต่เกิดปัญหาดินทรุดได้ง่ายและไม่อุ้มน้ำ ดินลูกรัง เป็นดินที่ยิ่งแห้งยิ่งแข็ง นิยมใช้ถมทำถนนคอนกรีต แต่ไม่เหมาะกับการปลูกต้นไม้เพราะดินแห้งเกินไป ดินเหนียว มีเนื้อละเอียด อุ้มน้ำได้ดี หาง่ายและต้นทุนไม่สูง นิยมใช้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ...

ทำความรู้จักกับระบบบำบัดน้ำเสียจากบ้านของเรา

เคยสงสัยกันไหมว่าน้ำเสียจากในบ้านจะถูกส่งไปที่ไหนต่อ… ภายในบ้านทุกหลังจะมีส่วนหนึ่งที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยนั่นคือ ระบบบำบัดน้ำเสียภายในบ้านซึ่งจะรับน้ำเสียที่เราใช้แล้วมาบำบัด ผ่านกระบวนการที่ทำให้น้ำสะอาดมากขึ้นเพื่อส่งกลับไปยังธรรมชาติ โดยวิธีการบำบัดนำ้เสียซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำจากห้องน้ำหรือห้องครัวเป็นหลักนี้จะถูกส่งออกไปสู่บ่อบำบัดที่ติดตั้งอยู่นอกบ้านใต้พื้นดิน เรามาดูกันดีกว่าว่าระบบบำบัดน้ำนั้นมีอะไรบ้าง ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเก่า: บ่อเกรอะ บ่อซึม ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเก่าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและยังเป็นต้นแบบของการสร้างถังบำบัดสำเร็จรูปแบบใหม่นั้นจะเรียกกันว่า ระบบบ่อเกรอะบ่อซึม โดยจะมีลักษณะเป็นคอนกรีตสองถัง และแบ่งการทำงานเป็นบ่อเกรอะ 1 ถังและบ่อซึม 1 ถัง โดยจะทำงานดังนี้ บ่อเกรอะ บ่อเกรอะคือด่านแรกที่จะรับสิ่งปฏิกูลจากภายในบ้านออกมา และมีหน้าที่เก็บสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นให้ย่อยสลายและตกตะกอนตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งปฏิกูลจะเริ่มตกตะกอนแยกชั้นระหว่างน้ำกับตะกอน น้ำที่อยู่ด้านบนก็จะถูกส่งออกไปหาบ่อซึมโดยมีท่อเชื่อมต่อกันไว้ บ่อซึม บ่อซึมจะมีลักษณะเป็นรูอยู่รอบบ่อ เมื่อน้ำจากบ่อเกรอะไหลมาสู่บ่อซึมแล้วก็จะเริ่มซึมออกไปตามรูกระจายกลับสู่ธรรมชาติอย่างช้าๆ โดยความเร็วของการซึมนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพของดินโดยรอบด้วย ข้อดี-ข้อเสีย ระบบบ่อเกรอะบ่อซึมจะมีข้อเสียหลักอยู่ที่ระบบการทำงานนั้นมีตัวแปรค่อนข้างเยอะ โดยเริ่มแรกหากติดตั้งบ่อเกรอะในพื้นที่ที่ชื้นเกินไปจะทำให้การทำงานของบ่อซึมกระจายน้ำออกได้ช้าลง ทำให้น้ำจากบ่อเกรอะไหลส่งมาไม่ได้ เมื่อบ่อเกรอะเต็มจะเป็นที่มาของปัญหาส้วมตัน ทำให้เราต้องเรียกรถดูดส้วมเข้ามา อีกปัญหาหนึ่งก็คือการติดตั้งบ่อเกรอะบ่อซึมไม่ควรทำในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ...

ว่าด้วยเรื่องของกำแพงบ้าน อิฐมอญ อิฐมวลเบา พรีแคส ต่างกันอย่างไร

เวลาเลือกซื้อบ้านจัดสรรหรือบ้านที่สร้างสำเร็จแล้วหนึ่งคำถามที่เราควรถามจากทางโครงการคือผนังกำแพงของตัวบ้านสร้างมาจากอะไร เป็นอิฐมอญ อิฐมวลเบา หรือเป็นกำแพงสำเร็จรูป พรีแคส(Precast) ซึ่ง 3 วัสดุนี้เรียกว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างอยู่มากแต่กลับมีข้อดี ข้อเสียและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน วันนี้ดอทจึงพาทุกมาดูว่าผนังบ้านทั้งสามแบบนี้มีคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย อิฐมอญ อิฐมอญผลิตจากดินเหนียวกับแกลบหรือขี้เถ้า และอื่นๆ ผสมกับน้ำจากนั้นนำไปเผาเราจึงเห็นเป็นสีส้มอมแดง แต่ละก้อนอาจมีเฉดสีไม่ตรงกันทำให้เกิดเป็นเสน่ห์ของกำแพงที่ก่อด้วยอิฐมอญแดงนั่นเอง คุณสมบัติ อิฐมอญมีคุณสมบัติที่ขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแรงสามารถเจาะผนังเพื่อแขวนเฟอร์นิเจอร์ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าผนังจะรับน้ำหนักไม่ไหว แต่อิฐมอญก็ยังมีข้อเสียบางประการที่ทำให้ความนิยมนั้นลดน้อยลง ข้อดี ได้ผนังที่แข็งแกร่งรับน้ำหนักได้ดีมาก มีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถใช้ตกแต่งได้ ป้องกันความชื้นได้ดี เหมาะเป็นผนังห้องน้ำหรือผนังชั้นล่าง กันความร้อนได้ดี มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ข้อเสีย ใช้เวลาให้การก่อสร้างนานเพราะต้องก่ออิฐทีละก้อนและกำแพงบ้านจะมีน้ำหนักมาก คำแนะนำ บ้านที่สร้างด้วยการใช้อิฐมอญสามารถต่อเติมหรือทุบออกได้ง่ายกว่า แต่ก็ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพราะอาจส่งผลต่อโครสร้างของบ้านได้ อิฐมวลเบา อิฐมวลเบา...

ปรับเปลี่ยนบ้านเพื่อผู้สูงอายุควรทำอะไรบ้าง

เมื่ออายุเพื่อมากขึ้นร่างกายย่อมถดถอยใช้งานไม่ได้ดั่งใจสักเท่าไหร่จึงต้องมีหลายสิ่งที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความสะดวกสบายของร่างกายในขณะใช้งานโดยเฉพาะกับที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้สูงอายุจะต้องใช้เวลาด้วยมากที่สุด จึงมีหลายส่วนที่เราต้องปรับให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้ง่ายมากขึ้น  วันนี้ดอทจึงมาบอกจุดสำคัญที่เราต้องปรับเปลี่ยนหากในบ้านมีผู้สูงอายุเพื่อให้ท่านได้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ลดอุบุติเหตุภายในบ้านได้ด้วย ซึ่งจะมีจุดสำคัญ 7 จุดด้วยกัน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง คุณสมบัติกันลื่นของพื้นกระเบื้อง พื้นกระเบื้องที่เราใช้ปูพื้นจะมีการวัดความกันลื่นเอาไว้เพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่ของบ้านอย่างเช่นห้องน้ำที่จะเปียกน้ำตลอดเวลากระเบื้องก็จะมีค่ากันลื่นหรือค่า R ที่สูงกว่ากระเบื้องในห้องนั่งเล่น โดยการกำหนดค่า R จะเป็นมาตรฐานจาก German Standard (DIN 51130) สำหรับที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุนั้นค่า R ควรมีค่าสูงกว่าทั่วไปอยู่หนึ่งระดับเป็นอย่างต่ำ เช่นพื้นกระเบื้องห้องน้ำทั่วไปจะตั้งค่ากันลื่นอยู่ที่ R10 แต่สำหรับผู้สูงอายุควรปรับเป็น R11 หรืออาจมีการปูแผ่นยางกันลื่นเข้ามาช่วยแทนการเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ก็สามารถทดแทนได้อยู่เช่นกัน ทางขึ้น-ลงภายในบ้าน ส่วนหนึ่งของร่างกายผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไปได้ชัดเจนคือบรรดาข้อต่อที่ไม่อาจเคลื่อนไหวยืดหยุ่นได้รวดเร็วเหมือนเดิมอีกดังนั้นทางขึ้นลงจึงต้องมีระดับความสูงและระยะความกว้างของขั้นบันไดที่สามารถวางเท้าได้เต็มหรือบางบ้านอาจเปลี่ยนเป็นทางลาดเพื่อรองรับรถเข็นไปเลย ทางลาดสำหรับการขึ้น-ลงบันไดแทนผู้สูงอายุจะต้องมีความกว้างมากกว่า 90...